• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

ปัญหาทางกฎหมายในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อการประกอบธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย

by รัฐชัย วงษ์ทอง

ชื่อเรื่อง:

ปัญหาทางกฎหมายในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อการประกอบธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Legal problems for the Thai hotel Business in the realization of ASEAN economic community

ผู้แต่ง:

รัฐชัย วงษ์ทอง

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วราภรณ์ วนาพิทักษ์

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2557

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทำงกฎหมายของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ต่อการประกอบธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย เพื่อศึกษาหาแนวทำงในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายโรงแรมของไทย ให้สอดคล้องกับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาปัญหาการจำแนกประเภทกิจการของการประกอบธุรกิจโรงแรม การกำหนดมาตรฐานบางประการ และมาตรการคุ้มครองธุรกิจโรงแรม ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 และกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายโรงแรมของประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย รวมทั้งศึกษาถึงหลักการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยุทธศาสตร์รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ปัจจุบันเนื่องจากการจำแนกธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายไทยมิได้มีการจำแนกไว้อย่างชัดเจนโดยมีการยกเว้นให้ที่พักสาหรับการท่องเที่ยวท้องถิ่น ที่มีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง คนพักไม่เกิน 20 คนไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมาย ทั้งๆ ที่ การจำแนกตามกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน(ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ตามที่ประเทศไทยได้ลงนามผูกพันไว้มีการจำแนกประเภทของธุรกิจที่พักไว้หลายประเภท ทำให้เกิดความสับสนในการบังคับใช้กฎหมายอีกทั้งการเข้าสู่ระบบของโรงแรมตามกฎหมายของผู้ประกอบการเดิม เมื่อกฎกระทรวงฯ ใช้บังคับยังมีอุปสรรคทำให้ผู้ประกอบการเดิมไม่สามารถเข้าสู่ระบบโรงแรมตามกฎหมายได้จึงก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และก่อให้เกิดความเลื่อมล้าในการประกอบธุรกิจในส่วนของการกำหนดมาตรฐานของโรงแรมนั้น อาเซียนได้กำหนดแนวทำงของมาตรฐานการท่องเที่ยวไว้ (ASEAN Tourism Standard) โดยกำหนด มาตรฐานโรงแรมเขียว (ASEAN GreenHotel) เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทำงในการปฏิบัติ โดยคานึงถึงการประเมินที่เกี่ยวกับการดาเนินการด้านสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน การใช้น้า คุณภาพอากาศและมองไปถึงความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการโรงแรม ทั้งนี้ มาตรฐานของโรงแรมไทยในด้านต่างๆ ยังมีการกำหนดมาตรฐานที่คับแคบ ประกอบกับยังมีข้อจำกัดที่ไม่เอื้ออานวยต่อการประกอบธุรกิจ อาทิเช่น คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตประกอบกิจการ ขนาดพื้นที่ใช้สอยของห้องพักการคานึงถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือการจัดระดับของโรงแรมโดยวิธีการให้ดาว จึงทำให้กฎหมายโรงแรมของไทยมีการกำหนดมาตรฐานที่ล้าสมัย จากปัญหาดังกล่าวนี้ หากเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว (ASEAN Economic Community: AEC) แล้ว จะทำให้ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากนักลงสัญชาติอาเซียน ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีมาตรการในการคุ้มครองและรองรับธุรกิจโรงแรมไม่ว่าจะเป็น การกำหนดมาตรฐานของโรงแรม 6 ดาว หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินโรงแรมระดับ 6 ดาว หรือการคุ้มครองให้ธุรกิจเยี่ยงโรงแรมทำได้เฉพาะคนไทย ดังนั้น จึงควรพัฒนาเพิ่มเติมกฎหมายในการจำแนกประเภทของธุรกิจโรงแรมโดยจัดจำแนกให้เป็นธุรกิจที่พักประเภทต่างๆ ซึ่งประกาศเป็นกฎกระทรวงแยกประเภทไว้ต่างหากหรือเพิ่มเติมไว้ท้ายพระราชบัญญัติโรงแรม โดยเรียกว่า “โรงแรมประเภทรีสอร์ท” “โรงแรมประเภทบังกะโล”เป็นต้น อีกทั้งควรนามาตรฐานของการประกอบธุรกิจในต่างประเทศบางประการ มาปรับใช้กฎหมายโรงแรมของประเทศไทย เช่น การออกใบอนุญาตชั่วคราว การกำหนดให้อาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมทุกประเภทนั้น ต้องทำผลกระทบหรือประเมินในมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อมในทุกอาคารที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ หรือการกำหนดบทบาทให้โรงแรมต้องจัดระดับการให้บริการ หรือไม่จำกัดพื้นที่ใช้สอยของห้องพักเพื่อเป็นการเปิดกว้างในรูปแบบของโรงแรมประเภทอื่นๆ และควรสร้างหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 เรื่องการขัดกันของสัญชาตินิติบุคคลให้คานึงถึงการขัดกันของนิติบุคคลระหว่างสัญชาตินอกอาเซียนกับสัญชาติอาเซียนและแก้กฎกระทรวงเพื่อคุ้มครองให้ธุรกิจที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551สงวนการประกอบธุรกิจไว้เฉพาะคนไทย พร้อมทั้งตั้งหน่วยงานในการจัดระดับโรงแรม เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจโรงแรม 6 ดาว ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้เขียนจึงเห็นควรพัฒนาปรับปรุงพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 และกฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ.2551 และกฎกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งนาเอามาตรฐานและมาตรการบางประการของต่างประเทศ มาประยุกต์ใช้กับกฎหมายโรงแรมของประเทศ ไทยเพื่อคุ้มครองและรับรองผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในการประกอบธุรกิจโรงแรมในประเทศที่จะเกิดขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ธุรกิจโรงแรม -- ไทย
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

141 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4114
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b190068.pdf ( 2,951.95 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [187]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×