• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ความไม่เสมอภาคในการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติ การจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. ....

by ฉัตรชัย เอมราช

Title:

ความไม่เสมอภาคในการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติ การจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. ....

Other title(s):

Inequity in registration of civil partnership under the Draft Civil Partnership Registration Act, be....

Author(s):

ฉัตรชัย เอมราช

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... ได้รับการยกร่างขึ้นเพื่อรับรองความเสมอภาคกับครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงให้แก่ครอบครัวของของคนข้ามเพศในรูปแบบของการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิต แต่อย่างไรก็ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังมีข้อบกพร่องบางประการที่อาจก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคขึ้นได้ เป็นเหตุให้ต้องมีการศึกษาถึงความเป็นมาและแนวคิดของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อทราบถึงผลกระทบต่อครอบครัวของคนข้ามเพศในประเด็นความเสมอภาคกับสิทธิหนำที่อันครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตลอดจนเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกับแนวคิดในการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตตามกฎหมายของต่างประเทศ โดยศึกษาผ่านวิธีการวิจัยเอกสารทั้งในส่วนของต่างประเทศและประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับหลักความเสมอภาค หลักการคุ้มครองสิทธิในครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงและครอบครัวของคนข้ามเพศ ประกอบกับการสัมภาษณ์บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการยกร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. ....
ผลการศึกษาพบว่าในบางบริบทครอบครัวของคนข้ามเพศประกอบด้วยสาระส้าคัญไม่มีความแตกต่างกับครอบครัวของคู่สมรสชายหญิง เป็นเหตุให้ครอบครัวของคนข้ามเพศที่จะบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... ได้รับการคุ้มครองสิทธิในครอบครัวไม่เสมอภาคกับครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงที่ได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือ 1) เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการตอบสนองภาระหนำที่ของสถาบันครอบครัวในการผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคมซึ่งสังคมไทยคาดหมายว่าเป็นหนำที่ของสถาบันครอบครัวโดยเฉพาะแล้วปรากฏว่าครอบครัวของคนข้ามเพศที่ประกอบด้วยเพศหญิงทั้งสองฝ่ายมีความสามารถตอบสนองภาระหนำที่ดังกล่าวได้อย่างไม่แตกต่างจากครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงโดยอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเทคโนโลยีการผสมเทียมแล้วความก้าวหนำทางการแพทย์ยังมีแนวโน้มที่จะสามารถสังเคราะห์เซลล์อสุจิจากเซลล์ต้นก้าเนิดของมนุษย์เพศหญิงได้ อันอาจเป็นผลให้ครอบครัวของคนข้ามเพศที่ประกอบด้วยเพศหญิงทั้งสองฝ่ายสามารถให้ก้าเนิดบุตรที่สืบสายโลหิตจาก ทั้งสองฝ่ายได้ แต่ปรากฏว่าร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... กลับไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรไว้โดยเฉพาะอันอาจเป็นเหตุเกิด ความไม่เสมอภาคกับครอบครัวของคู่สมรสชายหญิง 2) เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการตอบสนองภาระหนำที่ในการให้การอุปการะเลี ยงดูและช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้วพบว่า ครอบครัวของคนข้ามเพศไม่ว่าจะประกอบด้วยเพศใดก็ตามต่างก็มีความสามารถในการให้การอุปการะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้อย่างไม่แตกต่างจากครอบครัวของคู่สมรสชายหญิง แต่ผลจากบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิต พ.ศ. .... ที่กำหนดให้บุคคลซึ่งประสงค์จะบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตต้องมีอายุตั้งแต่ยี่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แตกต่างจากเงื่อนไขในการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดให้ชายและหญิงสามารถสมรสกันได้เมื่อมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์หรือศาลอนุญาตให้สมรสได้ก่อนนั้นเมื่อมีเหตุอันสมควร อันอาจเป็นเหตุเกิดความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงการรับรองและคุ้มครองสิทธิในครอบครัวของคนข้ามเพศ
ความไม่เสมอภาคในสิทธิครอบครัวของคนข้ามเพศกับคู่สมรสชายหญิงอันเป็นผลจากการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... เป็นเหตุให้มีความจ้าเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... ในสามประเด็น กล่าวคือ 1)เพื่อให้ครอบครัวของคนข้ามเพศที่ประกอบด้วยเพศหญิงทั้งสองฝ่ายสามารถมีสิทธิหนำที่ระหว่างบิดามารดากับบุตรได้อย่างเสมอภาคกับครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จ้าเป็นที่จะต้องมีการบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร ไว้โดยเฉพาะเจาะจงในร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... โดยนำบทบัญญัติว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรในบรรพห้าแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาอนุโลมใช้กับหญิงซึ่งเป็นคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งกับบุตรที่เกิดจากหญิงที่เป็นคู่ชีวิตอีกฝ่าย 2) เพื่อให้ครอบครัวของคนข้ามเพศสามารถเข้าถึงการรับรองและคุ้มครองสิทธิในครอบครัวของตนได้อย่างเสมอภาคกับครอบครัวของคู่สมรสชายหญิง มีความจ้าเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขด้านอายุของบุคคลในการบันทึกทางทะเบียนคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... ให้บุคคลสามารถบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตได้เมื่อมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ขึ้นไปเว้นแต่ศาลอนุญาตให้บันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตก่อนนั้นเมื่อมีเหตุอันสมควร และกำหนดให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการสมรสมาใช้บังคับแก่การบันทึกทางทะเบียนคู่ชีวิตของผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม 3) เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิต พ.ศ. .... เกิดปัญหาในการบังคับใช้ ควรแก้ไขกฎหมายที่ให้สิทธิหนำที่แก่คู่สมรสให้ครอบคลุมถึงคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว แทนการนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้สิทธิแก่คู่สมรสมาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตโดยอนุโลม

Subject(s):

การจดทะเบียนสมรส

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

127 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4116
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190070.pdf ( 5,075.97 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [187]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×