Now showing items 1-20 of 35

  • Thumbnail

    แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทย 

    สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ์; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีปัญหาอาชญากรรมค่อนข้างสูง ข้อมูลสถิติการกระทำผิด กฎหมายแสดงให้เห็นว่าสภาพการณ์การกระทำผิดกฎหมายของประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้าง น่าเป็นกังวลเป็นอย่างมากว่า กระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา อาชญากรรมหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อน่าสังเกตว่าในบรรดาผู้กระทำผิดอาญาที่เข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมมีทั้งผู้กระทำผิดที่เพิ่งกระทำความผิดอาญาเป็นครั งแรก และก็มีผู้กระทำผิดอีกเป็นจำนวน มากที่เคยมีประวัติการกระทำความผิดอาญามาก่อนแล้วมาถูกจับกุมดำเนินคดีอาญาซ้ำอีก บางรายมี ประวัติการกระทำความผิดอาญาซ้ำจำนวนมากตั ...
  • Thumbnail

    กฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีเพศวิถีแบบรักเพศเดียวกัน 

    ณัฐวุฒิ ชัยสายัณห์; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    รัฐออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่มนุษย์โดยนำเอาพฤติกรรมทาง เพศมาเป็นหลักการสำคัญ ซึ่งรัฐคำนึงถึงแต่เพียงเรื่องเพศสัมพันธ์ที่สืบพันธุ์ได้ และใช้แนวคิดดังกล่าว เป็นองค์ประกอบหลักในการออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่ประชากร รัฐ ไม่ได้ยึดหลักการและแนวคิดในการรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของมนุษย์โดยคำนึงถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความรัก ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ที่มีเพศสรีระที่ต่างกัน หรือมนุษย์ที่มีเพศ สรีระเดียวกัน การรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของมนุษย์จึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นกับทุกรูปแบบ ของความรัก ...
  • Thumbnail

    การคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานและกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

    พิมุข สุศีลสัมพันธ์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ มาตรฐานแรงงาน ระหว่างประเทศ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และการจัดตั้ง สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาพัฒนากฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความ ปลอดภัยในการทำงานของประเทศไทย ซึ่งดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาจากเอกสาร ได้แก่ หนังสือ บทความ งานวิจัย เอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนบุคคล ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การคุ้มครองแรงงานด้านความปลอดภัยใ ...
  • Thumbnail

    ปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน 

    อภินันท์ ศรีศิริ; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิด หลักการในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ได้รับ การยอมรับและถือปฎิบัติในระดับสากล กฎหมายและขั้นตอนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของประเทศไทย กับประเทศสมาชิกอาเซียน 2. ศึกษาแนวคิด หลักการในการใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการให้ความ ร่วมมือระหว่างประเทศในการส่งคนชาติ และคนไร้สัญชาติเป็นผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศสมาชิกอาเซียน 3. ศึกษาแนวคิดในการรวมกลุ่มภูมิภาคอื่นกับกลไกในการให้ความร่วมมือ ระหว่างประเทศสมาชิกในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตลอดทั้งขององค์การสหประชาชาติด้วย 4. วิเคราะห์ เชิงเปรียบเทียบการให้ความ ...
  • Thumbnail

    มาตรการทางกฎหมายเพื่อจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย 

    พนารัตน์ มาศฉมาดล; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย และ มาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ ตลอดจนแนวคิด ทฤษฎีในการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสภาพการจัดการขยะในปัจจุบันของประเทศไทย เพื่อนำข้อมูล เหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อสร้างต้นแบบของกฎหมายไทยที่ใช้ในเพื่อบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ ตลอดจนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ สอดคล้องกับการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ ...
  • Thumbnail

    มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุรา 

    มารียา เทพสิทธา; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    สาเหตุประการหนึ่งที่สำคัญของอุบัติเหตุจราจรทางบกของประเทศไทย เกิดจากผู้ขับขี่รถ บริโภคสุรา ความเสียหายที่เกิดขึ้นนอกจากกระทบต่อตัวผู้ขับขี่ที่บริโภคสุราแล้ว ยังกระทบและ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น และความปลอดภัยในการใช้ถนนของประชาชน จากการศึกษา พบว่า ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ เกิดจากผู้ขับขี่รถบริโภคสุรา ดังจะเห็นได้จากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีสมาชิกในปฏิญญามอสโก (MOSCOW DECLARATION) และปฏิญญาบราซิเลีย (BRASILLIA DECLARATION) อันมีวัตถุประสงค์ที่ ให้เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ค.ศ.2011-2020 ...
  • Thumbnail

    แนวทางการปฏิรูปกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจพัฒนา 

    เสถียรภาพ นาหลวง; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาวิจัยในปัญหาแนวทางการปฏิรูปกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบระบบกฎหมายบริษัทเอกชนชนจำกัดที่สามารถเป็นเครื่องมือส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศเศรษฐกิจพัฒนา เพราะระบบกฎหมายบริษัทจำกัดของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่สามารถเป็นเครื่องมือส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่ การศึกษาได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพร่วมกับการสัมภาษณ์ในเชิงลึก โดยใช้ทฤษฎีกฎหมายเปรียบเทียบและทฤษฎีบริษัทปิดเป็นฐานในการวิเคราะห์ปัญหาและผลการศึกษา ด้วยวิธีวิเคราะห์ในเชิงนิติเศรษฐศาสตร์การศึกษามี ...
  • Thumbnail

    การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคม ศึกษาเชิงเปรียบเทียบสหภาพยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 

    ชมพูนุท สถิตย์เสมากุล; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคมของสหภาพยุโรป โดยนำมาใช้เป็นแม่แบบเพื่อนำมาปรับใช้กับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มีระบบการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับและมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มของ ประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและสหภาพยุโรปนั้น ล้วนมุ่งรวมตัวกันเพื่อส่งเสริมพัฒนา เศรษฐกิจ ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพิ่มความมั่งคงในภูมิภาค ดุษฎีนิพนธ์นี้ยังได้ศึกษา เปรียบเทียบระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพิธีสารมาดริดด้วย เพื่อเสนอแนะแนวทาง ในการพัฒนากฎหมายเครื่องหมายการค้า ...
  • Thumbnail

    ระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะในประเทศไทยกับหลักความเป็นนิติรัฐ 

    สมยศ จันทรสมบัติ; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประวัติความเป็นมา แนวความคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์ รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศที่กําหนดกรอบของระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ ฉุกเฉินสาธารณะ 2. เพื่อศึกษาความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะของกฎหมายต่างประเทศ และ 3. เพื่อวิเคราะห์แนวทางและกรอบของระบบ กฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน ระหว่างประเทศ เพื่อนํามาปรับใช้ในระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะของ ประเทศไทย ผลจากการศึกษาพบว่า โดยหลักการของประเทศเสรีประชา ...
  • Thumbnail

    องค์กรหลักที่ใช้อำนาจอธิปไตยในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศตามหลักกฎหมายในและกฎหมายระหว่างประเทศ 

    เกียรติพร อำไพ; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำกำไรศึกษาถึงการปฏิรูปบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ การใช้อำนาจและกระบวนการในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมีผลอย่างไรต่อภาวะวิกฤติเกี่ยวกับ การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น การศึกษาในครั้งนี้ให้ความสำคัญกับหลักกำรเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่ใช้โดย ฝ่ายบริหารซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่าด้วยอำนาจในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ หลักการแบ่งแยกอำนาจและหลักการตรวจสอบถ่วงดุล รวมทั้งการใช้อำนาจระหว่างฝ่ายบร ...
  • Thumbnail

    หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย 

    ภัสวรรณ อุชุพงศ์อมร; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงหลักสารบัญญัติของหลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย โดย หลักกฎหมายทั่วไปนับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง และเป็นหลักกฎหมายที่มิได้บัญญัติไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งศาลได้ค้นหาและนำมาใช้ในการอุดช่องว่างของกฎหมายลายลักษณ์อักษร ใน การนี้ได้ศึกษาถึงคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในการนำหลักกฎหมายทั่วไปมาพิจารณาประกอบ ในการวินิจฉัยคดีปกครอง โดยได้ศึกษาหลักกฎหมายเรื่องดังกล่าวของต่างประเทศด้วยเพื่อเป็น ประโยชน์สำหรับการวางแนวทางในเรื่องหลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย จากการศึกษาพบว่า รากฐานแนวคิดของหลักกฎหมายทั่วไปท ...
  • Thumbnail

    หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล: ศึกษาพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... 

    เสริมพงษ์ รัตนะ; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของรัฐในระบบ กฎหมายของเยอรมันและฝรั่งเศส และศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเขตอํานาจศาลของพระราชบัญญัติความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... อันจะนําไปสู่การเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องเขตอํานาจศาลในการ พิจารณาคดีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายว่าด้วยความ รับผิดทางละเม ...
  • Thumbnail

    บทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล 

    ปวินี ไพรทอง; นเรศร์ เกษะประกร (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าบทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคลเป็น บทบัญญัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเนื่องจากขัดต่อหลักการสันนิษฐานความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาใน คดีอาญา แต่เหตุใดในบางประเทศใช้บทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาเพื่อเป็นประโยชน์ในการสืบ พยานหลักฐานและไม่ถือว่าขัดต่อหลักการดังกล่าว นอกจากนี้ในทางกฎหมายสารบัญญัติบทบัญญัติ กฎหมายเดิมก่อนมีการยกเลิกบทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคลในประเทศไทย มีความบกพร่องในการบัญญัติถ้อยคำที่เป็นไปตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาว่าด้วย “การ กระทำ” อันควรเป็นเหตุผลประการเดียวของควา ...
  • Thumbnail

    การลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกับหลักความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 

    พัชรินทร์ วิทยาเอนกนันท์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    วิทยานิพนธ์นี้ศึกษา การลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกับหลักความคุ้มครองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวความคิดการลงโทษประหารชีวิตและหลักการ คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่าแท้จริงแล้วการที่รัฐให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะทํา ให้แนวความคิดการลงโทษประหารชีวิตที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์มากน้อยเพียงใด
  • Thumbnail

    การกระทำทางรัฐบาล และปัญหาการตรวจสอบการกระทำทางรัฐบาล 

    สุชาดา เรืองแสงทองกุล; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การใช้อำนาจทางบริหารขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร เป็นอำนาจในการดำเนินการบริหาร ราชการแผ่นดิน การดำเนินการตามภารกิจของรัฐให้สำเร็จลุล่วงอันมีลักษณะเป็นงานทางนโยบาย การกระทำทางรัฐบาลเป็นผลจากการใช้อำนาจทางรัฐบาล ซึ่งเป็นอำนาจอย่างหนึ่งของอำนาจ ทางบริหาร ในปัจจุบันการใช้อำนาจทางบริหารขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารของไทย มีปัญหาการ คำหนดชอบเขตของการกระทำทางรัฐบาส เนื่องจากการขาดความชัดเจนในการให้ความหมายของ การกระทำทางรัฐบาล และไม่มีเกณฑ์ที่แน่ชัดในการพิจารณาการกระทำทางรัฐบาล วิทยานิพนธ์นี้ จึงมุ่งศึกษาพัฒนาการ แนวคิดของทฤษฎีการกระทำทางรัฐบาล ...
  • Thumbnail

    สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน: ศึกษาความเหมาะสมของการใช้ทฤษฎีของ Elinor Ostrom ในประเทศไทย 

    อรทัย อินต๊ะไชยวงค์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล และยั่งยืน ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 จนถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และสิทธิชุมชนได้รับการออกแบบ ตามรัฐธรรมนูญให้มีสภาพบังคับใช้ได้ทันที แต่ในทางปฏิบัติหลักการสิทธิชุมชนในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้รับการตระหนักอย่างแท้จริง
  • Thumbnail

    การจัดตั้งหน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย 

    ภัชณภา จันทร์อาภาส; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    หน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรทางธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อันได้แก่ พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ ในทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้หน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในทางการเงินการจัดการบุคลากรและ การดําเนินงานในลักษณะทํานองเดียวกับรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจของรัฐ ปัจจุบันหน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเท ...
  • Thumbnail

    มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง 

    กัลยาณี ธีระวงศ์ภิญโญ; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

            การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดง 2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองและจัดสวัสดิภาพสัตว์จากการนำมาแสดงของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ 3) ศึกษาสถานภาพของสัตว์ในต่างประเทศกับไทย ทั้งปัญหาการนำสัตว์มาจัดแสดงและปัญหาขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการนำสัตว์มาแสดง  4) วิเคราะห์หลักเกณฑ์การคุ้มครองสัตว์ด้วยระบบการออกใบอนุญาตในการนำสัตว์มาแสดงของต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายไทย ตลอดจนวิเคราะห์หลักเกณฑ์กา ...
  • Thumbnail

    องค์กรหลักที่ใช้อำนาจอธิปไตยในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศตามหลักกฎหมายในและกฎหมายระหว่างประเทศ 

    ป้อมฤดี กุมพันธ์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

            ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทางปรับปรุงกฎหมายเพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย โดยผู้เขียนกำหนดประเด็นศึกษาไว้สี่ประเด็นหลัก ได้แก่ เรื่องใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตให้เป็นผู้ขับรถ ประเด็นระยะเวลาการขับรถและการบันทึกข้อมูลการขับรถ ประเด็นส่วนควบและอุปกรณ์ของรถโดยสารสาธารณะ และประเด็นสัมปทานหน้าที่ความรับผิดของผู้ขับรถ และผู้ประกอบการเดินรถโดยสารสาธารณะ โดยศึกษา วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งของประเทศไทย ได้แก่ ...
  • Thumbnail

    การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน:ศึกษาตามความตกลงทริปส์ 

    ภัทรพร เย็นบุตร; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    Protection of geographical indications requires international law consistent with the principles of sustainable development, i.e. balance between economic, social, and environmental. As the knowledge acquired from the natural resources and environment in the designation of origin belongs to each community. If it is protected only by the domestic law of such designation of origin, community producing products may be abused by other countries that unfairly exploit the reputation of the community's geographical indication in commercial purpose. In ...