Show simple item record

dc.contributor.advisorสรศาสตร์ สุขเจริญสินth
dc.contributor.authorยุพวดี ชินพฤทธิวงศ์th
dc.date.accessioned2019-01-10T06:34:03Z
dc.date.available2019-01-10T06:34:03Z
dc.date.issued2018th
dc.identifier.otherb203103th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4033th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractบทความนี้ศึกษาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับนี้ได้นำใช้วิธีการวัดประสิทธิภาพกองทุนรวมจากวิธี Data Envelopment Analysis (DEA) แทนการวัดประสิทธิภาพแบบดั้งเดิม (Traditional Index) โดยนำสัดส่วนค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมต่อสินทรัพย์สุทธิมาพิจารณาการวัดประสิทธิภาพของกองทุนรวมด้วย ซึ่งจากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า กองทุนรวมในประเทศสิงคโปร์เป็นกองทุนรวมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยที่มีกองทุนรวมจากประเทศมาเลเซียและประเทศไทยมีระดับประสิทธิภาพที่รองลงมาสลับกันไปในแต่ละปี และเมื่อพิจารณาประเภทของกองทุนรวมในแต่ละประเทศ พบว่า กองทุนรวมตลาดเงินและตราสารหนี้เป็นกองทุนรวมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกองทุนรวมของทั้งสามประเทศ คือ ความเสี่ยงของอัตราผลตอบแทนของกองทุนรวม และสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวม ซึ่งกองทุนรวมในประเทศไทยมีปัจจัยนำเข้าส่วนเกินทั้ง 2 ปัจจัยสูงที่สุด ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในระดับต่ำกว่าประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ทั้งนี้ขนาดของกองทุนรวมเป็นปัจจัยนำเข้าส่วนเกินที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกองทุนรวมทั้ง 3 ประเทศน้อยที่สุด สำหรับการศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งเน้นหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนประสิทธิภาพของกองทุนรวมจากวิธี DEA และปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของกองทุนรวมโดยใช้แบบจำลอง Ordinary Least Square (OLS) จากการศึกษาพบว่า กองทุนรวมทั้ง 3 ประเทศ มีลักษณะของกองทุนรวมที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของกองทุนรวมในเชิงบวกและเชิงลบที่แตกต่างกัน สำหรับในประเทศมาเลเซีย หากอันดับเรทติ้งของกองทุนรวมเพิ่มมากขึ้นจะทำให้กองทุนรวมมีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ กองทุนรวมตลาดเงินและกองทุนรวมตราสารหนี้มีค่าคะแนนประสิทธิภาพมากกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ และกองทุนรวมตราสารทุนเป็นกองทุนรวมที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพที่ต่ำกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ แต่สำหรับในประเทศสิงคโปร์ หากกองทุนรวมมีอายุมากขึ้น และอันดับเรทติ้งของกองทุนรวมเพิ่มขึ้นจะทำให้กองทุนรวมมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามกองทุนรวมขนาดใหญ่กว่ามีประสิทธิภาพของกองทุนรวมต่ำกว่ากองทุนรวมที่มีขนาดเล็กกว่า และเมื่อพิจารณาถึงประเภทของกองทุนรวม พบว่า กองทุนรวมผสม และกองทุนรวมตราสารทุนจะมีค่าคะแนนประสิทธิภาพที่ต่ำกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยที่กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในต่างประเทศจะมีค่าคะแนนประสิทธิภาพของกองทุนรวมต่ำกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับประเทศไทยอันดับเรทติ้งของกองทุนรวมที่สูงขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพของกองทุนรวมเพิ่มขึ้น และหากกองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่กว่าจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่ากองทุนรวมที่มีขนาดเล็กกว่าอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ กองทุนรวมผสมจะเป็นกองทุนรวมที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาที่ต่ำกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ และกองทุนรวมตลาดเงินจะมีค่าคะแนนประสิทธิภาพที่สูงกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ในการศึกษาความสม่ำเสมอประสิทธิภาพของกองทุนรวมของทั้ง 3 ประเทศ จากวิธี Transference Matrixes และการหาความสัมพันธ์ของค่าคะแนนประสิทธิภาพในอดีตและค่าคะแนนประสิทธิภาพในปัจจุบัน ซึ่งจากผลการศึกษาทั้งสองวิธี พบว่า กองทุนรวมทั้งสามประเทศมีความสม่ำเสมอในด้านของประสิทธิภาพของกองทุนรวม ค่าคะแนนประสิทธิภาพในอดีตและค่าคะแนนประสิทธิภาพในปัจจุบันมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก และกองทุนรวมส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มควอร์ไทล์เดิม โดยที่ในประเทศมาเลเซียหากกองทุนรวมมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้มีโอกาสความน่าจะเป็นที่กองทุนรวมอยู่ในกลุ่มประสิทธิภาพเดิมเพิ่มขึ้น แต่หากกองทุนรวมตลาดเงินเป็นเป็นปัจจัยที่มีความน่าจะเป็นที่จะเปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพเพิ่มมากกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ สำหรับในประเทศสิงคโปร์ อันดับเรทติ้งสูงขึ้นทำให้มีโอกาสความน่าจะเป็นที่เปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพสูงขึ้น และหากเป็นกองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ และกองทุนรวมผสมมีความน่าจะเป็นที่จะเปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพมากกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ แต่หากเป็นกองทุนรวมตลาดเงินมีความน่าจะเป็นที่จะอยู่ในกลุ่มประสิทธิภาพเดิมมากกว่ากองทุนรวมประเภทอื่นๆ เช่นเดียวกันกับกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศมีความน่าจะเป็นที่จะอยู่ในกลุ่มประสิทธิภาพเดิมมากกว่ากองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในประเทศ ทั้งนี้ในประเทศไทย หากอายุของกองทุนรวมมากขึ้นมีโอกาสเปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และหากกองทุนรวมมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้กองทุนรวมมีโอกาสที่จะเปลี่ยนกลุ่มประสิทธิภาพสูงขึ้น จากผลของงานวิจัยฉบับนี้เป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบายในการแข่งขัน และกลยุทธ์ของทั้งในบริษัทจัดการลงทุนกองทุนรวม ภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินนโยบายการลงทุน เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกองทุนรวมในแต่ละประเทศต่อไปในอนาคต และยังเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนในการเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีประสิทธิภาพและมีความสม่ำเสมอของประสิทธิภาพในประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้th
