Title:
| สัญญาแสวงประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียม : ศึกษากรณีระบบการคลังปิโตรเลียม |
Other title(s):
| Petroleum contract: petroleum fiscal regime |
Author(s):
| สุภัทร์ ภู่พานิชเจริญกูล |
Advisor:
| พัชรวรรณ นุชประยูร |
Degree name:
| นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level:
| Master's |
Degree department:
| คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date:
| 2014 |
Publisher:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract:
|
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ระบบการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมประเภทต่างๆ ที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในปัจจุบันนี้ และศึกษาว่าระบบการคลังปิโตรเลียมประเภทใดที่มีความเหมาะสมแก่ประเทศไทยมากที่สุดภายใต้กรอบความคิดของกฎหมายปกครองและสภาพทำงสังคมวิทยาของประเทศไทย วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการศึกษา ข้อความคิดพื้นฐานและทฤษฎี
เกี่ยวกับสัญญาทำงปกครองในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อันประกอบด้วยแนวคิด
ทฤษฎีเกี่ยวกับสัญญาทำงปกครอง สัญญาแสวงประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียม และระบบการคลัง
ปิโตรเลียมในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียม ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ
ระบบการคลังปิโตรเลียมของประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศ
ไทย เพื่อศึกษาว่าแต่ละประเทศมีการกำหนดหลักเกณฑ์ของระบบการคลังปิโตรเลียมไว้อย่างไร จาก
ผลการศึกษาพบว่าระบบสัมปทำนซึ่งเป็นระบบการคลังปิโตรเลียมที่ใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันยัง
มีลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักการสัญญาทำงปกครอง กล่าวคือ 1. สัญญาสัมปทำน
ในปัจจุบัน รัฐไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมที่ผลิตได้ ระบบสัมปทำนของไทยให้ความสาคัญ
กับค่าภาคหลวงเป็นหลัก ปิโตรเลียมที่ผลิตขึ้นมาได้จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์เอกชนของผู้รับสัมปทำนทั้งสิ้น
กรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นของรัฐเฉพาะทรัพยากรปิโตรเลียมที่อยู่ในแปลงสำรวจและผลิต
เท่านั้น ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม แต่เมื่อมีการให้สิทธิ์สำรวจและผลิตแก่เอกชน
ผู้รับสัมปทำนให้เข้ามาแสวงประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทำนเป็นผู้ครอบครองแปลง
สำรวจและพื้นที่ผลิต เมื่อเอกชนได้ทำการผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาแล้วปิโตรเลียมจะตกเป็นกรรมสิทธิ์
ของเอกชนทันทีที่พ้นจากหลุมปิโตรเลียม รัฐจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมจากการให้สัมปทาน2. รัฐ
ไม่มีส่วนร่วมในการควบคุมการประกอบกิจปิโตรเลียมของเอกชน ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นทรัพยากร
ที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ แต่จากการศึกษาพบว่ารัฐไม่ได้เข้าไปควบคุมการดาเนินการ
ประกอบกิจการปิโตรเลียมของเอกชนคู่สัญญา ผู้รับสัมปทำนมีสิทธิเด็ดขาดในการสำรวจและผลิต
ปิโตรเลียมโดยที่ผู้รับสัมปทำนสามารถเลือกใช้วิธีการสำรวจและผลิตอย่างไรก็ได้ตามความพอใจของตนภายในขอบเขตของกฎหมาย โดยที่รัฐจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวหรือควบคุมการดาเนินงานของผู้รับ
สัมปทานรัฐทำได้เพียงกากับดูแล รับรายงานที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงาน หน้าที่ของรัฐตาม
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม โดยหลักแล้วรัฐเป็นเพียงผู้คอยรับรายงานจากเอกชนคู่สัญญาเท่านั้นตาม
กฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม หน้าที่หลักของรัฐคือ การวางตนเป็นผู้รอรับผลประโยชน์จากเอกชน
เท่านั้น การเข้าไปกากับดูแลเอกชนเป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป 3. รัฐได้รับประโยชน์จากการให้สิทธิ
สำรวจปิโตรเลียมแก่เอกชนในสัดส่วนที่น้อย ผลประโยชน์ที่รัฐได้รับภายใต้สัญญาสัมปทำนคือ
ค่าภาคหลวง การเก็บค่าภาคหลวงเป็นหลักประกันที่แน่นอน แต่ปัจจุบันทรัพยากรปิโตรเลียมขาด
แคลนมากยิ่งขึ้น รัฐได้รับแต่ค่าภาคหลวงที่เป็นตัวเงินแต่ไม่ได้รับส่วนแบ่งในทรัพยากรปิโตรเลียม ซึ่ง
เป็นสิ่งมีมูลค่าสูงกว่าการจัดเก็บค่าภาคหลวงแต่เพียงอย่างเดียว จึงไม่อาจทำให้เกิดความมั่นคงทำง
พลังงานได้เมื่อทรัพยากรปิโตรเลียมในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น ในการคัดเลือกบริษัทเอกชนมาลงทุนใน
การแสวงประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียม รัฐใช้ดุลพินิจจากแผนปริมาณงานของบริษัทและปริมาณ
เงินซึ่งถือว่าเป็นเงินจานวนน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้ปิโตรเลียม โดยไม่มีส่วน
ที่เป็นผลผลิตปิโตรเลียมซึ่งเป็นสาระสาคัญที่รัฐควรได้รับอยู่เลย ปัญหาทั้ง 3 ประการ มีสาเหตุอันเนื่องมาจากผลของระบบการคลังปิโตรเลียมคือระบบ
สัมปทานซึ่งยังใช้ค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเป็นเครื่องมือหลักในการจัดเก็บผลประโยชน์
จากเอกชน อีกทั้งรัฐยังไม่สามารถมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหรือควบคุมดูแลการประกอบกิจการ
สำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้ ทั้งยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียม เมื่อเปรียบเทียบกับระบบ
การคลังปิโตรเลียมของประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศมาเลเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ดังนั้นเพื่อแก้ไขข้อจากัดดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนวทำงการแก้ปัญหาคือให้มีการแก้ไข
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ให้ภาครัฐสามารถใช้ระบบการคลังปิโตรเลียมประเภทอื่นได้
เช่น ระบบแบ่งปันผลผลิต หรือระบบรับจ้างบริการ และกำหนดเครื่องมือทำงการคลังที่ใช้ในการ
จัดเก็บผลประโยชน์ของรัฐให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบการคลังปิโตรเลียมแต่ละ
ประเภท รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมสาหรับการเปิดให้เอกชนยื่นคาขอสิทธิสำรวจ
และผลิตปิโตรเลียมสาหรับแปลงสำรวจบนบกและในทะเลอ่าวไทย หรือการเปิดสัมปทำนรอบที่ 21
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณะและรักษาประโยชน์ของเอกชนผู้ลงทุนให้ได้รับความคุ้มครอง
|
Description:
|
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557
|
Subject(s):
| ปิโตรเลียม
ปิโตรเลียม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
Resource type:
| วิทยานิพนธ์ |
Extent:
| 312 แผ่น |
Type:
| Text |
File type:
| application/pdf |
Language:
| tha |
Rights:
| ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s):
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI:
| http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4112 |