• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบลงทะเบียน

อำนาจการสอบสวนคดีความผิดที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักร : ศึกษากรณีพนักงานอัยการกับดีเอสไอ

by นาฏอนงค์ ขำเจริญ

ชื่อเรื่อง:

อำนาจการสอบสวนคดีความผิดที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักร : ศึกษากรณีพนักงานอัยการกับดีเอสไอ

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Authority to investigate offenses committees abroad : case study prosecutor with the DSI

ผู้แต่ง:

นาฏอนงค์ ขำเจริญ

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ปิยะนุช โปตะวณิช

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

จากสภาพอาชญากรรมที่มีลักษณะยุ่งยาก สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทำให้การรวบรวม พยานหลักฐานในการกระทำความผิดเป็นไปได้ยากประกอบกับเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดในปัจจุบันไม่สามารถที่จะปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างทันท่วงทีและมี ประสิทธิภาพเท่าที่ควร จนอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติได้ ทั้งการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทยยังคงขาดความเชื่อมโยงและการบูรณาการร่วมกันทำ ให้บาปเคราะห์ยังคงเกิดแก่ประชาชนอยู่เอง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นจากความจำกัดดังกล่าวของหน่วยงานตำรวจอย่างจริงจังโดยการจัดให้มีหน่วยงานพิเศษขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่มีความยุ่งยากซับซ้อนนั้นจึงได้มีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ขึ้นและมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการสืบสวนคดีที่มีลักษณะเป็นคดีพิเศษได้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การที่รัฐจัดให้มีหน่วยงานต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อมารับมือกับปัญหาอาชญากรรมนั้นทำให้รัฐต้องประสบกับ ปัญหาใหม่ตามมาอีกนานัปการทั้งยังก่อความสับสนในทางปฏิบัติอันสืบเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนใน ตัวบทกฎหมาย โดยเฉพาะหากเป็นคดีพิเศษที่กรมสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจตามพระราชบัญญัติการ สอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และคดีดังกล่าวเป็นความผิดนอกราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 ด้วยนั้น ใครควรมีอำนาจสอบสวน องค์กรสอบสวนคดีพิเศษมี อำนาจสอบสวนได้เองหรือต้องได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดก่อนกรณียังเกิดความสับสนในทาง ปฏิบัติจนและบางครั้งก็อาจเกิดความชะงักงันในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยเกรงจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบอันจะส่งผลถึงอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนใน สังคมและกระบวนการยุติธรรมอย่างมาก
จากการศึกษาอำนาจสอบสวนคดีอาญานอกราชอาณาจักรของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจเพียงใดนั้น ได้มี ความเห็นแตกต่างกัน ดังนี้ ฝ่ายแรกเห็นว่า การสอบสวนคดีพิเศษนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ อยู่ภายใต้อำนาจของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 20 อันเป็นอำนาจของอัยการสูงสุดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายฝ่ายที่สองเห็นว่า การสอบสวน เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษโดยเฉพาะ เพราะกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยมิได้เอื้อให้พนักงานอัยการสามารถทำการสอบสวนได้เองอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนในต่างประเทศ เป็นผลให้การใช้อำนาจสอบสวนของพนักงานอัยการไทยกระทำได้อย่างติดขัด ทั้งถือเป็นเพียงข้อยกเว้นของกฎหมายเท่านั้น และแม้ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 20 ที่แก้ไขใหม่จะได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจในการสอบสวน เพิ่มขึ้นประหนึ่งทำให้อำนาจสอบสวนของพนักงานอัยการไทยมีความใกล้ชิดกับความเป็นสากลในคดี ความผิดนอกราชอาณาจักรมากขึ้น แต่ในทำงปฏิบัติพนักงานอัยการก็มิได้เข้าไปมีบทบาทในการ สอบสวนด้วยตนเองอย่างในต่างประเทศ หากยังคงมอบหมายให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้ทำหน้าที่ สอบสวนหรือเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนอยู่นั้นเอง ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดนานัปการของฝ่ายอัยการ เองกอปรกับประเทศไทยได้ยึดถือและมีหลักปฏิบัติหลายประการที่แตกต่างจากประเทศอื่น เช่น ตาม มาตรา 120 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจำรณาความอาญาดังนั้น ในการนากฎหมายหรือหลักปฏิบัติ ใดๆ ของต่างประเทศมาใช้จึงจำเป็นอย่ำงยิ่งที่จะต้องปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยด้วย
ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง(2) เป็น“คดีพิเศษที่จะต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ คดี ความผิดทำงอาญาดังต่อไปนี้ (2) คดีความผิดทางอาญาอื่นนอกจาก (1) ตามที่ กคพ. มีมติด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เป็น “คดีความผิดทางอาญาอื่น นอกจาก (1) ตามที่ กคพ. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มี อยู่ แต่กรณีความผิดทางอาญานั้นเป็นความผิดนอกราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรำ 20 ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจสอบสวนคดีนั้นได้โดยตรงโดยไม่ต้อง ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดก่อน และให้เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย”

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การสืบสวนคดีอาญา
การสอบสวนคดีอาญา

คำสำคัญ:

พนักงานอัยการ
วิธีพิจารณาความอาญา

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

244 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4252
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
b190056.pdf ( 2,614.44 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [99]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×