• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล กรณีศึกษา จังหวัดภูเก็ต

by กิรฐากร บุญรอด

ชื่อเรื่อง:

แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล กรณีศึกษา จังหวัดภูเก็ต

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

The method to prepare for impact of climate change in coastal tourism industry : a case study of Phuket Province

ผู้แต่ง:

กิรฐากร บุญรอด

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

กนกกานต์ แก้วนุช

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

คณะ/หน่วยงาน:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2557

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการมาเที่ยวจังหวัดภูเก็ตและแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต (2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต (3) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต และ (4) เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ต
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยจานวนนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จานวนทั้งหมด 800 คนโดยแยกเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 400 คน นักท่องเที่ยวต่างชาติ 400 คน และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต โดยเลือกธุรกิจจากการจดทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จานวน 30 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสาหรับนักท่องเที่ยว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งมีโครงสร้างสาหรับผู้ประกอบการ ประมวลผลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านฝนตกผิดฤดูกาล ด้านอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้น ด้านปะการังฟอกขาว และการกัดเซาะชายฝั่งทะเลส่งผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ซึ่งทดสอบสมมติฐานพบว่า พบว่า ผลกระทบจาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ผลการศึกษาระดับการรับรู้และตระหนักของผู้ประกอบการโดยรวมอยู่ในระดับ น้อย
แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลจะส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ส่วน คือ 1) ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2) หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้าง นโยบาย กลยุทธ์ แผนแม่บท และการสนับสนุนต่างๆ เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ -- ไทย -- ภูเก็ต
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ -- ไทย -- ภูเก็ต
การท่องเที่ยว -- ภูเก็ต
นักท่องเที่ยว

คำสำคัญ:

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

261 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4330
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b189632.pdf ( 8,071.59 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [119]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×