• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

by ธนพล รุ่งเรือง

Title:

สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

Other title(s):

Employee competencies in MICE industry for increasing brand loyalty behavior of participant

Author(s):

ธนพล รุ่งเรือง

Advisor:

โชคชัย สุเวชวัฒนกูล

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะบุคลากรใน อุตสาหกรรมไมซ์กับพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2) เพื่อศึกษาอิทธิพล ของสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3) เพื่อเสนอแนะสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้าง พฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) และใช้ แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมไมซ์ อันได้แก่ กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการจัดการ ประชุมหรือสัมมนาองค์กร กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการ จัดการประชุมหรือสัมมนาระดับชาติหรือนานาชาติ กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการจัดการแสดง สินค้าหรือนิทรรศการ และกิจกรรมการท่องเที่ยวพิเศษ จำนวน 213 คน จากกิจกรรมไมซ์ทั่ว ประเทศ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ซึ่ง ประกอบด้วยค่าการแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) และสถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากนั้นจึงนำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิง ปริมาณมาผนวกกับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผ่านการนำเสนอในเชิงพรรณนา (Descriptive) เพื่อเสนอแนะสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความ ภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ผลการวิจัยพบว่า
1) สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ในทุกรายด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ พฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยรวม และในทุกรายด้าน
2) สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความภักดีต่อตรา สินค้าของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ด้านการบอกต่อเชิงบวก มีทั้งหมด 5 สมรรถนะ ดังนี้ เชาวน์ปัญญา, ทักษะการสื่อสารที่ ชัดเจน กระชับ และมีตรรกะ, ทักษะการประสานงาน, ความมีจิตบริการ, ข่าวกรองทางการตลาด: แนวโน้มทางการตลาด และข่าวกรองเกี่ยวกับสถานการณ์การแข่งขัน
ด้านการกลับมาใช้บริการซ้ำ มีทั้งหมด 3 สมรรถนะ ดังนี้ ทักษะการสื่อสารที่ชัดเจน กระชับ และมีตรรกะ, ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมไมซ์ ความต้องการ เป้าหมายเชิงธุรกิจ ปัจจัยความสำเร็จหลัก และกระบวนการตัดสินใจ, เชาวน์ปัญญา
ด้านการมีส่วนร่วมในการปกป้องตราสินค้า มีทั้งหมด 4 สมรรถนะ ดังนี้ ทักษะต้นทุนกำไร เบื้องต้น, ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมไมซ์ ความต้องการ เป้าหมายเชิงธุรกิจ ปัจจัยความสำเร็จหลัก และกระบวนการตัดสินใจ, ทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคใน การทำงาน, ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
และด้านรวม มีทั้งหมด 4 สมรรถนะ ดังนี้ ทักษะการสื่อสารที่ชัดเจน กระชับ และมีตรรกะ, ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมไมซ์ ความต้องการ เป้าหมายเชิงธุรกิจ ปัจจัย ความสำเร็จหลัก และกระบวนการตัดสินใจ, เชาวน์ปัญญา, ทักษะการประสานงาน
3) สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตรา สินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 4 แนวทาง ตามแต่ละด้าน ดังนี้ (1) ด้านการ บอกต่อเชิงบวก (2) ด้านการกลับมาใช้บริการซ้ำ (3) ด้านการมีส่วนร่วมในการปกป้องตราสินค้า และ (4) ด้านรวม

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- การจัดการ

Keyword(s):

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

177 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4249
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b189687.pdf ( 2,518.81 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [129]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×