• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง

by ภาวิณี จิตต์ศรัทธา

Title:

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง

Other title(s):

Land use change and risk assessment in peat swarmp forests : Kuankisian and Kuankreng

Author(s):

ภาวิณี จิตต์ศรัทธา

Advisor:

ฆริกา คันธา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าพรุควนขี้เสียนและป่าพรุควนเคร็ง ในช่วงปี พ.ศ.2552 และปี พ.ศ.2559 ศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และศึกษามาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน รวมถึงเสนอแนวทางในการจัดการพื้นที่ศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งทุติยภูมิและปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ศึกษานั้นมีพื้นที่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และพื้นที่เกษตรกรรม เพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนพื้นที่นา พื้นที่ป่าพรุ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ลดลงมากที่สุดตามลำดับ โดยพื้นที่ที่ลดลงเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปาล์มน้ำมันและเกษตรกรรมมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าการปลูกปาล์มน้ำมันนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา การศึกษาระดับความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบปัจจัยที่สำคัญ 9 ปัจจัย โดยปัจจัยเส้นทางคมนาคม รายได้จากการปลูกปาล์มน้ำมัน และกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดิน มีความสำคัญสูงสุดตามลำดับ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับสูงส่วนใหญ่อยู่ในตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติมากที่สุด รองลงมาอยู่ในตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ และตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด ตามลำดับ ปัจจุบันมาตรการที่มีการบังคับใช้ในพื้นที่ ได้แก่ การขุดคูรอบพื้นที่ป่าพรุ  การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ  การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์  และการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย การศึกษาได้เสนอแนวทางเบื้องต้นในการจัดการพื้นที่ศึกษาที่มีระดับความเสี่ยงสูง ได้แก่ การเร่งพิสูจน์สิทธิ์และจัดการเรื่องเอกสารสิทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มาตรการควบคุมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างเคร่งครัด มาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่ การปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมถึงควรควบคุมและป้องกันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ใกล้พื้นที่ป่าพรุ สำหรับแนวทางสำคัญในพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงต่ำและปานกลาง ได้แก่ การส่งเสริมให้ประชาชนอยู่ร่วมกับพื้นที่อย่างยั่งยืน เช่น การสร้างอาชีพ เป็นต้น ปลูกฝังจิตสำนึก/รณรงค์/ให้ความรู้ และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
This study aimed to; study land use changes between year 2009 and 2016 and risk of its in Kuankisian and Kuankreng peat swamp forests; study current land use measures; and propose management guidelines of the study area. Both secondary and primary data were collected by literature review, semi structured interview of related stakeholders and spatial analysis. The study presented that the most increased land use were palm oil, rubber and agricultural area, respectively. In contrast, the most decreased land use were rice paddy, peat swamp forests and miscellaneous area, respectively. Most of decreased land use were converted to oil palm and agriculture areas. Therefore, the oil palm cultivation is an important factor for land use changes. There were 9 major factors effected the land use change in these peat swamp forests. From the study, three top prioritized factors were roads, palm oil income and land ownership, respectively. Areas with high risk of land use change were in Suan Luand Sub-district, Choloemprokiat District; Mae Chaoyuhua Sub-district, Chian Yai District; and Kreng Sub-district, Cha Uat District, respectively. Presently, operating measures are canals around peat swamp forests, quality control patrol and legal enforcement measures. The study provided initial guidelines for the management in high risk areas such as pushforward measures of land accreditation, strict monitoring of oil palm cultivation, roundtable on sustainable plam oil, environmental impact study prior to any operation in the area and legal amendment to preserve peat swamp forests, including regulation improvement for construction in study area. In low and medium risk of land use change, key recommended guidelines include promotion of people living in sustainable way, such as job creation, awareness/knowledge building for related communities and stakeholders, and biodiversity restoration.

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Keyword(s):

การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
พื้นที่เสี่ยง
ป่าพรุ
ป่าพรุควนขี้เสียน
ป่าพรุควนเคร็ง

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

157 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4390
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b204518.pdf ( 7,905.33 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [91]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×