• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การมีส่วนร่วมของชุมชนสงฆ์ตามบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิชุมชน มาตรา 66 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการพุทธอุทยาน

by อัษฎาวุธ วสนาท

Title:

การมีส่วนร่วมของชุมชนสงฆ์ตามบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิชุมชน มาตรา 66 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการพุทธอุทยาน

Other title(s):

Participation of the monastic community in accordance with the provisions on community rights under section 66 of the constitution of the Buddhist Park Project

Author(s):

อัษฎาวุธ วสนาท

Advisor:

บรรเจิด สิงคะเนติ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการจัดตั้งพุทธอุทยาน ผ่านกรณีศึกษาโครงการพุทธอุทยานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาถึงความ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งพุทธอุทยานในพระพุทธศาสนานับแต่ครั้งพุทธกาลที่มีปรากฏ ในพระไตรปิฎกซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดตั้งพุทธอุทยานในพระพุทธศาสนา รวมถึงได้ ทำการศึกษาว่าการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของพุทธอุทยานของชุมชน สงฆ์ในปัจจุบันนั้นเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ว่าด้วยสิทธิชุมชนหรือไม่
จากการศึกษาพบว่า เพื่อให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างสมดุล และยั่งยืนจำเป็นที่จะต้องให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการ ซึ่งชุมชนสงฆ์ในรูปแบบของวัดหรือ สำนักสงฆ์นั้นถือเป็นชุมชน อันเป็นผู้ทรงสิทธิตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในอันที่จะมีสิทธิเข้ามี ส่วนร่วมกับภาครัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมได้ และที่สำคัญชุมชนสงฆ์เป็นชุมชนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นไปโดยสอดคล้องหลักการว่าด้วย การพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับการจัดตั้งพุทธอุทยานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในปัจจุบันนั้น เป็นโครงการของ รัฐที่ได้ผลักดันให้ชุมชนสงฆ์ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในป่าอนุรักษ์ให้สามารถอยู่ในป่าได้โดยไม่ตกเป็นผู้กระทำ ความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ซึ่งส่งผลให้พระสงฆ์ต้องรับภาระหน้าที่ในการช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์และจากการที่มอบพื้นที่ให้ชุมชนสงฆ์ช่วยดูแลในจำนวนที่มากเกินไปนั้น ได้กลายเป็นภาระหนักของพระสงฆ์ไปในที่สุด อันเป็นลักษณะการใช้อำนาจในการจัดการทรัพยากร โดยรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ที่ไม่ได้พิจารณาถึงเจตนารมณ์ของ การอยู่อาศัยในป่าของพระสงฆ์และการจัดตั้งพุทธอุทยานในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงซึ่งเมื่อ พิจารณาถึงเจตนารมณ์ในการจัดตั้งพุทธอุทยานในพระพุทธศาสนาที่มีปรากฏในพระไตรปิฎกแล้ว พบว่าเจตนารมณ์สำคัญในการจัดตั้งพุทธอุทยานนั้นเพื่อให้มีพื้นที่ธรรมชาติที่มีความเหมาะสมในการ ฝึกปฏิบัติตนตามหลักของพระพุทธศาสนาเพื่อเข้าถึงซึ่งหลักธรรมตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางเป็น แนวทางไว้รวมถึงได้บัญญัติกลไกในการควบคุมความประพฤติของพระสงฆ์ให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นมิตรหาใช่เป็นไปเพื่อการครอบครองในลักษณะเข้าถือเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัว แต่อย่างใดไม่
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป่าสงวน แห่งชาติ พ.ศ.2507 โดยเพิ่มเติมข้อความที่ระบุถึงความมีตัวตนของชุมชนไว้ในมาตรา 16 รวมทั้งได้ เสนอให้มีการยกร่างระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการจัดตั้งพุทธอุทยานขึ้นเป็นการเฉพาะ แยกต่างหาก จากระเบียบบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2548 โดยกำหนดให้มีมาตรการควบคุมเป็นการเฉพาะทั้งกระบวนการภายในชุมชนสงฆ์และ กระบวนการการควบคุมโดยรัฐ และกำหนดให้มีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมใน การพิจารณาและควบคุมการจัดตั้งพุทธอุทยาน เพื่อให้การจัดตั้งพุทธอุทยานเป็นไปโดยสอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

สิทธิชุมชน

Keyword(s):

พุทธอุทยาน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

274 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4246
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b189999.pdf ( 5,830.86 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [99]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×