การศึกษามิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
2017
Issued Date (B.E.)
2560
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
236 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b203275
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปิยะณัฐ ศรีวิไลย์ (2017). การศึกษามิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4095.
Title
การศึกษามิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
The Study of the Cultural Dimensions of Teaching Career and the Student-Centered Learning Management: The Case Study of Schools under Bangkok Metropolitan Administration
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 540 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีมิติวัฒนธรรมทั้ง 6 มิติ คือ มีมิติความเหลื่อมล้ำทางอำนาจสูง มีมิติความเป็นปัจเจกนิยมและกลุ่มนิยมต่ำ มีมิติความเป็นเพศชายและความเป็นเพศหญิงต่ำ มีมิติการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนต่ำ มีมิติการมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาวต่ำ และมิติการมีอิสระและการมีข้อจำกัดต่ำ ในด้านของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทั้ง 3 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า ด้านพฤติกรรมตามบทบาทของครูมีระดับมาก ด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่มีระดับมาก และด้านการประเมินผลมีระดับมาก ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างมิติวัฒนธรรมของวิชาชีพครูและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลการวิจัยพบว่า มิติวัฒนธรรมโดยรวมมีมีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .308 เมื่อวิเคราะห์มิติวัฒนธรรมรายมิติกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พบว่า มิติการมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาวมีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .302 มีค่าสัมประสิทธิ์สูงสุด รองลงมามิติความเป็นเพศชายและเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมิติความเป็นปัจเจกนิยมและกลุ่มนิยมมีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .298 และมิติความเหลื่อมล้ำทางอำนาจมีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ -.107 มีค่าสัมประสิทธิ์น้อยที่สุด
The main objective of this study was to analyze the relationships between 6 cultural dimensions of teacher career and student-centered learning management by using the quantitative method (questionnaires). The sample for this study were collected from 540 teachers under school of Bangkok Metropolitan. Then, using descriptive statistics and inferential statistics for analyzing the quantitative data collected. Analyzing the 6 cultural dimensions of teacher under school of Bangkok Metropolitan found that high index score of Power distance and index score of Individualism and Collectivism, index score of Masculinity and Femininity, index score of Uncertainty Avoidance, index score of Long-Term Orientation and index score of Indulgence versus Restraint were low. In the part of student centered – learning management in 3 dimensions found that both role - based behavior, activity – based learning behavior and learning evaluation behavior is at high level. Moreover, the 6 cultural dimensions of teacher career having the positively impact on all of student centered – learning management significantly at .308. Long-Term Orientation took the strongest relationship with student centered – learning management at .302. Masculinity and Femininity came in the second. Individualism and Collectivism was the third at .298, as Power distance having the negatively lowest relationship with the student centered – learning management by significance at -.107 level
The main objective of this study was to analyze the relationships between 6 cultural dimensions of teacher career and student-centered learning management by using the quantitative method (questionnaires). The sample for this study were collected from 540 teachers under school of Bangkok Metropolitan. Then, using descriptive statistics and inferential statistics for analyzing the quantitative data collected. Analyzing the 6 cultural dimensions of teacher under school of Bangkok Metropolitan found that high index score of Power distance and index score of Individualism and Collectivism, index score of Masculinity and Femininity, index score of Uncertainty Avoidance, index score of Long-Term Orientation and index score of Indulgence versus Restraint were low. In the part of student centered – learning management in 3 dimensions found that both role - based behavior, activity – based learning behavior and learning evaluation behavior is at high level. Moreover, the 6 cultural dimensions of teacher career having the positively impact on all of student centered – learning management significantly at .308. Long-Term Orientation took the strongest relationship with student centered – learning management at .302. Masculinity and Femininity came in the second. Individualism and Collectivism was the third at .298, as Power distance having the negatively lowest relationship with the student centered – learning management by significance at -.107 level
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560