ชื่อเรื่อง:
|
การตัดสินใจเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์
|
ผู้แต่ง:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
|
วันที่เผยแพร่:
|
2019-02-23
|
ข้อมูลอ้างอิง:
|
ผู้จัดการรายวัน 360ํ ฉบับวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ - วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2562
|
หน่วยงานที่เผยแพร่/จัดพิมพ์:
|
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360ํ
|
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:
|
ด้วยความหลากหลายของพรรคการเมืองที่สมัครรับเลือกตั้งทำให้มีนโยบายจำนวนมากถูกนำเสนอต่อประชาชน จึงควรจัดระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ ประสบการณ์กับผลประโยชน์เชิงรูปธรรมจากนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยในอดีตตั้งแต่ปี 2544 ทำให้ผู้เลือกตั้งจำนวนมากได้รับประสบการณ์ในการรับผลประโยชน์ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ซึ่งกลายเป็นค่านิยมให้อีกหลายพรรคปฏิบัติสืบต่อกันจนสามารถชนะการเลือกตั้งได้ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา
ในขณะเดียวกันยังมีผู้เลือกตั้งหน้าใหม่พวกเขาไม่มีความผูกพันกับพรรคการเมืองใดเป็นพิเศษและกำลังมองหาพรรคการเมืองที่สามารถเชื่อมโยงความต้องการและความคาดหวังของพวกเขาในอนาคต
ผู้เขียนยังกล่าวว่า การตัดสินใจเลือกตั้งถูกครอบงำด้วยความเชื่อ ความรู้สึก และบรรทัดฐานของสังคมมากกว่าเหตุผลที่เกิดจากปัญญาเชิงปฏิบัติทำให้นักการเมืองและพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งเป็นกลุ่มหรือพรรคที่มีความสามารถในการสร้างภาพลักษณ์ ความเชื่อ ความเพ้อฝันอย่างมีประสิทธิภาพในการชี้นำการเลือกตั้ง ดังนั้น สิ่งสำคัญของการพัฒนาให้เป็นคนที่ตื่นรู้ในระบอบประชาธิปไตยคือการที่ผู้เลือกตั้งสามารถพัฒนาความสามารถและทักษะในการคิดและวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลความจริงและเหตุผลในการตัดสินใจเลือกตั้ง ระวังอย่าใช้ความรู้สึกมาบดบังสติปัญญาและเหตุผลของเราเพื่่อให้เกิดการเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์
|
หัวเรื่องควบคุม:
|
การเลือกตั้ง
|
ความยาว:
|
3
|
ประเภททรัพยากร:
|
Text
|
รูปแบบแฟ้มข้อมูล:
|
application/pdf
|
ภาษา:
|
tha
|
ผู้ครอบครองสิทธิ์:
|
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360ํ
|
URI:
|
http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4315
|