dc.contributor.advisor | พลอย สืบวิเศษ | th |
dc.contributor.author | รัตติยา วัฒโน | th |
dc.date.accessioned | 2019-01-28T08:16:22Z | |
dc.date.available | 2019-01-28T08:16:22Z | |
dc.date.issued | 2013 | th |
dc.identifier.other | b192184 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4123 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (รอ.ม.) -- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดโครงสร้างองค์การและการบริหารงานที่มี ผลต่อประสิทธิผลของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหา และอุปสรรคที่เกิดจากการจัดโครงสร้างองค์การและการบริหารงานต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพประกอบกัน โดยกําหนดพื้นที่ในการศึกษาคือ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจําจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคกลาง จํานวน 27 สํานักงาน การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม สอบถามบุคลากรสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด จํานวน 250 ชุด และการศึกษา เชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์บุคลากรสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด จํานวน 18 คน ผลการศึกษา พบว่า | th |
dc.description.abstract | 1. บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างองค์การที่มีผลต่อประสิทธิผลของ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดในระดับปานกลางทั้ง 5 ด้านคือ ความซับซ้อน ความเป็นทางการ การรวมอํานาจ ช่วงกว้างของการบังคับบัญชา และอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ เมื่อพิจารณาถึงการบริหารงาน บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีผลต่อประสิทธิผล ของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายค้านพบว่า การบริหารงานมีผลต่อประสิทธิผลของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดในระดับ ปานกลาง 4 ด้าน คือ การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทํางาน การอํานวยการ และการประสานงาน และ เห็นด้วยมาก 3 ด้าน คือ การวางแผน การรายงานและการงบประมาณ และบุคลากรมีความเห็นว่า สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจังหวัดมีประสิทธิผลการดําเนินงานในระดับมาก | th |
dc.description.abstract | 2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดโครงสร้างองค์การและการบริหารงานกับ ประสิทธิผลของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด พบว่า การจัดโครงสร้างองค์การมี ความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผลของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจํา จังหวัดในระดับปานกลาง และการบริหารงานมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผล ของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดในระดับปานกลางค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณา ความสัมพันธ์เป็นรายปัจจัยทั้ง 12 ตัวแปร พบว่า | th |
dc.description.abstract | 2.1 ตัวแปรความซับซ้อนช่วงกว้างของการบังคับบัญชา การวางแผน การจัดคนเข้า ทํางาน การอํานวยการ และการประสานงานมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผล ของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดในระดับปานกลาง | th |
dc.description.abstract | 2.2 ตัวแปรความเป็นทางการ อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ การรายงาน และ การงบประมาณมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผลของสํานักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งประจําจังหวัดในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ | th |
dc.description.abstract | 2.3 ตัวแปรการจัดองค์การมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิผลของ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจํายังหวัดในระดับต่ำ | th |
dc.description.abstract | 2.4 ตัวแปรการรวมอานาจมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับประสิทธิผล ของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดในระดับต่ำมากและจากการพยากรณ์เพื่อหาความสัมพันธ์โดยการวิเคราะห์ถดถอย พบว่า มี 3 ตัวแปรที่มี ผลต่อประสิทธิผลของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด คือ ช่วงกว้างของการ บังคับบัญชา การวางเเผน และการอํานวยการ | th |
dc.description.abstract | 3. ปัญหาและอุปสรรคที่พบ ประกอบด้วย ปัญหาและอุปสรรคจากการจัดโครงสร้างองค์การ ได้แก่ การขาคความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบต่างๆเนื่องจากมีกฎระเบียบมาถในการปฏิบัติงาน ปัญหา การรวมอํานาจการตัดสินใจที่ศูนย์กลางส่งผลให้งานเกิดความล่าช้า ปัญหาพนักงานมีจํานวนไม่ เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และปัญหางานล้นคนจึงต้องปฏิบัติงานนอกเหนืออํานาจหน้าที่ของตนเอง | th |
dc.description.abstract | พบปัญหาและอุปสรรคจากการบริหารงาน ได้แก่ การขาดช่วงบองแผนยุทธศาสตร์ การขาค ความร่วมมือกันทํางานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเนื่องจากการแบ่งส่วนงานต่างๆออกจากกันอย่าง ชัตรจน ปัญหาการจัดอัตรากําลังพนักงานที่มีการกระจุกตัวในสํานักงานส่วนกลางสูงและส่วนภูมิภาค มีพนักงานน้อย การจัดระดับตําแหน่งหัวหน้างานและพนักงานปฏิบัติการในระดับที่เท่ากันทําให้ไม่ สามารถบังคับบัญชาพนักงานได้อย่างเต็มที่ ปัญหาขาดการบูรณาการและประสานข้อมูลกันระหว่าง ส่วนงานต่างๆภายในสํานักงาน ปัญหาการประสานขอความร่วมมือจากภายนอกสํานักงานที่ไม่ค่อย ได้รับความร่วมมือ และปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอในการดําเนินงาน | th |
dc.description.provenance | Submitted by นักศึกษาฝึกงานมราชภัฎยะลา_2562 (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2019-01-28T08:16:22Z
No. of bitstreams: 1
b192184.pdf: 23432764 bytes, checksum: 838d7ed9ea6afe32506e467dfa913361 (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2019-01-28T08:16:22Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b192184.pdf: 23432764 bytes, checksum: 838d7ed9ea6afe32506e467dfa913361 (MD5)
Previous issue date: 2013 | th |
dc.format.extent | 228 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | คณะกรรมการการเลือกตั้ง -- ไทย | th |
dc.title | การจัดโครงสร้างองค์การและการบริหารงานที่มีผลต่อประสิทธิผล ของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด | th |
dc.title.alternative | The organizational structure and administration's influences on the effectiveness of office of provincial flection commission | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ | th |