มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการศึกษาไทยชั้นอุดมศึกษา
by เอกสิทธิ์ โพธิ์ชูชาติ
Title: | มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการศึกษาไทยชั้นอุดมศึกษา |
Other title(s): | The economic value of higher education in Thailand |
Author(s): | เอกสิทธิ์ โพธิ์ชูชาติ |
Advisor: | สุจิตรา ชำนิวิกย์กรณ์ |
Degree name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
Degree department: | คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การลงทุนในการศึกษาเป็นการลงทุนในทุนมนุษย์ที่สำคัญ ที่ทำให้มนุษย์อยู่ในฐานะแรงงานที่มีผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งจะนำไปสู่การมีงานทำและเงินได้ที่สูงขึ้น ในปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาไทยผลิตทุนมนุษย์ระดับสูง อย่างมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษามีการเปิดหลักสูตรจำนวนมากประกอบกับค่านิยมการเลือกเรียนของนักเรียนและความคาดหวังของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป ทางเลือกของอาชีพและเงินได้ที่สูงในอนาคตจึงเป็นเหตุผลที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในแต่ละสาขาวิชา งานศึกษานี้เป็นการศึกษามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการศึกษาไทยชั้นอุดมศึกษา ในรูปประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่เป็นตัวเงิน จากการลงทุนในการศึกษาชั้นปริญญาตรี คือ ค่าจ้างหรือเงินได้เมื่อสำเร็จการศึกษา ในรูปของเงินได้ตลอดช่วงชีวิตและผลตอบแทนในการลงทุนในการศึกษาของแต่ละกลุ่มสาขาวิชา รวมทั้งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเงินได้ที่นักศึกษาคาดหวังเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยอาศัยแนวคิดทุนมนุษย์
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 3 กลุ่มสาขาวิชา ประกอบด้วย กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งสิ้น 3,051 คน ประกอบด้วย นักศึกษา 1,553 คน บัณฑิต 1,498 คน พบว่า นักศึกษาแต่ละกลุ่มสาขาวิชาคาดหวังเงินได้แตกต่างกัน มากที่สุดคือกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ รองลงมาคือ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตามลำดับ นอกจากนี้นักศึกษาที่บิดามีเงินได้สูงจะคาดหวังเงินได้สูง เนื่องจากฐานะทางครอบครัวเป็นสิ่งกระตุ้นให้บุตรอยากศึกษาต่อสูง ๆ ประกอบอาชีพที่ดีและได้รับเงินเดือนสูง ในทำนองเดียวกันนักศึกษาที่มารดาสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจะคาดหวังเงินได้สูง เนื่องจากมารดาซึ่งเป็นต้นแบบที่ดีและสนับสนุนให้บุตรได้รับการศึกษาเพื่อสร้างเงินได้ในอนาคต และนักศึกษาชายคาดหวังเงินได้มากกว่านักศึกษาหญิง เมื่อพิจารณาการประมาณการเงินได้ตลอดชีวิต ในรูปเส้นอายุ-เงินได้ (Age-Earning Profile, AEP) และมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value, NPV) และอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return, IRR) ของบัณฑิต พบว่า มากที่สุดคือกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (AEP 28,994,213 บาท, NPV 3,383,182 บาท และ IRR ร้อยละ 17.24 ) รองลงมาคือ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (AEP 17,615,437 บาท, NPV 2,449,125 บาท และ IRR ร้อยละ 17.21) และกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ (AEP 7,528,562 บาท , NPV 988,201 บาท และ IRR 13.85) ตามลำดับ ซึ่งเส้นอายุเงินได้ของกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพแตกต่างจากแนวคิดของ Jacob Mincer ที่กล่าวไว้ว่าแรงงานมีประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดและอายุมากขึ้นประสิทธิภาพการผลิตจะลดน้อยถอยลง แต่ในกลุ่มนี้เส้นมีลักษณะเป็นเส้นโค้งเว้า (Convex) กล่าวคือประสบการณ์ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้นด้วย การพัฒนาทักษะในการทำงานของกลุ่มสาขาวิชานี้ถือเป็นการฝึกฝนขณะปฏิบัติงาน (On the Job Training) ซึ่งเพิ่มผลิตภาพการผลิตได้ เห็นได้จากเงินได้ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากและไม่มีการลดน้อยถอยลงของเงินได้ เมื่อเปรียบเทียบการประมาณการเงินได้ที่นักศึกษาคาดหวังและเงินได้ที่บัณฑิตได้รับพบว่า นักศึกษาคาดหวังเงินได้มากกว่าเงินได้ที่บัณฑิตได้รับ โดย กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มากกว่าเดือนละ 8,203 บาท รองลงมาคือ กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มากกว่า 5,081 บาท และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มากกว่า 2,611 บาท |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
ทุนมนุษย์ การศึกษา -- ไทย |
Keyword(s): | e-Thesis
มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 119 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4386 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|