การศึกษาเชิงสำรวจการจำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นสูงอายุโดยเทคนิควิเคราะห์การจัดกลุ่มปัจจัยการตัดสินใจเดินทางแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่
Files
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
119 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b189688
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นรินทร์พร อภิรักษ์ไพบูลย์ (2014). การศึกษาเชิงสำรวจการจำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นสูงอายุโดยเทคนิควิเคราะห์การจัดกลุ่มปัจจัยการตัดสินใจเดินทางแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4251.
Title
การศึกษาเชิงสำรวจการจำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นสูงอายุโดยเทคนิควิเคราะห์การจัดกลุ่มปัจจัยการตัดสินใจเดินทางแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่
Alternative Title(s)
An exploratory study of senior Japanese tourists segmentation using cluster analysis on decision making factor for long stay purposes in Chiang Mai, Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อจัดกลุ่มปัจจัยการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นในจังหวัด เชียงใหม่ 2) เพื่อจำแนกกลุ่มนกั ท่องเที่ยวญี่ปุ่นสูงอายุแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่บนพื้นฐานปัจจัยการตัดสินใจเดินทางและพฤติกรรมการท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวและปัจจัยการตัดสินใจเดินทางกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีการจำแนกกลุ่มแบบพำนักระยะยาวมีความแตกต่างกันหรือไม่
ศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน 1) จัดกลุ่มปัจจัยด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ การจัดกลุ่มความเหมือนกัน ไว้กลุ่มเดียวกัน 2) จำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นสูงอายุที่พำนักระยะยาว บนพื้นฐานปัจจัยการตัดสินใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้วยเทคนิคการจำแนกกลุ่ม และ3) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวและปัจจัยการตัดสินใจเดินทางกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีการจำแนกกลุ่มแบบพำนักระยะยาว โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นสูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 300 คน
ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยการตัดสินใจสามารถจัดกลุ่มได้ 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) ปัจจัยความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ 2) ปัจจัยเอกลักษณ์วัฒนธรรม 3) ปัจจัยความมั่นคงปลอดภัย 4) ปัจจัยมนุษยสัมพันธ์ 5) ปัจจัยความคุ้มค่า 6) ปัจจัยความหลากหลายทางการท่องเที่ยว 7) ปัจจัยความสมบูรณ์ของทรัพยากรท่องเที่ยว 2. การจำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นสูงอายุที่ต้องการพำนักระยะยาว สามารถจำแนกกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ได้แก่1) กลุ่มเน้น ความเรียบง่าย 2) กลุ่มเน้นความสะดวกสบาย 3) กลุ่มเน้นความเป็นธรรมชาติ 3. การศึกษาสรุปได้ว่าแต่ละกลุ่มนักท่องเที่ยวแม้ว่าจะมีปัจจัยการตัดสินใจที่แตกต่างกันแต่ นักท่องเที่ยวยังคงชื่นชอบ ความหลากหลายทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่เหมือนกัน
ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยการตัดสินใจสามารถจัดกลุ่มได้ 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) ปัจจัยความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ 2) ปัจจัยเอกลักษณ์วัฒนธรรม 3) ปัจจัยความมั่นคงปลอดภัย 4) ปัจจัยมนุษยสัมพันธ์ 5) ปัจจัยความคุ้มค่า 6) ปัจจัยความหลากหลายทางการท่องเที่ยว 7) ปัจจัยความสมบูรณ์ของทรัพยากรท่องเที่ยว 2. การจำแนกกลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นสูงอายุที่ต้องการพำนักระยะยาว สามารถจำแนกกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ได้แก่1) กลุ่มเน้น ความเรียบง่าย 2) กลุ่มเน้นความสะดวกสบาย 3) กลุ่มเน้นความเป็นธรรมชาติ 3. การศึกษาสรุปได้ว่าแต่ละกลุ่มนักท่องเที่ยวแม้ว่าจะมีปัจจัยการตัดสินใจที่แตกต่างกันแต่ นักท่องเที่ยวยังคงชื่นชอบ ความหลากหลายทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่เหมือนกัน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557