• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง

by ศิริกัญญา เชาวมัย

Title:

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง

Other title(s):

Public participation in environmental and health impact assessment: a case study of the Rayong industrial estate project (Ban Khai), Rayong

Author(s):

ศิริกัญญา เชาวมัย

Advisor:

จุฑารัตน์ ชมพันธุ์

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมาได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมและโครงการพัฒนา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่โครงการอย่างรุนแรง และนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างเจ้าของโครงการกับประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาหรืออุปสรรค และนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ ผู้วิจัยได้ประยุกต์หลัก CIPP-I Model มาใช้ในการศึกษากระบวนการดังกล่าว โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียร่วมกับการศึกษาเอกสาร ผลการศึกษา การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการฯ ตามกรอบ CIPP-I Model ในด้านบริบทของโครงการฯ พบว่า ขั้นตอนการจัดทำรายงานฯ ค่อนข้างมาก และใช้เวลาค่อนข้างนาน ในด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่ได้รับข้อมูลของโครงการฯ ที่ไม่เพียงพอและไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของโครงการฯ ได้ วิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนยังไม่เหมาะสมและไม่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย ในด้านกระบวนการ พบว่า โครงการฯ มีการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย แต่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ในด้านผลผลิต พบว่า ทางโครงการฯ ได้นำความเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียไปพิจารณาในการดำเนินการโครงการฯ แต่ไม่ได้แจ้งประชาชนให้ทราบว่านำไปปรับใช้อย่างไร และในด้านผลกระทบ พบว่า ผู้มีส่วนได้เสียคิดว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจะช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ ในส่วนของปัจจัยความสำเร็จที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการฯ พบว่า โครงการฯ ควรเลือกใช้วิธีการมีส่วนร่วมให้เหมาะสมกับบริบทของประชาชน การให้ข้อมูลที่ครบถ้วน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในส่วนของปัญหาหรืออุปสรรค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทั้งนี้ แนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ประสบความสำเร็จ พบว่า ภาครัฐควรมีการจัดอบรมเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้กับประชาชน ในส่วนของผู้ประกอบการโครงการควรมีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และในส่วนของประชาชนควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
In the past, natural resources in Thailand have been used as main budget in activities and projects for the development of the nation’s economy and industry, especially large development projects that have significant impact on the environment and that cause severe health problems to the people in that project areas and lead to environment conflicts between the project developer and the affected people in the area. This research aims to study the public participation in environmental and health impact assessment of the Rayong Industrial Estate Project (Ban Khai), to analyze the success factors, problems and obstacles, and to recommend approaches to encourage and support the public participation in environmental and health impact assessment of the project. The CIPP-I Model was applied in this study, along with semi-structured interviews with stakeholders and the study of relevant documents. The results found that the public participation in environmental and health impact assessment of the project according to CIPP-I Model were as follows. In the context of the project, the process of preparing the report is quite and takes a long time to process. In terms of the input, most local people were lack knowledge and understanding about public participation in environmental and health impact assessment. In addition, local people did not receive sufficient information on the project and the data of the project cannot be easily accessed. Public participation technique is not appropriate and does not includes all stakeholders. In terms of the process, the public hearing process were set up, but people could not effectively participate in the forum. In terms of the product, the opinions/suggestions of the stakeholders were taken into consideration process of project implementing; however, the project developer did not inform to the local people how it was deployed.  In terms of the impact, the stakeholders though that the public participation in environmental and health impact assessment could reduce conflicts. In terms of affecting factors to the success of public participation in environmental and health impact assessment process, it was found that the project developer should apply public participation techniques that fit with the nature of local people and should provide accurate information to the public. While local people should have sufficient knowledge about public participation process in environmental and health impact assessment. In terms of the problems or obstacles, it was found that most local people were lack of knowledge and understanding about public participation in environmental and health impact assessment. Recommendations to encourage and support effective public participation in environmental and health impact assessment was that the government should provide training about public participation for local people. Project developer should reveal the information, including the opportunity for the people to comment and should select the public participation technique that fit with the context. The public should learn more about the law and the process of environmental and health impact assessment.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Subject(s):

การมีส่วนร่วมของประชาชน

Keyword(s):

e-Thesis
โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย)
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

205 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4032
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b203105e.pdf ( 2,806.64 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [92]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×