บทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ศึกษาเปรียบเทียบไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
131 เเผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b196935
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธนพร เทียนประเสริฐ (2016). บทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ศึกษาเปรียบเทียบไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4128.
Title
บทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ศึกษาเปรียบเทียบไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
Alternative Title(s)
The role of human capital on economic growth: a comparative study of Thailand, Malaysia and Indonesia
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของทุนมนุษย์ของประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียและเปรียบเทียบบทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ของประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย วิธีการศึกษาได้ใช้ สมการการผลิตที่สะท้อนถึงผลกระทบมูลภัณฑ์ทุน และทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ข้อมูลเก็บรวบรวมมาจาก สํานักงานสถิติแห่งชาติของประเทศ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และธนาคารโลก แล้วนํามาวิเคราะห์ด้วยสมการ 2 ประเภท คือ สมการ เส้นตรงและสมการคอบบ์-ดักลาส
ผลการศึกษาพบว่า ทุนมนุษย์ระดับต่ำ (แรงงานที่ไม่ได้รับการศึกษา และที่สําเร็จการศึกษา ระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา) มีแนวโน้มลดลงในขณะที่ทุนมนุษย์ระดับสูง (แรงงานที่ สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จากการวิเคราะห์ด้วยสมการเส้นตรง ผลของประเทศไทย คือ มีเฉพาะมูลภัณฑ์ทุนที่มี ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ผลของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย พบทั้ง มูลภัณฑ์ทุนและทุนมนุษย์ระดับสูงที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในขณะที่การวิเคราะห์ด้วยสมการการผลิตคอบบ์-ตักลาส พบว่า ผลของประเทศไทยมี ลักษณะคล้ายกับสมการเส้นตรง คือ มีเฉพาะมูลภัณฑ์ทุนเท่านั้น ที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ
ส่วนผลของประเทศมาเลเซียมีทั้งมูลภัณฑ์ทุน และทุนมนุษย์ระดับสูงที่มีผลกระทบต่อการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและผลของประเทศอินโดนีเซีย พบว่า ทั้ง 3 ตัวแปร กล่าวคือ มูลภัณฑ์ทุน
ทุนมนุษย์ระดับสูง และทุนมนุษย์ระดับต่ำมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยที่มูลภัณฑ์ทุน และทุนมนุษย์ระดับสูง มีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในทางบวก ในขณะที่ทุนมนุษย์ระดับ ต่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในทางลบ
ผลการศึกษาพบว่า ทุนมนุษย์ระดับต่ำ (แรงงานที่ไม่ได้รับการศึกษา และที่สําเร็จการศึกษา ระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา) มีแนวโน้มลดลงในขณะที่ทุนมนุษย์ระดับสูง (แรงงานที่ สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จากการวิเคราะห์ด้วยสมการเส้นตรง ผลของประเทศไทย คือ มีเฉพาะมูลภัณฑ์ทุนที่มี ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ผลของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย พบทั้ง มูลภัณฑ์ทุนและทุนมนุษย์ระดับสูงที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในขณะที่การวิเคราะห์ด้วยสมการการผลิตคอบบ์-ตักลาส พบว่า ผลของประเทศไทยมี ลักษณะคล้ายกับสมการเส้นตรง คือ มีเฉพาะมูลภัณฑ์ทุนเท่านั้น ที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ
ส่วนผลของประเทศมาเลเซียมีทั้งมูลภัณฑ์ทุน และทุนมนุษย์ระดับสูงที่มีผลกระทบต่อการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและผลของประเทศอินโดนีเซีย พบว่า ทั้ง 3 ตัวแปร กล่าวคือ มูลภัณฑ์ทุน
ทุนมนุษย์ระดับสูง และทุนมนุษย์ระดับต่ำมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยที่มูลภัณฑ์ทุน และทุนมนุษย์ระดับสูง มีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในทางบวก ในขณะที่ทุนมนุษย์ระดับ ต่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในทางลบ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559