• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบลงทะเบียน

แนวทางในการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายของคนไร้สัญชาติไทย : ศึกษากรณีการให้สิทธิและสถานภาพทางสัญชาติแก่คนไร้รากเหง้า

by สุวิมล อิสริยานนท์

ชื่อเรื่อง:

แนวทางในการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายของคนไร้สัญชาติไทย : ศึกษากรณีการให้สิทธิและสถานภาพทางสัญชาติแก่คนไร้รากเหง้า

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Guidelines for protecting of the legal rights of stateless Thai : a case study of rights and status of citizenship to people without civil registration record

ผู้แต่ง:

สุวิมล อิสริยานนท์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วริยา ล้ำเลิศ

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

สัญชาติเป็นเรื่องของความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องผูกมัดบุคคลไว้กับประเทศในทางกฎหมาย บุคคลที่มีสัญชาติของประเทศใดจึงมีฐานะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการจะได้รับสวัสดิการจากรัฐในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ และในทางกลับกันบุคคลนั้นก็มีหน้าที่พลเมืองต่อประเทศที่เป็นเจ้าของสัญชาติของตนเช่นกัน ปัญหาเรื่องการที่บุคคลต้องตกอยู่ในสภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติถือว่าเป็นปัญหาด้านมนุษยชนที่สำคัญ เนื่องจากการที่บุคคลอยู่ในฐานะไร้รัฐไร้สัญชาติมักจะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้โดยง่าย ทั้งยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากรัฐใดเลย ในส่วนของประเทศไทย ปัญหาเรื่องบุคคลไร้สัญชาติยังคงเป็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่ยังไม่มีแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจน ประกอบกับสภาพสังคมในปัจจุบันยังส่งผลให้มีจำนวนคนไร้สัญชาติที่เพิ่มสูงขึ้น จะเห็นได้จาก มีจำนวนเด็กที่ถูกทิ้งตั้งแต่แรกเกิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเด็กเหล่านี้จะไม่ทราบถึงตัวบิดามารดาที่แท้จริง ส่งผลให้กลายเป็นบุคคลไร้รากเหง้า กลายเป็น บุคคลไร้สัญชาติเพราะไม่สามารถหาจุดเกาะเกี่ยวของตัวเองกับประเทศไทยได้
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาถึงแนวคิดและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการให้สัญชาติไทย รวมถึงปัญหาและข้อจำกัดทางกฎหมายในเรื่องของการให้สัญชาติ และศึกษาถึงกลไกการคุ้มครองสิทธิของคนไร้สัญชาติภายใต้กติการะหว่างประเทศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รวมถึงการศึกษาถึงหลักกฎหมายการให้สัญชาติของต่างประเทศ เพื่อนามาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและหาวิธีการในการให้สิทธิและสถานภาพทางสัญชาติแก่คนไร้รากเหง้า
จากการศึกษาถึงบทบัญญัติของการให้สัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติสัญชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จะเห็นถึงข้อจากัดของการให้สัญชาติไทย ในกรณีของการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดน กล่าวคือ การเกิดในดินแดนประเทศไทยเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคคลนั้นได้สัญชาติไทย เพราะจะต้องพิจารณาถึงตัวบิดาหรือมารดาของบุคคลนั้นด้วยว่าจะต้องไม่เป็นบุคคลที่เข้าข้อยกเว้นที่กฎหมายได้กาหนดไว้จึงจะมีสิทธิได้รับสัญชาติไทย ซึ่งข้อจำกัดนี้ส่งผลถึงกรณีของบุคคลไร้รากเหง้าที่ไม่ทราบถึงตัวบิดามารดาของตัวเอง แม้ว่าบุคคลนั้นจะเกิดในประเทศไทย และอาจจะมีบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งทำให้สามารถได้รับสัญชาติไทยได้ตามกฎหมาย แต่เมื่อไม่สามารถหาข้อพิสูจน์ที่แท้จริงได้ บุคคลกลุ่มนี้ก็ต้องตกเป็นคนไร้สัญชาติไปโดยปริยาย
ผู้ศึกษาเห็นว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาในเรื่องการให้สิทธิและสถานภาพทางสัญชาติแก่คนไร้รากเหง้า อยู่ที่การลดข้อจำกัดในการพิจารณาถึงการให้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนแก่เด็กแรกเกิดหรือเด็กอ่อนที่ถูกพบในประเทศไทยที่ไม่ปรากฏตัวบิดามารดาให้ได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนไปจนกว่าจะมีข้อพิสูจน์ได้ว่ามีสัญชาติอื่น สามารถดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายภายในประเทศที่มีบัญญัติไว้ รวมถึงสามารถวางเงื่อนไขในการพิจารณาอย่างเหมาะและชอบธรรมต่อหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตย ที่ไม่ส่งผลกระทบถึงหลักความมั่นคงของรัฐและยังคงไว้ซึ่งความเหมาะสมและความสมดุลของหลักสิทธิมนุษยชน

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

กฎหมายมหาชน
ความไร้สัญชาติ

คำสำคัญ:

การให้สัญชาติไทย
การคุ้มครองสิทธิของคนไร้สัญชาติ

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

167 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4261
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
b189997.pdf ( 3,640.66 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [98]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×