แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยตามหลักมหาวิทยาลัยยั่งยืน
by เสาวรัตน์ แดงสว่าง
Title: | แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยตามหลักมหาวิทยาลัยยั่งยืน |
Other title(s): | Guidlines for university development according to sustainable university |
Author(s): | เสาวรัตน์ แดงสว่าง |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืน 3) เพื่อวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ในการดำเนินงานด้านมหาวิทยาลัยยั่งยืนของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน โดยคัดเลือกมหาวิทยาลัยที่ใช้ในการศึกษาจากการจัดอันดับ UI Green Metric จำนวน 9 มหาวิทยาลัย ใช้ทฤษฎีระบบ Input Process Output (IPO) ในการถอดบทเรียนความสำเร็จ และวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกด้วยทฤษฎี SWOT Analysis เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาด้วยทฤษฎี TOWS Matrix เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า บทเรียนการดำเนินงานมหาวิทยาลัยทั้ง 9 แห่ง ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรให้ความสำคัญในการดำเนินงานด้านมหาวิทยาลัยยั่งยืน มีการจัดสรรงบประมาณไว้สำหรับการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืน ได้รับความร่วมมือจากสังคมและชุมชนโดยรอบ และการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนกับมหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการ/กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน สำหรับปัจจัยภายในที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืน พบว่า แนวคิดและทัศนคติของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่มีความมุ่งมั่นในการปรับการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบายของบุคลากรและนักศึกษา และปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืน พบว่า การได้รับความร่วมมือจากสังคมและชุมชนโดยรอบเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความสำเร็จ และการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนกับมหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการ/กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
จากการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ในการดำเนินงานด้านมหาวิทยาลัยยั่งยืนของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พบว่า มีแนวทางการดำเนินงานใกล้เคียงกับการดำเนินงานด้านมหาวิทยาลัยยั่งยืน ซึ่งการดำเนินงานในภาพรวมของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อยู่ที่ 74.27% โดยให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของสังคมและมีเป้าหมายสูงสุดคือเพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ควรมีการดำเนินงานภายใต้ความเข้าใจในบริบทของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เนื่องจากมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีสภาพแวดล้อมและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้น แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในประเทศไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนควรมีการนำข้อจำกัดหรือจุดบกพร่องของมหาวิทยาลัยมาสร้างความท้าทายในการพัฒนาก็จะช่วยให้มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ควรสร้างเครือข่ายการพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆในประเทศไทย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โครงการ นโยบายในการดำเนินงานเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยยั่งยืน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | มหาวิทยาลัย -- แง่สิ่งแวดล้อม |
Keyword(s): | มหาวิทยาลัยยั่งยืน
e-Thesis มหาวิทยาลัยสีเขียว |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 123 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4089 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b203277e.pdf ( 1,704.40 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|