• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว

by กัลย์ลัญญา ปลั่งกมลดิษ์

Title:

แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว

Other title(s):

Guidelines for tourism development to support revisit of Sakaeo Province

Author(s):

กัลย์ลัญญา ปลั่งกมลดิษ์

Advisor:

แสงแข บุญศิริ

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว และการกลับมาเที่ยวของนักท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว เพื่อเปรียบเทียบการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วจําแนกตามพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวมีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวกับการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วจํานวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent t-test One-Way ANOVA และ การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันสวนสําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 5 คน เพื่อสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว
ผลการศึกษาพบว่า
1) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในจังหวัดสระแก่วส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 26-35 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ/พนักงาน/รัฐวิสาหกิจ คิด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,000-20,000 บาทต่อเดือน
2) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เป็นนักท่องเที่ยวเองที่เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สื่ออินเตอร์เน็ต/เว็บไซต์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว มีบุคคลที่เดินทางมาด้วยเป็นครอบครัว วิธีการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ระยะเวลาในการท่องเที่ยวแบบเช้าเย็นกลับ มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนอยู่ในช่วง 1,000-3,000 บาท มีวัตถุประสงค์ในการกลับมาเที่ยวเพื่อพักผ่อนในวันหยุด และเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ (ตลาดโรงเกลือ)
3) องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้วโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว ด้านสิ่งดึงดูดทางการทางท่องเที่ยวได้รับค่าเฉลี่ยมากที่สุด
4) การกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวจะกลับมาเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสระแก้ว ได้รับค่าเฉลี่ยมากที่สุด
5) ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวที่มีข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีเพศ อายุ และสถานภาพที่แตกต่างกัน มีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วไม่แตกแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ส่วนระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ
6) จากผลการวิจัยพบว่า สื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว บุคคลที่เดินทางมาด้วย วัตถุประสงค์ในการมาเที่ยวในจังหวัดสระแก้วและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้วที่ท่านเลือกมาท่องเที่ยวที่แตกต่างกันมีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วไม่แตกแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว วิธีการเดินทาง ระยะเวลาในการท่องเที่ยว และค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยตาอคนที่แตกต่างกันมีผลต่อการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ
7) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้วอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
8) แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการกลับมาเที่ยวจังหวัดสระแก้ว จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และภาคเอกชนพบว่า 1) จังหวัดสระแก้วมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายจึงจําเป็นต้องมีการพัฒนาสิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยวให้มากกว่านี้ 2) ควรมีการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เทศกาลต่างๆ ให้ทั่วถึง 3) ควรพัฒนาที่พักและโรงแรมให้มีมาตรฐาน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น 4) ควรพัฒนาเส้นทางในการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ให้มีความปลอดภัยมากกว่านี้ 5) ควรพัฒนาห้องน้ําให้มีจํานวนเพียงพอปริมาณนักท่องเที่ยว

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การส่งเสริมการท่องเที่ยว

Keyword(s):

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว
องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว
การกลับมาเที่ยว

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

177 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4243
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b189683.pdf ( 2,585.26 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [69]

Related items

Showing items related by title, author, creator and subject.

  • Thumbnail

    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพศหญิงชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร 

    นรินทร์สิรี เชียงพันธ์; รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจลักษณะปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยผลักดันทางการท่องเที่ยวจากภายใน ปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวจากภายนอก ปัจจัยประสบการณ์การท่องเที่ยวในอดีต และปัจจัยอุปสรรคทางการท่องเที่ยว 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยผลักดันทางการท่องเที่ยวจากภายใน ปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวจากภายนอก ปัจจัยประสบการณ์การท่องเที่ยวในอดีต และปัจจัยอุปสรรคทางการท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพศหญิงชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 325 ชุด จากนักท่องเที่ยวเพศหญิง ...
  • Thumbnail

    Safety Image, Perception of Safety Management and Loyalty of Chinese Free and Independent Travelers in Bangkok 

    Boonrada Panyarak; Rugphong Vongsaroj (NIDA, 9/27/19)

        The purposes of this study were to 1) compare the image safety of Chinese Free and Independent Travelers when traveling to Bangkok categorized by personal factors and traveling behavior, 2) compare the perception of safety management of Chinese Free and Independent Travelers when traveling to Bangkok categorized by personal factors and traveling behavior, and 3) examine the influence that the perception of safety management in tourism has on the tendency of loyalty of Chinese Free and Independent Travelers  when traveling to Bangkok. This ...
  • Thumbnail

    แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอัญมณีของจังหวัดจันทบุรีเพื่อตอบสนองพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย 

    เอกธนา พลเชียงขวาง; เทิดชาย ช่วยบำรุง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวอัญมณีของจังหวัดจันทบุรี ประเมินระดับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวอัญมณีของจังหวัดจันทบุรีจากการสำรวจทัศนคติที่ดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อ แหล่งท่องเที่ยว และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอัญมณีของจังหวัดจันทบุรีเพื่อ ตอบสนองพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย ประชากร คือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมา ท่องเที่ยวยังจังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×