การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารแนวคิดการตลาดเชิงประสบการณ์ ของ สถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
197 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b203283
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุพรรณี สมศรี (2017). การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารแนวคิดการตลาดเชิงประสบการณ์ ของ สถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4082.
Title
การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารแนวคิดการตลาดเชิงประสบการณ์ ของ สถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่
Alternative Title(s)
The strategies of experiential marketing communications of Dasada Gallery
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหากลยุทธ์ของการสื่อสารผ่านประสบการณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่ รวมถึงศึกษาการรับรู้ข่าวสารผ่านประสบการณ์ การตัดสินใจมาเที่ยว ความพึงพอใจ และพฤติกรรมหลังใช้บริการของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการสถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการค้นหากลยุทธ์ของการสื่อสารผ่านประสบการณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่ ผู้วิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีตำแหน่งเกี่ยวข้องในสถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่ จำนวน 8 คน นอกจากนี้ยังใช้การสังเกตการณ์ของผู้วิจัยในการศึกษาสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการมีความชื่นชอบความสวยงามของดอกไม้ จึงได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับดอกไม้อย่างครบวงจรและเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่ จัดแสดงดอกไม้ผ่านการถ่ายทอดที่ใช้ศิลปะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อไว้บริการนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบดอกไม้ โดยเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวทุกวัน และได้มีการจัดงานเทศกาลดอกไม้ที่ยิ่งใหญ่ในช่วงปลายปี ระหว่างเดือนธันวาคม – เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งในระหว่างปีจะจัดเป็นกิจกรรมมินิอีเว้นท์ตามเทศกาลต่าง ๆ หมุนเวียนกันไป กิจกรรมต่าง ๆ ที่สถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่ มอบให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสจะเป็นกิจกรรมที่มีการสื่อสารแนวคิดการตลาดเชิงประสบการณ์ ที่เน้นประสบการณ์จาก ประสาทสัมผัส ความรู้สึก ความคิด การกระทำ และการเชื่อมโยง เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดประสบการณ์ที่น่าประทับใจ
ด้านการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการหรือนักท่องเที่ยวผู้ที่เคยใช้บริการ ที่มีอายุระหว่าง ต่ำกว่า 25 ปี ถึง 56ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน เพื่อวัดการรับรู้ข่าวสารผ่านประสบการณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่ เหตุผลการตัดสินใจมาเที่ยว ความพึงพอใจ และพฤติกรรมหลังใช้บริการ จากผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข่าวสารผ่านประสบการณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่ จากช่องทาง คนรอบข้าง เช่น ครอบครัว เพื่อน คนรู้จักบอกต่อ จำนวนมากที่สุด โดย กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับด้านความพึงพอใจมากที่สุด และด้านการหาข้อมูลก่อนมาท่องเที่ยวคือด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด โดยผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ข่าวสารผ่านประสบการณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมาเที่ยว การตัดสินใจมาเที่ยวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมหลังใช้บริการ การรับรู้ข่าวสารผ่านประสบการณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวดาษดา แกลเลอรี่มีความสัมพันธ์เป็นกับความพึงพอใจ ความพึงพอใจมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมหลังใช้บริการ และการตัดสินใจมาเที่ยวมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
The objective of this study is to find out communication strategies of Dasada Gallery through its tenure as a tourist destination. This includes examining visitors’ channels of communication with the gallery, motivations for visiting, satisfaction with their visit and post-visit behavior. The study is both qualitative and quantitative. The qualitative study, through intensive interviews with eight people managing Dasada Gallery and the writer’s observations, investigates the venue’s communication strategies. The study found that the entrepreneurs have a fondness for the beauty of flowers they created a business model for a tourist destination to creatively display floral arrangements. The gallery administration also holds a flower festival from December to February as well as other events throughout the year. Activities at Dasada Gallery focus on marketing sensory experiences to visitors that incorporate touch, feel, thought and action into a memorable experience. For the quantitative study, it surveyed 400 visitors to Dasada Gallery between the ages of 25 and 46 for their channels of communication with the gallery, motivations for visiting, satisfaction with their visit and post-visit behavior. The study found that most visitors knew about the gallery through word of mouth, such as from family members, friends and acquaintances. Of the study factors, the sample group placed the highest importance on visit satisfaction and the lowest on pre-visit research about the location. By testing our hypothesis, we found that communication channels with the gallery have an effect on motivations for visiting and visitor satisfaction. The motivation then affects visitor satisfaction, both of which then affect post-visit behavior. The hypothesis proved to be correct.
The objective of this study is to find out communication strategies of Dasada Gallery through its tenure as a tourist destination. This includes examining visitors’ channels of communication with the gallery, motivations for visiting, satisfaction with their visit and post-visit behavior. The study is both qualitative and quantitative. The qualitative study, through intensive interviews with eight people managing Dasada Gallery and the writer’s observations, investigates the venue’s communication strategies. The study found that the entrepreneurs have a fondness for the beauty of flowers they created a business model for a tourist destination to creatively display floral arrangements. The gallery administration also holds a flower festival from December to February as well as other events throughout the year. Activities at Dasada Gallery focus on marketing sensory experiences to visitors that incorporate touch, feel, thought and action into a memorable experience. For the quantitative study, it surveyed 400 visitors to Dasada Gallery between the ages of 25 and 46 for their channels of communication with the gallery, motivations for visiting, satisfaction with their visit and post-visit behavior. The study found that most visitors knew about the gallery through word of mouth, such as from family members, friends and acquaintances. Of the study factors, the sample group placed the highest importance on visit satisfaction and the lowest on pre-visit research about the location. By testing our hypothesis, we found that communication channels with the gallery have an effect on motivations for visiting and visitor satisfaction. The motivation then affects visitor satisfaction, both of which then affect post-visit behavior. The hypothesis proved to be correct.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560