ปัญหาทางกฎหมายในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อการประกอบธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย
Files
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
141 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190068
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
รัฐชัย วงษ์ทอง (2014). ปัญหาทางกฎหมายในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อการประกอบธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4114.
Title
ปัญหาทางกฎหมายในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อการประกอบธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย
Alternative Title(s)
Legal problems for the Thai hotel Business in the realization of ASEAN economic community
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทำงกฎหมายของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ต่อการประกอบธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย เพื่อศึกษาหาแนวทำงในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายโรงแรมของไทย ให้สอดคล้องกับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาปัญหาการจำแนกประเภทกิจการของการประกอบธุรกิจโรงแรม การกำหนดมาตรฐานบางประการ และมาตรการคุ้มครองธุรกิจโรงแรม ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 และกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายโรงแรมของประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย รวมทั้งศึกษาถึงหลักการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยุทธศาสตร์รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ปัจจุบันเนื่องจากการจำแนกธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายไทยมิได้มีการจำแนกไว้อย่างชัดเจนโดยมีการยกเว้นให้ที่พักสาหรับการท่องเที่ยวท้องถิ่น ที่มีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง คนพักไม่เกิน 20 คนไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมาย ทั้งๆ ที่ การจำแนกตามกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน(ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ตามที่ประเทศไทยได้ลงนามผูกพันไว้มีการจำแนกประเภทของธุรกิจที่พักไว้หลายประเภท ทำให้เกิดความสับสนในการบังคับใช้กฎหมายอีกทั้งการเข้าสู่ระบบของโรงแรมตามกฎหมายของผู้ประกอบการเดิม เมื่อกฎกระทรวงฯ ใช้บังคับยังมีอุปสรรคทำให้ผู้ประกอบการเดิมไม่สามารถเข้าสู่ระบบโรงแรมตามกฎหมายได้จึงก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และก่อให้เกิดความเลื่อมล้าในการประกอบธุรกิจในส่วนของการกำหนดมาตรฐานของโรงแรมนั้น อาเซียนได้กำหนดแนวทำงของมาตรฐานการท่องเที่ยวไว้ (ASEAN Tourism Standard) โดยกำหนด มาตรฐานโรงแรมเขียว (ASEAN GreenHotel) เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทำงในการปฏิบัติ โดยคานึงถึงการประเมินที่เกี่ยวกับการดาเนินการด้านสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน การใช้น้า คุณภาพอากาศและมองไปถึงความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการโรงแรม ทั้งนี้ มาตรฐานของโรงแรมไทยในด้านต่างๆ ยังมีการกำหนดมาตรฐานที่คับแคบ ประกอบกับยังมีข้อจำกัดที่ไม่เอื้ออานวยต่อการประกอบธุรกิจ อาทิเช่น คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตประกอบกิจการ ขนาดพื้นที่ใช้สอยของห้องพักการคานึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือการจัดระดับของโรงแรมโดยวิธีการให้ดาว จึงทำให้กฎหมายโรงแรมของไทยมีการกำหนดมาตรฐานที่ล้าสมัย จากปัญหาดังกล่าวนี้ หากเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว (ASEAN Economic Community: AEC) แล้ว จะทำให้ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากนักลงสัญชาติอาเซียน ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีมาตรการในการคุ้มครองและรองรับธุรกิจโรงแรมไม่ว่าจะเป็น การกำหนดมาตรฐานของโรงแรม 6 ดาว หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินโรงแรมระดับ 6 ดาว หรือการคุ้มครองให้ธุรกิจเยี่ยงโรงแรมทำได้เฉพาะคนไทย ดังนั้น จึงควรพัฒนาเพิ่มเติมกฎหมายในการจำแนกประเภทของธุรกิจโรงแรมโดยจัดจำแนกให้เป็นธุรกิจที่พักประเภทต่างๆ ซึ่งประกาศเป็นกฎกระทรวงแยกประเภทไว้ต่างหากหรือเพิ่มเติมไว้ท้ายพระราชบัญญัติโรงแรม โดยเรียกว่า “โรงแรมประเภทรีสอร์ท” “โรงแรมประเภทบังกะโล”เป็นต้น อีกทั้งควรนามาตรฐานของการประกอบธุรกิจในต่างประเทศบางประการ มาปรับใช้กฎหมายโรงแรมของประเทศไทย เช่น การออกใบอนุญาตชั่วคราว การกำหนดให้อาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมทุกประเภทนั้น ต้องทำผลกระทบหรือประเมินในมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อมในทุกอาคารที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ หรือการกำหนดบทบาทให้โรงแรมต้องจัดระดับการให้บริการ หรือไม่จำกัดพื้นที่ใช้สอยของห้องพักเพื่อเป็นการเปิดกว้างในรูปแบบของโรงแรมประเภทอื่นๆ และควรสร้างหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 