GSDE: Books

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 5
  • Thumbnail Image
    Item
    รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2565
    อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา; ปรียานุช ธรรมปิยา; มณฑิรา อูนากูล (กรีน ไลฟ์ พริ้นติ้ง เฮาส์, 2024)
    รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก จัดทำขึ้นเพื่อติดตามสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยรายงานฯ ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2564 ได้เจาะลึกเรื่องการบริหารจัดการขยะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และรายงานฯ ปี พ.ศ. 2565 ฉบับนี้ นำเสนอการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก เนื่องจาก "น้ำ" เป็นทรัพยากรหลักทั้งในการดำรงชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เนื้อหาของรายงานแบ่งออกเป็น 5 บท เริ่มจากบทนำที่ทบทวนการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกโดยรวมและผลกระทบจากการพัฒนพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา จากมุมมองของการพัฒนาที่ยั่งยืน เริ่มต้นจากการพัฒนาภาคตะวันออกภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณขายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development Program: ESB) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 มาจนถึงปัจจุบัน ภายใต้โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะประสบความสำเร็จที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาพื้นที่อื่น ๆ ได้ แต่ก็มีปัญหาที่เกิดขึ้นและสั่งสมมาในหลากหลายมิติเช่นกัน
  • Thumbnail Image
    Item
    Study to develop a frame on sustainable tourism development in ASEAN in the post Covid-19 ERA
    Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA); Adis Israngkura ([Jakarta, Indonesia] : Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA)., 2022)
    Sustainable tourism is considered as an emerging key factor for a destination’s ability to maintain or build a strong reputation and a competitive brand which is hoped to enhance the existing relationships with local communities, visitors, and other relevant stakeholders. As articulated in the AEC Blueprint 2025, the vision for Southeast Asia is to make the region a “quality tourism destination” that offers a unique and diverse ASEAN experience and is committed to sustainable tourism development. As a collective effort towards realising this vision, the ASEAN Tourism Ministers have endorsed the ASEAN Framework on Sustainable Tourism Development in the Post-COVID-19 Era with the support of the Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA). The framework identifies focus areas and seeks to capitalise on the work that is already being undertaken by the tourism sector and other relevant sectors in the ASEAN Community particularly in the years leading up to 2025 and beyond.
  • Thumbnail Image
    Item
    นโยบายเกษตรเพื่อรองรับ BCG
    อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา; ปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ (2023)
    สถานการณ์ปัญหาของพืชเศรษฐกิจ 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และยางพารา การเพาะปลูกพืชเหล่านี้มีการขยายพื้นที่รุกล้ำ เข้าไปในพื้นที่ป่า การเผชิญปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่มีความผันผวน และผลผลิตต่อไร่ที่ยังต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศ การเข้าถึงองค์ความรู้ และการนำ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ยังไม่เพียงพอโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย รวมถึงการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลงต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตทำ ให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง ประกอบกับปัญหา ความแปรปรวนของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะความรุนแรงของพายุและ สถานการณ์นํ้าท่วมน้ำแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ของพืชเศรษฐกิจหลักและผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร
  • Thumbnail Image
    Item
    ช่วงโควิด-19 ทะเลได้พักฟื้น สู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
    อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา; กาญจนา ย่าแสน; ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์; วรภัทร จิตรไพศาลศรี; สมพร อิศวิลานนท์ (กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมองของชาติ; สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 2021)
    บทนำ -- ห้าพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว -- การท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 -- ขีดความสามารถในการรับรอง (Carrying Capacity) -- มาตรการการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง -- สรุปและข้อเสนอแนะ.
  • Thumbnail Image
    Item
    พลิกฟื้นผืนป่าด้วยพันธบัตรป่าไม้
    อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (กรุงเทพฯ : คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    บทนำ -- ความสำคัญของป่าไม้และการดำเนินงานด้านป่าไม้ของประเทศไทย -- กลไกทางเศรษฐศาสตร์และกลไกลทางเงิน -- การทำงานของพันธบัตรป่าไม้ -- ความคุ้มค่าการลงทุนในป่าเศรษฐกิจ -- กฎหมายและองค์กร -- การดำเนินการสู่ความสำเร็จของพันธบัตรป่าไม้ -- พันธบัตรป่าไม้เพื่ออนาคตที่ดีกว่า.