Show simple item record

dc.contributor.advisorวรรักษ์ สุเฌอth
dc.contributor.authorพีรันธร พัวเจริญth
dc.date.accessioned2019-01-10T06:37:29Z
dc.date.available2019-01-10T06:37:29Z
dc.date.issued2018th
dc.identifier.otherb203113th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4037th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย2) เพื่อสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทยและ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานระนอง รวม 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) สถิติ Chi-square และ Pearson Correlation coefficient เพื่อหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของตัวแปรโดยกำหนดความเชื่อมั่นระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05           ผลการศึกษา พบว่า 1) ท่าอากาศยานมีบริบทของการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการคือ ลานจอดรถ ป้ายบอกทาง ร้านอาหาร ห้องสุขา ที่นั่งพักคอย ฝ่ายรักษาความปลอดภัย จุดเช็คอิน จุดตรวจร่างกาย จุดบริการโทรศัพท์สาธารณะ ข้อมูลตารางการบิน จุดรับสัมภาระ จุดบริการรถแท็กซี่ ซึ่งในการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกนั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี การเพิ่มขึ้นของผู้โดยสารและนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น 2) พฤติกรรมการใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองกลุ่มตัวอย่างใช้บริการท่าอากาศยานในรอบ 1 ปี 1-2 ครั้ง ส่วนใหญ่ใช้รถส่วนตัวเดินทางมาท่าอากาศยาน  ชอบป้ายสัญลักษณ์ที่ตั้งอยู่ในที่ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุด นิยมเลือกซื้อของขบเคี้ยว/เบเกอร์รี่ระหว่างรอขึ้น-ลงเครื่องบินโดยสารมากที่สุด มีความต้องการใช้บริการจุดบริการตู้เอทีเอ็มมากที่สุด รองลงมาจุดบริการอินเตอร์เน็ต ไวไฟ และจุดบริการชาร์ตแบตโทรศัพท์มือถือ 3)ระดับความพึงพอใจต่อการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ((X̅)=3.29, SD=.737) 4) แนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทย (1) เพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกที่นั่งพักคอยทั้งด้านขาออกและขาเข้า (นั่งคอยญาติ) จุดเช็คอินและจุดตรวจร่างกายและสัมภาระ จุดบริการสัญญาณอินเตอร์เน็ต (wifi) จุดชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ จุดเช็คอินอัตโนมัติ ทางเชื่อมเข้าเครื่อง สถานที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จุดบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และตู้บริการกดเงินอัตโนมัติ (ATM) (2) ควรปรับปรุงการรักษาความปลอดภัย ความสะอาดของห้องสุขา การให้บริการของพนักงาน จุดบริการรถแท็กซี่และความสะอาดของร้านอาหาร 5) เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้รถยนต์เดินทางมาท่าอากาศยาน อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการในรอบ 1 ปี และด้านการรับประทานอาหารในท่าอากาศยาน การศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการในรอบ 1 ปี ด้านการใช้รถยนต์ในการเดินทางมาท่าอากาศยาน และด้านราคาอาหาร อาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าในท่าอากาศยาน รายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการในทุกด้านคือด้านพฤติกรรมการใช้บริการในรอบ 1 ปี ด้านการใช้เวลาในท่าอากาศยาน ด้านการใช้รถยนต์ในการเดินทางมาท่าอากาศยาน ด้านที่จอดรถยนต์ ด้านการรับประทานอาหารในท่าอากาศยาน ด้านราคาอาหาร และ ด้านการซื้อสินค้าในท่าอากาศยาน สถานภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหาร (ราคา) และความพึงพอใจในด้านต่างๆ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในภาพรวม เรียงลำดับดังนี้ ด้านจุดรับสัมภาระ ด้านจุดตรวจร่างกายและสัมภาระ ด้านจุดเช็คอิน ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านร้านค้า ด้านจุดให้ข้อมูลท่องเที่ยวและจองโรงแรม ด้านป้ายแสดงข้อมูลตารางการบิน ด้านการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ ด้านจุดที่พักนั่งคอย ด้านจุดบริการรถยนต์เช่า ด้านป้ายภายในอาคาร ด้านจุดบริการรถเข็น ด้านจุดคอยรถโดยสาร ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านป้ายบอกทางภายนอกอาคาร ด้านลานจอดรถยนต์ และด้านร้านอาหารth
dc.description.abstractThe study on the development of facility management in secondary airports across the regions of Thailand was aimed to 1) study the context on facility management in secondary airports in the regions of Thailand, 2) investigate the customer behavior on facilities in secondary airports in the regions of Thailand, 3) evaluate the effectiveness of facility management in secondary airports in the regions of Thailand and 4) provide suggstions on the possible development of facility management in secondary airports in the regions of Thailand. Data were collected from 400 people from Phitsanulok Airport, Buriram Airport and Ranong Airport. Statistics included frequency, percentage, Chi-square and Pearson Correlation coefficient, where the level of significance was determined to be 0.05. Results revealed that 1) context on facility management in secondary airports to be made available to users of the parking lot, restaurant, toilet, security point, public phone service point, flight schedules, baggage, taxi service and other related policies, including implementation of tourism policies, etc. 2) Regarding behavior on facilities in secondary airports, it was found that the sample group uses service at the airport once or twice annually, with a majority relying on personal vehicle to travel to the airport. The sign at the front was shown to be clear and snacks/bakery products were a popular choice of snack while waiting for boarding. The demand for ATM services was the highest, followed by WiFi hotspots and charging points for mobile phones. 3) The overall satisfaction towards the facility management in secondary airports was moderate ((X̅)=3.29,SD=.737). 4) Improvements for the facility management in secondary airports in Thailand include (1) a need for additional facilities for outbound and inbound passengers (seats for the waiting families), check-in counters, physical examination and luggage points, WiFi hotspots, charging points, automatic check-in counters, jet bridges, parking area for personal vehicals, currency exchange booths and automated teller machines (ATM). (2) The security and cleanliness of restrooms, staff service, taxi service and restaurants should be improved. 5) Gender was found to be correlated to the travelling behavior to the airport, whereas age was found to be correlated to the travelling frequency in one year. In addition, the eating behavior at the airport was found to be correlated to the travelling frequency in one year. Moreover, the travelling behavior to the airport and price of food was shown to be correlated to the purchasing behavior at the airport. Income was revealed to be correlated to all aspects of customer behavior, including the travelling frequency in one year, the time spent at the airport, the travelling behavior to the airport, the parking behavior, the eating behavior at the airport, the price of food and the purchasing behavior at the airport. Furthermore, relationship status, food selection behavior (price) and satisfaction in various aspects were correlated to the overall efficiency of facility management in secondary airports, ranked as follows, luggage pickup point, physical examination and luggage point, check-in counters, security services, shop stalls, travel information and hotel reservation services, information on flight schedules, public telephone service, waiting point, car rental services, signs located indoors, baggage carts, public transportation waiting points, public relations, signs located outdoors, parking area and restaurants.th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2019-01-10T06:37:29Z (GMT). No. of bitstreams: 2 5911721012.pdf: 9421301 bytes, checksum: b23cc7bf64b93e601c5783c4bc4ca8b4 (MD5) license.txt: 115 bytes, checksum: 2047cfd32b272b6ffc853575a013e11b (MD5) Previous issue date: 8th
dc.format.extent353 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectท่าอากาศยานรองth
dc.subject.otherท่าอากาศยานth
dc.subject.otherท่าอากาศยาน -- การวางแผนth
dc.subject.otherสนามบินth
dc.subject.otherท่าอากาศยาน -- สิ่งอำนวยความสะดวกth
dc.titleแนวทางการพัฒนาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานรองในภูมิภาคของไทยth
dc.title.alternativeGuidelines for development of facility management in regional secondary airports in Thailandth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.disciplineการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะการจัดการการท่องเที่ยวth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record