เรื่องการขัดกันของสัญชาตินิติบุคคลให้คานึงถึงการขัดกันของนิติบุคคลระหว่างสัญชาตินอกอาเซียนกับสัญชาติอาเซียนและแก้กฎกระทรวงเพื่อคุ้มครองให้ธุรกิจที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551สงวนการประกอบธุรกิจไว้เฉพาะคนไทย พร้อมทั้งตั้งหน่วยงานในการจัดระดับโรงแรม เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจโรงแรม 6 ดาว ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้เขียนจึงเห็นควรพัฒนาปรับปรุงพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 และกฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 และกฎกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งนาเอามาตรฐานและมาตรการบางประการของต่างประเทศ มาประยุกต์ใช้กับกฎหมายโรงแรมของประเทศ ไทยเพื่อคุ้มครองและรับรองผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในการประกอบธุรกิจโรงแรมในประเทศที่จะเกิดขึ้น
ปัจจุบันเนื่องจากการจำแนกธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายไทยมิได้มีการจำแนกไว้อย่างชัดเจนโดยมีการยกเว้นให้ที่พักสาหรับการท่องเที่ยวท้องถิ่น ที่มีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง คนพักไม่เกิน 20 คนไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมาย ทั้งๆ ที่ การจำแนกตามกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน(ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ตามที่ประเทศไทยได้ลงนามผูกพันไว้มีการจำแนกประเภทของธุรกิจที่พักไว้หลายประเภท ทำให้เกิดความสับสนในการบังคับใช้กฎหมายอีกทั้งการเข้าสู่ระบบของโรงแรมตามกฎหมายของผู้ประกอบการเดิม เมื่อกฎกระทรวงฯ ใช้บังคับยังมีอุปสรรคทำให้ผู้ประกอบการเดิมไม่สามารถเข้าสู่ระบบโรงแรมตามกฎหมายได้จึงก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และก่อให้เกิดความเลื่อมล้าในการประกอบธุรกิจในส่วนของการกำหนดมาตรฐานของโรงแรมนั้น อาเซียนได้กำหนดแนวทำงของมาตรฐานการท่องเที่ยวไว้ (ASEAN Tourism Standard) โดยกำหนด มาตรฐานโรงแรมเขียว (ASEAN GreenHotel) เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทำงในการปฏิบัติ โดยคานึงถึงการประเมินที่เกี่ยวกับการดาเนินการด้านสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน การใช้น้า คุณภาพอากาศและมองไปถึงความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการโรงแรม ทั้งนี้ มาตรฐานของโรงแรมไทยในด้านต่างๆ ยังมีการกำหนดมาตรฐานที่คับแคบ ประกอบกับยังมีข้อจำกัดที่ไม่เอื้ออานวยต่อการประกอบธุรกิจ อาทิเช่น คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตประกอบกิจการ ขนาดพื้นที่ใช้สอยของห้องพักการคานึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือการจัดระดับของโรงแรมโดยวิธีการให้ดาว จึงทำให้กฎหมายโรงแรมของไทยมีการกำหนดมาตรฐานที่ล้าสมัย จากปัญหาดังกล่าวนี้ หากเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว (ASEAN Economic Community: AEC) แล้ว จะทำให้ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากนักลงสัญชาติอาเซียน ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีมาตรการในการคุ้มครองและรองรับธุรกิจโรงแรมไม่ว่าจะเป็น การกำหนดมาตรฐานของโรงแรม 6 ดาว หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินโรงแรมระดับ 6 ดาว หรือการคุ้มครองให้ธุรกิจเยี่ยงโรงแรมทำได้เฉพาะคนไทย ดังนั้น จึงควรพัฒนาเพิ่มเติมกฎหมายในการจำแนกประเภทของธุรกิจโรงแรมโดยจัดจำแนกให้เป็นธุรกิจที่พักประเภทต่างๆ ซึ่งประกาศเป็นกฎกระทรวงแยกประเภทไว้ต่างหากหรือเพิ่มเติมไว้ท้ายพระราชบัญญัติโรงแรม โดยเรียกว่า “โรงแรมประเภทรีสอร์ท” “โรงแรมประเภทบังกะโล”เป็นต้น อีกทั้งควรนามาตรฐานของการประกอบธุรกิจในต่างประเทศบางประการ มาปรับใช้กฎหมายโรงแรมของประเทศไทย เช่น การออกใบอนุญาตชั่วคราว การกำหนดให้อาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมทุกประเภทนั้น ต้องทำผลกระทบหรือประเมินในมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อมในทุกอาคารที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ หรือการกำหนดบทบาทให้โรงแรมต้องจัดระดับการให้บริการ หรือไม่จำกัดพื้นที่ใช้สอยของห้องพักเพื่อเป็นการเปิดกว้างในรูปแบบของโรงแรมประเภทอื่นๆ และควรสร้างหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 เรื่องการขัดกันของสัญชาตินิติบุคคลให้คานึงถึงการขัดกันของนิติบุคคลระหว่างสัญชาตินอกอาเซียนกับสัญชาติอาเซียนและแก้กฎกระทรวงเพื่อคุ้มครองให้ธุรกิจที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551สงวนการประกอบธุรกิจไว้เฉพาะคนไทย พร้อมทั้งตั้งหน่วยงานในการจัดระดับโรงแรม เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจโรงแรม 6 ดาว ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้เขียนจึงเห็นควรพัฒนาปรับปรุงพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 และกฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 และกฎกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งนาเอามาตรฐานและมาตรการบางประการของต่างประเทศ มาประยุกต์ใช้กับกฎหมายโรงแรมของประเทศ ไทยเพื่อคุ้มครองและรับรองผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในการประกอบธุรกิจโรงแรมในประเทศที่จะเกิดขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557