dc.contributor.advisor | พัชรวรรณ นุชประยูร | th |
dc.contributor.author | ธนกฤต กุศลสมบูรณ์ | th |
dc.date.accessioned | 2019-02-12T04:36:35Z | |
dc.date.available | 2019-02-12T04:36:35Z | |
dc.date.issued | 2015 | th |
dc.identifier.other | b190055 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4250 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์ผู้เขียนได้ทำการศึกษาถึงปัญหาในด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและสิงคโปร์ รวมทั้งได้ศึกษาเกี่ยวกับระบบการให้การบริการทางการแพทย์ นโยบายสุขภาพ และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงนโยบายสุขภาพตามกติกาข้อตกลงร่วมมือกันของกฎบัตรสุขภาพระหว่างประเทศในอาเซียน(ASEAN Health Charter)องค์การอนามัยโลก(WHO)ธนาคารโลก(World Bank) และข้อมูลจาก UNDP Human Development Report 2010 รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงและวิเคราะห์ความแตกต่างของนโยบายสุขภาพ รวมถึงหลักกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการให้การบริการทางแพทย์ เช่น พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ.2550กฎกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2552พระราชบัญญัติกองทุนต่างๆ ของสิงคโปร์ เช่น ซีพีเอฟฟันด์(CPF Fund Act)เมดิเซฟ(Medisave)เมดิชีลด์(Medishield)เอลเดอชีลด์(Eldershield)ต่างๆ พระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ กฎกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงนโยบายสุขภาพแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC Blueprint) ที่ได้มีการเปิดเจรจา 5 สาขาใน 8 วิชาชีพรวมทั้งด้านสุขภาพ เช่น การแพทย์ การพยาบาล และทันตแพทย์ ตามข้อตกลงวิชาชีพร่วมกัน(Mutual Recognition Arrangement: MRA) | th |
dc.description.abstract | จากการศึกษาระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยพบว่าไทยเรามีอยู่หลายระบบด้วยกันและมีปัญหาแตกต่างกันไปโดยเฉพาะในกฎหมายพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคที่ยังไม่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติแห่งความเป็นจริงส่งผลให้งบประมาณไม่พอใช้ต่อความต้องการของประชาชนอีกทั้งยังมีปัญหาในการรอคอยนานเนื่องจากเน้นไปในทางปริมาณแต่ไม่ใช่คุณภาพ รวมทั้งยังขาดแคลนบุคคลากรในการให้บริการทางการแพทย์ ส่วนในภาคเอกชนนั้นมีปัญหาในเรื่องอัตราค่ารักษาพยาบาลแพงเกินความเป็นจริงซึ่งทำให้ประชาชนระดับกลางถึงยากจนไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้ เนื่องจากขาดการควบคุมโดยมาตรฐานราคากลางในการรักษา | th |
dc.description.abstract | ในระบบประกันสุขภาพของประเทศสิงคโปร์นั้นเป็นแบบระบบคู่ (Dual System) โดยรัฐบาลสิงคโปร์ออกค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นบางส่วนตามระดับรายได้ของประชาชน อีกทั้งประชาชนยังต้องจ่ายค่ารักษาเองในบางส่วนร่วมกัน โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะเน้นให้ประชาชนพึ่งพาตนเองเป็นหลัก โดยกำหนดให้ประชาชนสมัครเข้าโครงการกองทุนสุขภาพต่างๆ เช่นกองทุนซีพีเอฟ กองทุนเมดิเซฟ กองทุนเมดิฟันด์ กองทุนเมดิชีลด์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคนสามารถเป็นสมาชิกในโครงการต่างๆ ได้แบบไม่จำกัดจำนวนแต่ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนของการเป็นสมาชิกในการสมัครด้วย | th |
dc.description.abstract | นอกจากนี้ในกฎบัตรสุขภาพระหว่างประเทศอาเซียน จะเน้นไปในเรื่องการป้องกัน การควบคุม และกำจัดโรคติดต่อรวมถึงโรคระบาดต่างๆร่วมกันเพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงความมั่นคงของชีวิตที่ดีร่วมกัน ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอแนะในการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมสุขภาพระหว่างประเทศหรือธรรมนูญสุขภาพอาเซียนหรือกฎบัตรสุขภาพอาเซียน (ASEAN Health Charter)ออกมาใช้ร่วมกัน อีกทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมสุขภาพร่วมกันภายในประเทศ และปฎิรูประบบประกันสุขภาพรวมทั้งกำหนดราคาค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เป็นมาตรฐานกลางออกมาใช้ร่วมกัน | th |
dc.description.abstract | นอกจากนี้ในกฎบัตรสุขภาพระหว่างประเทศอาเซียน จะเน้นไปในเรื่องการป้องกัน การควบคุม และกำจัดโรคติดต่อรวมถึงโรคระบาดต่างๆร่วมกันเพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงความมั่นคงของชีวิตที่ดีร่วมกัน ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอแนะในการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมสุขภาพระหว่างประเทศหรือธรรมนูญสุขภาพอาเซียนหรือกฎบัตรสุขภาพอาเซียน (ASEAN Health Charter)ออกมาใช้ร่วมกัน อีกทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมสุขภาพร่วมกันภายในประเทศ และปฎิรูประบบประกันสุขภาพรวมทั้งกำหนดราคาค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เป็นมาตรฐานกลางออกมาใช้ร่วมกัน | th |
dc.description.provenance | Submitted by นักศึกษาฝึกงานมบูรพา_2562 (บุษกร แก้วพิทักษ์คุณ) (budsak.a@nida.ac.th) on 2019-02-12T04:36:35Z
No. of bitstreams: 1
b190055.pdf: 4407311 bytes, checksum: c86e0e61813c4f1c03b6014c9dd15ba6 (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2019-02-12T04:36:35Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b190055.pdf: 4407311 bytes, checksum: c86e0e61813c4f1c03b6014c9dd15ba6 (MD5)
Previous issue date: 2015 | th |
dc.format.extent | 145 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | การบริการทางการแพทย์ | th |
dc.subject | นโยบายสุขภาพ | th |
dc.subject.other | ระบบประกันสุขภาพ | th |
dc.title | การศึกษาเชิงเปรียบเทียบปัญหาทางกฎหมายในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์ | th |
dc.title.alternative | The comparative study in the law problem of the health insurance system between Thailand and Singapore | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |