Browsing GSL: Dissertations by Title
Now showing items 1-20 of 35
-
กฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีเพศวิถีแบบรักเพศเดียวกัน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
รัฐออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่มนุษย์โดยนำเอาพฤติกรรมทาง เพศมาเป็นหลักการสำคัญ ซึ่งรัฐคำนึงถึงแต่เพียงเรื่องเพศสัมพันธ์ที่สืบพันธุ์ได้ และใช้แนวคิดดังกล่าว เป็นองค์ประกอบหลักในการออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่ประชากร รัฐ ไม่ได้ยึดหลักการและแนวคิดในการรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของมนุษย์โดยคำนึงถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความรัก ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ที่มีเพศสรีระที่ต่างกัน หรือมนุษย์ที่มีเพศ สรีระเดียวกัน การรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของมนุษย์จึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นกับทุกรูปแบบ ของความรัก ... -
กฎหมายเพื่อการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยว: ศึกษากรณีการกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยว
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยว นับเป็นเรื่องใหม่ในการบริหารและพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนในประเทศไทย โดยการก าหนดขอบเขตพื้นที่ กำหนด แผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ กำหนดหน่วยงานหรือองค์กรในการบริหารจัดการ การจัดเก็บรายได้ ตลอดจนการส่งเสริมและอ านวยความสะดวกต่อการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและการ ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยการการกำหนดเขตพัฒนาการ ท่องเที่ยวนี้เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวใหม่เข้าสู่ตลาดปัจจุบัน การบริหาร จัดการและกำกับดูแลการท่องเที่ยว ... -
กฎหมายเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดสำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์และ การใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด การศึกษาโดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ ศึกษา หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดในพื้นที่ชุ่มน้ำ ศึกษา และวิเคราะห์อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และ การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดในพื้นที่ชุ่มน้ำ ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายและแผนการจัดการพื้นที่ ชุ่มน้ำของรัฐ กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำใน ประเทศไทย ... -
กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
ภายใต้ยุทธศาสตร์การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community: AEC) ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นที่ประชาคมอาเซียนจะต้องมีการคุ้มครองและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาค ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและจะมีบทบาทต่อการเสริมสร้างระบบทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน รัฐสมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่เป็นแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นตามที่ปรากฏในพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พ.ศ. 2568 (ASEAN Economic Community Blueprint 2025) และแผนปฏิบัติการทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน ... -
กระบวนการยุติธรรมกับการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
การฟ้องร้องคดีข้อพิพาททางเวชปฏิบัติทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ประกอบเวชปฏิบัติลดน้อยลง เกิดการรักษาพยาบาลแบบป้องกันตนเอง กล่าวคือ มีการการส่งตรวจทางพยาธิวิทยามากขึ้นละเอียดขึ้น ผลที่ตามมาคือค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขที่เพิ่มตามไปด้วย การศึกษากระบวนการยุติธรรมกับการระงับข้อพิพาททางเวชปฏิบัติในประเทศไทย มีการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การศึกษาสาเหตุของความผิดพลาดและการเกิดข้อพิพาททางเวชปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อสร้างความเข้าใจกระบวนการทางการแพทย์อันจะนำไปสู่การศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่จะนำมาใช้ในการระงับข้อพิพาท ... -
การกระทำทางรัฐบาล และปัญหาการตรวจสอบการกระทำทางรัฐบาล
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การใช้อำนาจทางบริหารขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร เป็นอำนาจในการดำเนินการบริหาร ราชการแผ่นดิน การดำเนินการตามภารกิจของรัฐให้สำเร็จลุล่วงอันมีลักษณะเป็นงานทางนโยบาย การกระทำทางรัฐบาลเป็นผลจากการใช้อำนาจทางรัฐบาล ซึ่งเป็นอำนาจอย่างหนึ่งของอำนาจ ทางบริหาร ในปัจจุบันการใช้อำนาจทางบริหารขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารของไทย มีปัญหาการ คำหนดชอบเขตของการกระทำทางรัฐบาส เนื่องจากการขาดความชัดเจนในการให้ความหมายของ การกระทำทางรัฐบาล และไม่มีเกณฑ์ที่แน่ชัดในการพิจารณาการกระทำทางรัฐบาล วิทยานิพนธ์นี้ จึงมุ่งศึกษาพัฒนาการ แนวคิดของทฤษฎีการกระทำทางรัฐบาล ... -
การกำหนดคำบังคับในคดีปกครอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดคำบังคับในคดีปกครอง โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงหลักการและแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีปกครองและ การกำหนดคำบังคับในคดีปกครอง เหตุผล รายละเอียด และขั้นตอนในการกำหนดคำบังคับตาม คำพิพากษาของศาลปกครองไทย ทั้งที่ปรากฏเป็นโครงสร้างของคำบังคับในส่วนรูปแบบและเนื้อหา รวมตลอดถึงปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นจากการปรับใช้หลักกฎหมาย หลักการ ทฤษฎี และ แนวความคิดในการกำหนดคำบังคับในคดีปกครองที่ยังไม่เหมาะสม รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ แนวความคิดในการกำหนดคำบังคับในคดีปกครองในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนด ... -
การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรณีที่มีการย้ายถิ่นที่อยู่ของคนในชุมชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมุ่งเน้นให้ความคุ้มครองสิทธิชุมชนในการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร่วมกันของบุคคลผู้อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นสำคัญ แต่กฎหมายที่ใช้คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันของไทยซึ่งอนุวัติการตามความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า หรือความตกลงทริปส์นั้นมีหลักเกณฑ์ห้ามมิให้ใช้คำว่า “ชนิด” “ประเภท” “แบบ” หรือคำหรือสิ่งทำนองเดียวกันประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เฉพาะสินค้าเพียงสี่ประเภท คือ ข้าว ไหม ไวน์ และสุรา เท่านั้น ทำให้อาจเกิดปัญหาการหลอกล ... -
การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน:ศึกษาตามความตกลงทริปส์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
Protection of geographical indications requires international law consistent with the principles of sustainable development, i.e. balance between economic, social, and environmental. As the knowledge acquired from the natural resources and environment in the designation of origin belongs to each community. If it is protected only by the domestic law of such designation of origin, community producing products may be abused by other countries that unfairly exploit the reputation of the community's geographical indication in commercial purpose. In ... -
การคุ้มครองแรงงานตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานและกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ มาตรฐานแรงงาน ระหว่างประเทศ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และการจัดตั้ง สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาพัฒนากฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความ ปลอดภัยในการทำงานของประเทศไทย ซึ่งดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาจากเอกสาร ได้แก่ หนังสือ บทความ งานวิจัย เอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนบุคคล ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การคุ้มครองแรงงานด้านความปลอดภัยใ ... -
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคม ศึกษาเชิงเปรียบเทียบสหภาพยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประชาคมของสหภาพยุโรป โดยนำมาใช้เป็นแม่แบบเพื่อนำมาปรับใช้กับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้มีระบบการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับและมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มของ ประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและสหภาพยุโรปนั้น ล้วนมุ่งรวมตัวกันเพื่อส่งเสริมพัฒนา เศรษฐกิจ ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพิ่มความมั่งคงในภูมิภาค ดุษฎีนิพนธ์นี้ยังได้ศึกษา เปรียบเทียบระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพิธีสารมาดริดด้วย เพื่อเสนอแนะแนวทาง ในการพัฒนากฎหมายเครื่องหมายการค้า ... -
การจัดตั้งหน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
หน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรทางธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อันได้แก่ พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทําบริการสาธารณะ ในทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้หน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในทางการเงินการจัดการบุคลากรและ การดําเนินงานในลักษณะทํานองเดียวกับรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจของรัฐ ปัจจุบันหน่วยธุรกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเท ... -
การนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการพัฒนากฎหมายบริษัทจำกัดในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
ดุษฎีนิพนธ์นี้ศึกษาวิจัยในเรื่องการนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการพัฒนากฎหมายบริษัทในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัด ที่สอดรับกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับสากล เพราะระบบกฎหมายบริษัทในประเทศไทย ยังไม่เหมือนกฎหมายบริษัทต่างประเทศที่ได้รวมเอาบริษัททุกประเภทไว้ในกฎหมายเดียวกัน อีกทั้งประมวลกฎหมายและพาณิชย์ ในส่วนบริษัทจำกัด ยังมีพัฒนาการที่แตกต่างจากกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัดในประเด็นความสอดรับกับหลักการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งหากได้มีการพัฒนากฎหมายบริษัทจำกัด จะทำให้เป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ประกอบการเพื่ ... -
การลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกับหลักความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
