• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การทำพินัยกรรม : ศึกษากรณีเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายมรดกไทย และสปป.ลาว

by จันที สีปาน

Title:

การทำพินัยกรรม : ศึกษากรณีเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายมรดกไทย และสปป.ลาว

Other title(s):

The will : to study comparing the legal heritage of Thailand and Lao PDR (Lao Peole's Democratic Republic)

Author(s):

จันที สีปาน

Advisor:

ปิยะนุช โปตะวณิช

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายว่าด้วยมรดก ของ สปป. ลาว และกฎหมายไทย ในเรื่อง “การทำพินัยกรรม” เฉพาะกรณี ข้อกำหนดทางด้านกฎหมายในการ จำกัดอำนาจในการทำพินัยกรรม หรือกำหนดเกณฑ์ทางด้านอายุของผู้ทำพินัยกรรม แบบของ พินัยกรรม และขอบเขตข้อกำหนดกฎหมายที่จำกัดอำนาจในการยกทรัพย์สินโดยพินัยกรรม
เมื่อผู้เขียนได้นำประเด็นปัญหาดังกล่าว มาศึกษาเปรียบเทียบกันแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว พบ ว่าบทบบัญญัติกฎหมายเรื่องพินัยกรรม ของทั้งสองประเทศนี้มีความแตกต่างกันในเรื่องของการ ตกทอดมรดกตามพินัยกรรม โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำพินัยกรรม ซึ่งจากการศึกษาตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะ 3 ของไทยกับกฎหมายว่าด้วยมรดก ภาค 3 ของ สปป. ลาว ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจุจบัน ได้มีการบัญญัติกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการกำหนดความสมบูรณ์ของพินัยกรรม ที่ไม่เหมือนกันในหลายกรณี โดยเฉพาะเกณฑ์ทางด้านอายุของผู้ทำพินัยกรรม ขอบเขตในการกำหนด ยกทรัพย์สินในพินัยกรรม และแบบของพินัยกรรม เป็นต้น ฉะนั้น เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกันตามหลัก กฎหมายดังกล่าวแล้ว พบว่าการทำพินัยกรรมตามกฎหมายของ สปป.ลาว ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ให้ความ คุ้มครองผู้ทำพินัยกรรมเท่าที่ควร และเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานของการทาพินัยกรรม คือ หลัก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและหลักอิสระในทางแพ่ง ซึ่งทำให้ผู้ทำพินัยกรรมไม่สามารถทำพินัยกรรม กำหนดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน ได้ตามใจชอบ เมื่อเทียบกับหลักกฎหมายของไทย
จากการศึกษาข้างต้น ผู้เขียนเสนอว่าควรมีการนำเอาหลักเกณฑ์ของการตกทอดมรดกตาม พินัยกรรมตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย มาบัญญัติไว้ในกฎหมายว่า ด้วยมรดก เรื่องพินัยกรรมในกรณีดังกล่าว ของ สปป.ลาว ด้วย เพื่อทำให้กฎหมายว่าด้วยมรดก ของ สปป.ลาว มีหลักเกณฑ์การตกทอดมรดกตามพินัยกรรม ให้มีความทันสมัย สอดคลองกับสังคมลาว และหลักการตกทอดมรดกของสากลอีกด้วย

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

พินัยกรรม
พินัยกรรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

Keyword(s):

กฎหมายมรดกไทย
การทำพินัยกรรม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

133 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4257
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b190062.pdf ( 1,882.10 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [99]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×