dc.description.abstractThis paper examines the performance measure of mutual funds in the Southeast Asian region. The Data Envelopment Analysis (DEA) methodology has been used to measure the performance of mutual funds, instead of the traditional performance measures of the Sharpe Index, Treynor Index and Jensen's Alpha. The net expense ratio is taken into account in measuring the performance of mutual funds in the Southeast Asian Economic Community. The result of the study shows that Singapore Mutual Funds is the most efficient fund .while mutual funds from Malaysia and Thailand are at the lower level of performance each year. When considering the types of mutual funds in each country, it is found that money market mutual funds and fixed-income mutual funds are higher-performance mutual funds compared to other types of mutual funds. The main factors affecting the performance of mutual funds of the three countries are the risk of yields of mutual funds and the net expense ratio. Mutual funds in Thailand have most input slack variables both of risk and net expense ratio. As a result, the mutual funds in Thailand is in the lower performance compared to those of Singapore and Malaysia. The size of the fund is the only factor that contributes to the efficiency of the fund. For the study of determinants of fund performance in the Southeast Asian Economic Community .The correlation between the efficiency scores of the funds from the DEA method and the determinants of the efficiency of the mutual funds were estimated by using the Ordinary Least Square (OLS) model. It is found that Mutual Funds in Malaysia Singapore and Thailand have the characteristics of mutual funds with positive and negative mutual fund performance in different countries. For Malaysia , if the ratings of the Fund increase, the efficiency of the Fund will also increase. The Money Market fund and the Fixed Income fund have more efficiency scores than other types of mutual funds. And Equity fund is a fund with significant lower performance than other types of mutual funds. But for Singapore If the fund has been performed for a long period with higher rating, the efficiency of the fund will increase significantly. However, the bigger size of the fund will have lower performance compared to the funds with smaller size. When considering the types of funds, balanced funds and equity funds have lower performance scores than other types of mutual funds. Mutual funds with foreign investment policies will significantly have a lower return on fund performance than other types of mutual funds. For Thailand, the higher the fund's rating will lead to the better performance of the fund. If the larger mutual fund is less effective than the smaller one, the mutual fund will be considered as a fund with lower asset performance than other mutual funds. Money market funds have essentially higher performance scores than other types of mutual funds In addition, 1)the study of consistency of fund performance of the three countries from the Transference Matrixes method, 2)relationship of performance score in the past and 3)the present performance scores shows that the three funds are consistent in terms of fund performance such as historical performance scores and current performance scores are positively correlated. And the funds of all three countries are mostly in the quartile. In Malaysia, if the fund is larger, there is a possibility that the mutual fund will be in the same group of performance. However, if the market fund is a factor, it is likely to change the performance group more than other types of mutual funds. For Singapore the higher the rating, the higher the probability of a change in performance. And if it is equity funds. Fixed Income Fund And the mutual fund has the probability of changing the performance group over other types of mutual funds. If the money market fund is likely to be in the same performance group than other types of funds. Similarly, mutual funds with foreign investment policies are more likely to be in the same performance group than mutual funds with a policy of investing in the country. In Thailand If the age of the fund increases, it will have the opportunity to change the performance group. And if the fund is larger, it will give the fund a chance to change its performance. The results of this research are beneficial for the competition policy. And strategies of both investment management companies. The government and private sectors are involved in the investment policy. In order to increase efficiency and develop the potential of each fund in the future. It is also beneficial for investors to invest in mutual funds that are efficient and consistent in their performance in the Southeast Asian Economic Community.th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2019-01-10T06:34:03Z (GMT). No. of bitstreams: 2 5720312006.pdf: 3791267 bytes, checksum: 8833758998e151318631008cb9ab81a3 (MD5) license.txt: 115 bytes, checksum: 2047cfd32b272b6ffc853575a013e11b (MD5) Previous issue date: 9th
dc.format.extent108 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้th
dc.subjectประสิทธิภาพth
dc.subjectData envelopment analysisth
dc.subject.otherกองทุนรวมth
dc.titleประสิทธิภาพของกองทุนรวมในประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้th
dc.title.alternativeMutual fund efficiency in AECth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์ธุรกิจth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาการเศรษฐกิจth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record