วิทยานิพนธ์นี้ศึกษา การลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยกับหลักความคุ้มครองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวความคิดการลงโทษประหารชีวิตและหลักการ คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่าแท้จริงแล้วการที่รัฐให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะทํา ให้แนวความคิดการลงโทษประหารชีวิตที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์มากน้อยเพียงใด -
บทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่าบทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคลเป็น บทบัญญัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเนื่องจากขัดต่อหลักการสันนิษฐานความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาใน คดีอาญา แต่เหตุใดในบางประเทศใช้บทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาเพื่อเป็นประโยชน์ในการสืบ พยานหลักฐานและไม่ถือว่าขัดต่อหลักการดังกล่าว นอกจากนี้ในทางกฎหมายสารบัญญัติบทบัญญัติ กฎหมายเดิมก่อนมีการยกเลิกบทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคลในประเทศไทย มีความบกพร่องในการบัญญัติถ้อยคำที่เป็นไปตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาว่าด้วย “การ กระทำ” อันควรเป็นเหตุผลประการเดียวของควา ... -
ประเด็นท้าทายเกี่ยวกับคุ้มครองสิทธิบัตรหน่วยพันธุกรรมมนุษย์เพื่อการรักษาโรค
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
การคิดค้นวิธีการตัดต่อยีนโดยระบบ CRISPR Gene Editing สามารถนำมารักษาผู้ป่วยได้หลายโรค และด้วยศักยภาพนี้ได้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ควบคุมองค์ประกอบพื้นฐานของชีวิตได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหน่วยพันธุกรรมมนุษย์ซึ่งให้ผลตอบแทนในทางธุรกิจเป็นจำนวนมาก นับเป็นการเปิดทางไปสู่วิธีการใหม่ ๆ สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ระบบ CRISPR-Cas9 ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรครั้งแรกในปีพ.ศ. 2556 ทำให้เห็นว่ากฎหมายสิทธิบัตรมีความเกี่ยวข้องและมีความสำคัญยิ่งต่อการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์จากยีนมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม การขอรับสิทธิบัตรหน่วยพันธุก ... -
ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
ดุษฎีนิพนธ์นี้ เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ใน 3 ประเด็น คือ สถานะและผู้แทนของวัด ที่ดินวัด และข้อพิพาททางปกครองคณะสงฆ์ ผลที่ได้จากการศึกษามีดังต่อไปนี้ ประเด็นที่หนึ่ง สถานะของวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมากับสำนักสงฆ์ ตามมาตรา 31 วรรคแรก ถือเป็นนิติบุคคลทางกฎหมายมหาชน ตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของการบัญญัติกฎหมายตามที่ได้ปรากฏในรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ทั้งยังเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎีที่สมมติว่านิติบุคคลเป็นบุคคล ... -
ปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิด หลักการในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ได้รับ การยอมรับและถือปฎิบัติในระดับสากล กฎหมายและขั้นตอนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของประเทศไทย กับประเทศสมาชิกอาเซียน 2. ศึกษาแนวคิด หลักการในการใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการให้ความ ร่วมมือระหว่างประเทศในการส่งคนชาติ และคนไร้สัญชาติเป็นผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศสมาชิกอาเซียน 3. ศึกษาแนวคิดในการรวมกลุ่มภูมิภาคอื่นกับกลไกในการให้ความร่วมมือ ระหว่างประเทศสมาชิกในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตลอดทั้งขององค์การสหประชาชาติด้วย 4. วิเคราะห์ เชิงเปรียบเทียบการให้ความ ... -
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ : ศึกษากรณีผลกระทบจากแผนปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ธรรมาภิบาลและการค้าของสหภาพยุโรป
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค ตลอดจนผลกระทบจาก การบังคับใช้แผนปฏิบัติการ EU FLEGT ต่ออุตสาหกรรมไม้และการส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ของประเทศไทย 2. ศึกษากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ แนวคิด และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการ ป่าไม้ และอุตสาหกรรมการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ของไทย 3. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และ หลักการสําคัญของแผนปฏิบัติการ EU FLEGT รวมถึงกระบวนการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การทําไม้ตามข้อตกลง FLEGT VPA ของประเทศอินโดนีเซียในฐานะที่เป็นประเทศแรกในภูมิภาค อาเซียนที่ได้รับใบอนุญาต FLEGT ... -
พหุนิยมทางกฎหมายและการบริหารงานยุติธรรมอิสลามในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาวิจัยการบริหารงานยุติธรรมอิสลามในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารงานยุติธรรมอิสลามที่เหมาะสมในประเทศไทย เนื่องจากแม้ได้มีการ ให้ใช้กฎหมายอิสลามในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน แต่กฎหมายยังขาดความชัดเจนทั้งในด้าน เนื้อหาและการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ การศึกษาได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพร่วมกับการสัมภาษณ์เชิง ลึก โดยได้นำแนวคิดพหุนิยมทางกฎหมายมาเป็นกรอบมองระบบโครงสร้างการบริหารงานยุติธรรม อิสลามในประเทศที่มีพลเมืองส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลาม เพื่อนำมาเปรียบเทียบปรับใช้กับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการใช้กฎหมายอิสลามในลักษ ...