• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การศึกษาพฤติกรรมของนักวิ่งระยะไกลกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา: กรณีศึกษาประเทศไทย

by พงศกร เตียรถ์วัฒนานนท์

ชื่อเรื่อง:

การศึกษาพฤติกรรมของนักวิ่งระยะไกลกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา: กรณีศึกษาประเทศไทย

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

A study of the long-distance runner behaviour and sport tourism development: Thailand case study

ผู้แต่ง:

พงศกร เตียรถ์วัฒนานนท์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

สุวารี นามวงค์

ชื่อปริญญา:

การจัดการมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ

คณะ/หน่วยงาน:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2561

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งเน้นที่จะทำการศึกษาเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมของนักวิ่งระยะไกลกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา: กรณีศึกษาประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยผลักดันที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเข้าร่วมงานวิ่งระยะไกล เพื่อศึกษาถึงปัจจัยดึงดูดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเข้าร่วมงานวิ่งระยะไกล และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักวิ่งระยะไกลที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการเข้าร่วมงานวิ่ง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างคือนักวิ่งที่เคยเข้าร่วมงานวิ่งระยะทางขั้นต่ำ 10.5 กิโลเมตรขึ้นไปอย่างน้อย 1 ครั้ง และเป็นงานวิ่งที่จัดขึ้นในประเทศไทย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุในการวิเคราะห์ข้อมูล           ผลการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า ปัจจัยผลักดันด้านโอกาสช่วยเหลือสังคม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อความพึงพอใจในการร่วมงานวิ่ง รองลงมาคือความสนุกสนานเพลิดเพลิน การหลีกหนี ความสำเร็จ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สำหรับปัจจัยดึงดูดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการร่วมงานวิ่งมากที่สุด คือ ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิ่ง รองลงมาคือบรรยากาศ ส่วนความพึงพอใจในการร่วมงานวิ่งเอง ก็ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการร่วมงานวิ่ง นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังมีประโยชน์เชิงวิชาการในการช่วยเติมเต็มช่องว่างทางการศึกษาเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวเชิงกีฬาในฝั่งอุปสงค์ (Demand) เรื่องของแรงจูงใจในการร่วมงานวิ่งต่อความพึงพอใจในการร่วมงานวิ่งและความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการร่วมงานวิ่ง สำหรับประโยชน์เชิงปฏิบัติการคือ ผู้จัดงานวิ่งสามารถนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการดึงดูดนักวิ่งให้มาเข้าร่วมงานวิ่งเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาการจัดงานวิ่งระยะไกลให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักวิ่ง เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและการกลับมาร่วมงานวิ่งอีกครั้งในอนาคต
          This thesis emphasis to study about the long-distance runner behaviour and sport tourism development: Thailand case study which has objective 1) to study push factors that influencing runner satisfaction, 2) to study pull factors that influencing runner satisfaction, 3) to study runner satisfaction that influencing behavioral intention. Moreover, this research used quantitative approach which collecting data from 400 samples by survey questionnaire. The samples are runners who have ever competed more than 10.5 kilometers in running event at least 1 time. The events were held in Thailand. Data analysis was used by multiple regression analysis.           The result revealed that, firstly, the push factors positively influence runner satisfaction which the most influence factors was charity, enjoyment, escape, achievement and social respectively. Secondly, the pull factors positively influence runner satisfaction which the most influence factors was event information and atmosphere. Thirdly, the runner satisfaction positively influence behavioral intention. Furthermore, the contribution of this research was including filling the academic gap of sport tourism in demand side about motivation influence runner satisfaction and behavioral intention. Another was the managerial contribution by event organizers can adapt their practice to increase numbers of participants and develop running events following runners’ need for runner satisfaction and behavioral intention.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การท่องเที่ยวเชิงกีฬา

คำสำคัญ:

e-Thesis
แรงจูงใจในการร่วมงานวิ่ง
งานวิ่งระยะไกล

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

197 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4399
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b204763.pdf ( 3,874.70 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [119]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×