แนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย
by พีรันธร พัวเจริญ
Title: | แนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย |
Other title(s): | Guidelines for development of facility management in regional secondary airports in Thailand |
Author(s): | พีรันธร พัวเจริญ |
Advisor: | วรรักษ์ สุเฌอ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ |
Degree department: | คณะการจัดการการท่องเที่ยว |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย2) เพื่อสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทยและ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานระนอง รวม 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) สถิติ Chi-square และ Pearson Correlation coefficient เพื่อหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของตัวแปรโดยกำหนดความเชื่อมั่นระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า 1) ท่าอากาศยานมีบริบทของการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการคือ ลานจอดรถ ป้ายบอกทาง ร้านอาหาร ห้องสุขา ที่นั่งพักคอย ฝ่ายรักษาความปลอดภัย จุดเช็คอิน จุดตรวจร่างกาย จุดบริการโทรศัพท์สาธารณะ ข้อมูลตารางการบิน จุดรับสัมภาระ จุดบริการรถแท็กซี่ ซึ่งในการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี การเพิ่มขึ้นของผู้โดยสารและนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น 2) พฤติกรรมการใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองกลุ่มตัวอย่างใช้บริการท่าอากาศยานในรอบ 1 ปี 1-2 ครั้ง ส่วนใหญ่ใช้รถส่วนตัวเดินทางมาท่าอากาศยาน ชอบป้ายสัญลักษณ์ที่ตั้งอยู่ในที่ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุด นิยมเลือกซื้อของขบเคี้ยว/เบเกอร์รี่ระหว่างรอขึ้น-ลงเครื่องบินโดยสารมากที่สุด มีความต้องการใช้บริการจุดบริการตู้เอทีเอ็มมากที่สุด รองลงมาจุดบริการอินเตอร์เน็ต ไวไฟ และจุดบริการชาร์ตแบตโทรศัพท์มือถือ 3)ระดับความพึงพอใจต่อการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ((X̅)=3.29, SD=.737) 4) แนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย (1) เพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกที่นั่งพักคอยทั้งด้านขาออกและขาเข้า (นั่งคอยญาติ) จุดเช็คอินและจุดตรวจร่างกายและสัมภาระ จุดบริการสัญญาณอินเตอร์เน็ต (wifi) จุดชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ จุดเช็คอินอัตโนมัติ ทางเชื่อมเข้าเครื่อง สถานที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จุดบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และตู้บริการกดเงินอัตโนมัติ (ATM) (2) ควรปรับปรุงการรักษาความปลอดภัย ความสะอาดของห้องสุขา การให้บริการของพนักงาน จุดบริการรถแท็กซี่และความสะอาดของร้านอาหาร 5) เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้รถยนต์เดินทางมาท่าอากาศยาน อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการในรอบ 1 ปี และด้านการรับประทานอาหารในท่าอากาศยาน การศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการในรอบ 1 ปี ด้านการใช้รถยนต์ในการเดินทางมาท่าอากาศยาน และด้านราคาอาหาร อาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในท่าอากาศยาน รายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการในทุกด้านคือด้านพฤติกรรมการใช้บริการในรอบ 1 ปี ด้านการใช้เวลาในท่าอากาศยาน ด้านการใช้รถยนต์ในการเดินทางมาท่าอากาศยาน ด้านที่จอดรถยนต์ ด้านการรับประทานอาหารในท่าอากาศยาน ด้านราคาอาหาร และ ด้านการซื้อสินค้าในท่าอากาศยาน สถานภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหาร (ราคา) และความพึงพอใจในด้านต่างๆ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในภาพรวม เรียงลำดับดังนี้ ด้านจุดรับสัมภาระ ด้านจุดตรวจร่างกายและสัมภาระ ด้านจุดเช็คอิน ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านร้านค้า ด้านจุดให้ข้อมูลท่องเที่ยวและจองโรงแรม ด้านป้ายแสดงข้อมูลตารางการบิน ด้านการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ ด้านจุดที่พักนั่งคอย ด้านจุดบริการรถยนต์เช่า ด้านป้ายภายในอาคาร ด้านจุดบริการรถเข็น ด้านจุดคอยรถโดยสาร ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านป้ายบอกทางภายนอกอาคาร ด้านลานจอดรถยนต์ และด้านร้านอาหาร |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | ท่าอากาศยาน
ท่าอากาศยาน -- การวางแผน สนามบิน ท่าอากาศยาน -- สิ่งอำนวยความสะดวก |
Keyword(s): | e-Thesis
ท่าอากาศยานรอง |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 353 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4037 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|