การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราค่าตอบแทนในตลาดค้าบริการทางเพศ
by ปฐมพงศ์ โอภาโส
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราค่าตอบแทนในตลาดค้าบริการทางเพศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | On the determinants of wage rate in the sex market |
ผู้แต่ง: | ปฐมพงศ์ โอภาโส |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | ทองใหญ่ อัยยะวรากูล |
ชื่อปริญญา: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราค่าตอบแทนในตลาดค้าบริการทางเพศ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาอัตราค่าตอบแทนของผู้ค้าบริการทางเพศ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราค่าตอบแทนของผู้ค้าบริการทางเพศ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มผู้ค้าบริการทางเพศจำนวน 409 ราย และการวิเคราะห์แบบจำลอง Hedonic Price ตามแนวคิดของ Rosen (1974) มาประยุกต์ใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหรือคุณลักษณะต่างๆ ด้วยการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความมีนัยสำคัญของตัวแปรที่มีผลต่อรายได้ต่อเดือนและอัตราค่าตอบแทนต่อครั้งของผู้ค้าบริการทางเพศหญิงและเพศชายค้าบริการทางเพศในรูปความสัมพันธ์แบบสมการเส้นตรงและสมการลอการิทึม
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ค้าบริการทางเพศหญิงได้รับอัตราค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อครั้งมากกว่าผู้ค้าบริการทางเพศชาย และหากประเมินรายได้จากการค้าบริการทางเพศเป็นรอบเดือนพบว่า ผู้ค้าบริการทางเพศหญิงมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่าผู้ค้าบริการทางเพศชาย โดยปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ต่อเดือนจากการค้าบริการทางเพศของผู้ค้าบริการเพศชายทั้งในแง่ความมีนัยสำคัญทางสถิติและเครื่องหมายทิศทางของตัวแปรคือ ปัจจัยด้านลักษณะการทำงานค้าบริการทางเพศ ได้แก่ ตัวแปรประเภทของลูกค้า ตัวแปรความถี่ในการให้บริการ ตัวแปรอัตราค่าตอบแทนต่อครั้ง ตัวแปรช่องทางการติดต่อกับลูกค้าเพื่อให้บริการทางเพศ และตัวแปรการมีหลักเกณฑ์การเลือกลูกค้า ส่วนปัจจัยที่มีผลต่ออัตราค่าตอบแทนจากการค้าบริการทางเพศต่อครั้งของผู้ค้าบริการทางเพศชายทั้งในแง่ความมีนัยสำคัญทางสถิติและเครื่องหมายทิศทางของตัวแปรคือ ปัจจัยด้านลักษณะทางสรีระร่างกายของผู้ค้าบริการทางเพศ และปัจจัยด้านลักษณะการทำงานค้าบริการทางเพศ ได้แก่ ตัวแปรประเภทของลูกค้า ตัวแปรประสบการณ์ค้าบริการทางเพศ และตัวแปรช่องทางการติดต่อกับลูกค้าเพื่อให้บริการทางเพศ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ต่อเดือนจากการค้าบริการทางเพศของผู้ค้าบริการเพศหญิงทั้งในแง่ความมีนัยสำคัญทางสถิติและเครื่องหมายทิศทางของตัวแปรคือ ปัจจัยด้านลักษณะทั่วไปของผู้ค้าบริการทางเพศ ได้แก่ ตัวแปรรายได้ต่อเดือน (ไม่รวมรายได้จากการค้าบริการทางเพศ) และปัจจัยด้านลักษณะการทำงานค้าบริการทางเพศ ได้แก่ ตัวแปรความถี่ในการให้บริการ ตัวแปรอัตราค่าตอบแทนต่อครั้ง และตัวแปรมีการให้บริการรูปแบบอื่นๆ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่ออัตราค่าตอบแทนจากการค้าบริการทางเพศต่อครั้งของผู้ค้าบริการทางเพศหญิง ทั้งในแง่ความมีนัยสำคัญทางสถิติและเครื่องหมายทิศทางของตัวแปรคือ ปัจจัยด้านลักษณะทั่วไปของผู้ค้าบริการทางเพศ ได้แก่ ตัวแปรรายได้ต่อเดือน (ไม่รวมรายได้จากการค้าบริการทางเพศ) และปัจจัยด้านลักษณะการทำงานค้าบริการทางเพศ ได้แก่ ตัวแปรช่องทางการติดต่อกับลูกค้าเพื่อให้บริการทางเพศ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | ธุรกิจบริการทางเพศ
การค้าประเวณี |
คำสำคัญ: | e-Thesis
ตลาดการค้าบริการทางเพศ การเลือกปฏิบัติทางด้านค่าจ้าง แบบจำลอง Hedonic Price |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 101 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4092 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|