• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การบังคับใช้โทษทางอาญา : ศึกษากรณีมาตรการยึดทรัพย์สินใช้แทนค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29

by ปิยธิดา บุญพา

Title:

การบังคับใช้โทษทางอาญา : ศึกษากรณีมาตรการยึดทรัพย์สินใช้แทนค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29

Other title(s):

The enforcement of criminal penalty : a case study of confiscation measures to settle instead of fine according to the criminal code article 29

Author(s):

ปิยธิดา บุญพา

Advisor:

ปิยะนุช โปตะวณิช

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาถึงมาตรการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ของไทย อันมีปัญหาจากการบังคับใช้โทษปรับ ซึ่งเป็นโทษทางอาญา และการบังคับใช้ มาตรการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ เป็นมาตรการที่ศาลนามาบังคับใช้ เมื่อมีการไม่ชำระค่าปรับ ซึ่งตาม มาตรา 29 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่งให้ กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้ ซึ่งในทางปฏิบัติจริงของศาล หากปรากฏว่าจำเลยไม่สามารถ ชำระค่าปรับได้ ศาลจะสั่งกักขังจำเลยทันที แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้เวลาจำเลย 30 วันในการ ชำระค่าปรับก็ตาม และศาลจะนำมาตรการกักขังแทนค่าปรับมาบังคับใช้มากกว่ามาตรการยึดทรัพย์ สินใช้ค่าปรับ เนื่องจากสามารถบังคับใช้ได้ทันที ต่างจากมาตรการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับที่มีขั้นตอนที่ ยุ่งยากและใช้เวลานาน
ซึ่งจากการค้นคว้าและศึกษาเรื่องวัตถุประสงค์ของการลงโทษพบว่า การลงโทษปรับมี วัตถุประสงค์เพื่อการข่มขู่หรือยับยั้งการกระทำความผิด โดยผู้กระทำผิดต้องชำระค่าปรับ อันเป็นการ บังคับเอากับเงินหรือทรัพย์สิน ทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และเป็นการทำให้ผู้กระทำ ผิดกลัวและไม่กล้าที่จะกระทำผิดซ้ำอีก แต่การที่ศาลไทยใช้มาตรการกักขังแทนค่าปรับต่อจำเลยที่ไม่ มีเงินค่าปรับนั้น เป็นการลงโทษต่อเสรีภาพของจำเลย อันเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ การลงโทษปรับ อีกทั้ง จากการศึกษาการบังคับโทษปรับในต่างประเทศพบว่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบประมวลกฎหมาย ต่างบังคับโทษปรับ โดยมุ่งบังคับแก่ ทรัพย์สินของจำเลย และให้โอกาสจำเลยในการชำระค่าปรับหรือมีการผ่อนผันให้จำเลยมีโอกาสหา เงินมาชำระค่าปรับ และการกำหนดอัตราค่าปรับ ก็มีการคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจหรือการเงินของจำเลย เพื่อพิจารณาค่าปรับให้มีความเหมาะสม อันเป็นผลให้การลงโทษมีประสิทธิภาพและไม่ ก่อให้เกิดปัญหาการกระทำผิดซ้ำ โดยมาตรการกักขังจะนำมาใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย หากจำเลย หลีกเลี่ยงที่จะไม่ชำระค่าปรับโดยเจตนาเท่านั้น
ดังนั้น เพื่อให้การบังคับโทษปรับ มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการ ลงโทษปรับมากที่สุด ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะ ให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญา ที่เกี่ยวกับมาตรการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับและมาตรการกักขังแทนค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 โดยให้ ยกเลิกมาตรการกักขังแทนค่าปรับเสีย และแก้ไขหลักเกณฑ์ในการบังคับใช้มาตรการยึดทรัพย์สินใช้ ค่าปรับ และนำมาตรการทางานบริการสังคมตามมาตรา 30/1 มาใช้เป็นมาตรการหลักแทนการกักขัง ในการแก้ปัญหาการที่จำเลยไม่สามารถชำระค่าปรับได้

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

กฎหมายอาญา

Keyword(s):

การยึดทรัพย์สิน
การกักขังผู้กระทำผิด

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

222 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4244
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b189998.pdf ( 6,299.98 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [99]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×