การวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดปทุมธานี
by ศศิธร ศรีสุรักษ์
Title: | การวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดปทุมธานี |
Other title(s): | An analysis of an implementation according to sustainable development goals 12 target 12.5 under Thailand's context : a case study of Pathum Thani |
Author(s): | ศศิธร ศรีสุรักษ์ |
Advisor: | จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย รวมทั้งการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานีที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย รวมทั้งการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs ตามนโยบายและแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยได้ประยุกต์หลักการของดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ซึ่งมีการพิจารณาประเด็นหลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านประสิทธิผล ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการบริหารจัดการ และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ประกอบกับการวิเคราะห์จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (SWOT Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ในด้านประสิทธิผล การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 และการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs ของประเทศไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัดประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง จากข้อมูลขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ในภาพรวมของประเทศที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการพัฒนาและขยายผล
ให้ครอบคลุมการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ให้มากขึ้นในด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เทคนิคการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐเป็นการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในลักษณะการประชุมหารือร่วมกันผ่านผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของภาครัฐ ซึ่งมีความครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบางพื้นที่หรือบางชุมชนเท่านั้น สำหรับภาคเอกชนที่มีการดำเนินโครงการคัดแยกขยะที่ต้นทางเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการของภาครัฐโดยตรง แต่เป็นการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหารและได้รับความร่วมมือจากพนักงานเป็นอย่างดี เนื่องจากมีมาตรการในการควบคุมกำกับที่ดี ในด้านการบริหารจัดการ ประเทศไทยมีนโยบายบริหารจัดการขยะที่วางอยู่บนแนวคิด 3R นำไปสู่โครงการส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในระดับจังหวัดและท้องถิ่น โดยจังหวัดปทุมธานีให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางมีการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะ รวมทั้งโครงการส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชน ส่วนราชการ และสถานศึกษา ในด้านการเรียนรู้และการพัฒนา พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานในระดับจังหวัดหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งในชุมชนมีการเรียนรู้และพัฒนาในการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs แต่การเรียนรู้ไม่ได้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทางตั้งแต่ครัวเรือน ส่งผลให้ในภาพรวมของประเทศยังไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs เท่าที่ควร ซึ่งปัจจัยภายในที่สนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และมีการให้แก่ความรู้ประชาชนและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ปัจจัยภายนอก คือ การมีกฎหมายหรือกฎระเบียบที่บังคับใช้โดยตรง และการรายงานผลการดำเนินงานต่อองค์การสหประชาชาติส่งผลให้มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ภาครัฐควรกำหนดให้มีกฎหมายหรือกฎระเบียบบังคับใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs โดยตรง และต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน รวมทั้งควรพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะให้เป็นมาตฐานเดียวกันทั้งประเทศ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลในส่วนของภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการควรมีการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโดยลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นหรือบรรจุภัณฑ์ที่กำจัดยาก รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้บริโภคลดการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ยากผ่านมาตรการทางธุรกิจต่าง ๆ และประชาชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคและสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะที่ต้นทางตั้งแต่ระดับครัวเรือนเพื่อขยายผลสู่ระดับประเทศต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | การพัฒนาที่ยั่งยืน
ขยะ -- การจัดการ ขยะ -- การนำกลับมาใช้ใหม่ |
Keyword(s): | การจัดการขยะ
e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 267 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4392 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b204520.pdf ( 6,327.37 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|