• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

มาตรการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต : ศึกษากรณีการพิสูจน์หลักฐานทางการเงินและการบัญชี

by สรัสวดี ทุมนัส

ชื่อเรื่อง:

มาตรการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต : ศึกษากรณีการพิสูจน์หลักฐานทางการเงินและการบัญชี

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

The criterion for office of public sector anti-corruption commission in anti-corruption : case study of the investigation of financial and accounting

ผู้แต่ง:

สรัสวดี ทุมนัส

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วราภรณ์ วนาพิทักษ์

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษา เกี่ยวกับมาตรการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตในภาครัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต : ศึกษากรณีการพิสูจน์ หลักฐานทางการเงินและบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาขอบเขตของความ ต้องการกฎหมายเกี่ยวกับการพิสูจน์หลักฐานทางการเงินและบัญชีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต การริบทรัพย์สินที่ได้มาจากการทุจริตกรณีประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ และการขาดเอกภาพในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตมี ประสิทธิภาพโดยจะทำการศึกษาเปรียบเทียบกับบทบัญญัติของกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลียและประเทศอังกฤษ ปรากฎผลการศึกษาดังต่อไปนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการขาดบทบัญญัติของกฎหมายในการสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับหลักฐานทาง การเงินและบัญชี จากการศึกษาพบว่า Model Law on Money Laundering ของสหประชาชาติได้ มีการกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิเศษในการสืบสวนสอบสวนว่า วิธีพิเศษในการสืบสวนสอบสวน ประกอบด้วย การดักฟังโทรศัพท์ การตรวจสอบบัญชีเงินฝาก การตรวจสอบการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบเอกสารกับตราสารต่าง ๆ ว่ามีการปลอมแปลงหรือไม่ บทบัญญัติของกฎหมายประเทศ สหรัฐอเมริกา USA Patriot กล่าวถึงวิธีการสืบสวนไว้ประการหนึ่งคือ อนุญาตให้เจ้าหน้าที่สามารถ ดำเนินการติดตามและดักฟังทางโทรศัพท์อย่างถูกต้องในกรณีมีเหตุสงสัยว่ามีการกระทำความผิด และสามารถดักข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตได้ ส่วนกรณีการริบทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริตกรณี ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบนั้น กฎหมายของประเทศอังกฤษ การริบทรัพย์สินตามมูลค่าตั้งอยู่บน สันนิษฐานว่า ทรัพย์สินที่จำเลยได้รับหรือโอนมาในระยะเวลา 6 ปี ก่อนที่จะถูกฟ้องคดีนี้เป็นทรัพย์สิน ที่จำเลยได้รับจากการกระทำความผิด บรรดาทรัพย์สินที่จำเลยครอบครองอยู่ภายหลังจากที่ศาลมีคำ พิพากษาว่ากระทำความผิดในคดีนี้ เป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้รับจากการกระทำความผิด และบรรดา ค่าใช้จ่ายที่จำเลยได้จ่ายไปในระยะเวลา 6 ปี ก่อนที่จะถูกฟ้องคดีนี้ จำเลยได้ใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจาก การกระทำความผิดเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาดังกล่าว เว้นแต่ผู้กระทำความผิดหรือบุคคลอื่นจะพิสูจน์ ได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวมิได้มีความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และกรณีการปฏิบัติงานอย่างไม่ เป็นเอกภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าเคยมีการแก้ปัญหาโดยการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานระหว่างหน่วยงาน จากการศึกษาดังกล่าวผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะคือ ขอบเขต ของกฎหมายเกี่ยวกับการพิสูจน์หลักฐานทางการเงินและบัญชี ซึ่งผลักดันโดยสำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐ ควรเป็นครื่องมือในการสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นการทุจริตประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ ควรมีการ แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการริบทรัพย์สินตามมูลค่าที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 โดยให้มาตรการริบ ทรัพย์สินบุคคลที่กระทำ ความผิดประพฤติมิชอบที่มีพฤติกรรมการกระทำความผิดต่อเนื่องมาเกิน 6 เดือน ตั้งอยู่บนสันนิษฐาน ว่า ทรัพย์สินที่จำเลยได้รับหรือโอนมาในระยะเวลา 6 ปี ก่อนที่จะถูกฟ้องคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่จำเลย ได้รับจากการกระทำความผิด บรรดาทรัพย์สินที่จำเลยครอบครองอยู่ภายหลังจากที่ศาลมีคำ พิพากษาว่ากระทำความผิดในคดีนี้ เป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้รับจากการกระทำความผิด และบรรดา ค่าใช้จ่ายที่จำเลยได้จ่ายไปในระยะเวลา 6 ปี ก่อนที่จะถูกฟ้องคดีนี้ จำเลยได้ใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจาก การกระทำความผิดเป็นค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาดังกล่าว เว้นแต่ผู้กระทำความผิดหรือบุคคลอื่นจะพิสูจน์ ได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวมิได้มีความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และ ควรมีการทำข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจบทบาทของตนในการปฏิบัติตามกฎหมายและการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง

คำสำคัญ:

การเงินและบัญชี
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

130 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4256
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b190061.pdf ( 1,621.83 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [167]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×