แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล กรณีศึกษา จังหวัดภูเก็ต
Files
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
261 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b189632
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กิรฐากร บุญรอด (2014). แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล กรณีศึกษา จังหวัดภูเก็ต. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4330.
Title
แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล กรณีศึกษา จังหวัดภูเก็ต
Alternative Title(s)
The method to prepare for impact of climate change in coastal tourism industry : a case study of Phuket Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการมาเที่ยวจังหวัดภูเก็ตและแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต (2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต (3) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต และ (4) เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยจานวนนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จานวนทั้งหมด 800 คนโดยแยกเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 400 คน นักท่องเที่ยวต่างชาติ 400 คน และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต โดยเลือกธุรกิจจากการจดทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จานวน 30 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสาหรับนักท่องเที่ยว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งมีโครงสร้างสาหรับผู้ประกอบการ ประมวลผลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านฝนตกผิดฤดูกาล ด้านอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้น ด้านปะการังฟอกขาว และการกัดเซาะชายฝั่งทะเลส่งผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งทดสอบสมมติฐานพบว่า พบว่า ผลกระทบจาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ผลการศึกษาระดับการรับรู้และตระหนักของผู้ประกอบการโดยรวมอยู่ในระดับ น้อย
แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลจะส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ส่วน คือ 1) ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2) หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้าง นโยบาย กลยุทธ์ แผนแม่บท และการสนับสนุนต่างๆ เป็นต้น
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยจานวนนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จานวนทั้งหมด 800 คนโดยแยกเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 400 คน นักท่องเที่ยวต่างชาติ 400 คน และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต โดยเลือกธุรกิจจากการจดทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จานวน 30 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสาหรับนักท่องเที่ยว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งมีโครงสร้างสาหรับผู้ประกอบการ ประมวลผลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านฝนตกผิดฤดูกาล ด้านอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้น ด้านปะการังฟอกขาว และการกัดเซาะชายฝั่งทะเลส่งผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งทดสอบสมมติฐานพบว่า พบว่า ผลกระทบจาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ผลการศึกษาระดับการรับรู้และตระหนักของผู้ประกอบการโดยรวมอยู่ในระดับ น้อย
แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลจะส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ส่วน คือ 1) ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2) หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้าง นโยบาย กลยุทธ์ แผนแม่บท และการสนับสนุนต่างๆ เป็นต้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557