การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนฐานะทางเศรษฐกิจในประเทศไทย
by วรชิต รุ่งพรหมประทาน
Title: | การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนฐานะทางเศรษฐกิจในประเทศไทย |
Other title(s): | Determinants of economic mobility in Thailand |
Author(s): | วรชิต รุ่งพรหมประทาน |
Advisor: | นิรมล อริยอาภากมล |
Degree name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยเชิงประจักษ์นี้พิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้ ใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ลพบุรี บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ โดยใช้รายได้และรายจ่ายครัวเรือนที่แท้จริงที่ปรับด้วยค่าปรับขนาด (OECD equivalence scale) เป็นตัวชี้วัดฐานะของครัวเรือน งานศึกษานี้ใช้ฐานข้อมูลระดับครัวเรือนแบบตัวอย่างซ้ำเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และสังคม (Townsend Thai Data) จากสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) การศึกษานี้ ได้ทำการศึกษาเขตเมืองและชนบทแยกจากกัน และแบ่งระยะเวลาในการศึกษาเป็นช่วงสั้น 2 ช่วง และช่วงยาว 1 ช่วงเวลา ผู้วิจัยได้คำนวณ Transition Probability Metrix เพื่อแสดงโอกาสในการปรับเปลี่ยนฐานะ และใช้แบบจำลองการถดถอยแบบพหุเชิงซ้อนในการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงฐานะของครัวเรือน
ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนฐานะค่อนข้างดี ซึ่งในเขตชนบทจะมีการปรับเปลี่ยนฐานะดีกว่าในเขตเมือง อีกทั้งการปรับเปลี่ยนฐานะทางด้านรายจ่ายมากกว่าด้านรายได้ นอกจากนี้ ยังพบปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้ของครัวเรือนให้ดีขึ้น เช่น จำนวนปีการศึกษาของสมาชิกในครัวเรือนผู้ที่มีงานทำ การทำงานนอกภาคการเกษตร จำนวนที่ดินที่ทำการเกษตร ส่วนปัจจัยที่ทำให้รายได้ลดลง เช่น สัดส่วนผู้สูงอายุและสัดส่วนเด็ก เป็นการชี้ให้เห็นว่าครัวเรือนที่มีภาวะการพึ่งพิงที่สูงจะทำให้ครัวเรือนมีรายได้ลดลง ดังนั้นหากเป็นครัวเรือนใหญ่ที่มีเด็กและผู้สูงอายุมากก็จะทำให้ครัวเรือนนั้นมีรายได้ที่ลดลงมาก และสำหรับปัจจัยอื่น ๆ ของหัวหน้าครัวเรือนนั้นแทบจะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้ของครัวเรือน ได้แก่ การที่รัฐบาลเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับสมาชิกครัวเรือนที่อยู่ในวัยเด็กให้เข้าถึงบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพของรัฐโดยเฉพาะครัวเรือนที่ยากจน เพื่อเป็นการสะสมทุนมนุษย์ของแรงงานครัวเรือนในอนาคต ประการต่อมาคือ แม้ผู้สูงอายุจะเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว แต่บางคนยังสามารถทำงานได้ ดังนั้น จึงควรให้สนับสนุนผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยส่งเสริมนโยบายขยายอายุเกษียณ และจัดให้มีการทำงานหลังเกษียณที่เหมาะสม นอกจากนี้ ภาครัฐควรสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรมาช่วยเพิ่มผลิตภาพภาคการผลิต (productivity) ที่เพิ่มสูงขึ้น และให้มีขนาดที่ดินที่เหมาะสมกับการผลิตเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) อีกทั้งภาครัฐควรสนับสนุนการกู้ยืมเงิน รวมถึงการเข้าถึงสถาบันทางการเงินในเขตชนบท เนื่องจากในเขตชนบทมีต้นทุนในการเข้าถึงสถาบันทางการเงินแบบทางการดังนั้นภาครัฐควรมีมาตรการรองรับทางด้านธุรกรรมทางด้านการกู้ยืมเงินให้ครัวเรือนในเขตชนบทเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และประการสุดท้ายภาครัฐควรสนับสนุนการทำงานนอกภาคการเกษตร ทั้งนี้อาจพัฒนาในแต่ละพื้นที่ให้มีความเหมาะสม เช่น การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม มาตรการในการช่วยเหลือหมู่บ้านให้มีสินค้า OTOP และมีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีคุณภาพ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ |
Keyword(s): | รายได้ปรับขนาด
ค่าปรับขนาด การปรับเปลี่ยนฐานะทางรายได้ e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 150 แผ่น |
Type: | Thesis |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4381 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b204521e.pdf ( 6,351.78 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|