Now showing items 62-81 of 217

  • Thumbnail

    คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 

    ชีวธันย์ เมธีธนาภิวัฒน์; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2550) กำหนดให้ต้องมีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยระบุให้มีการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร หลังการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ แต่จนบัดนี้ยังมิได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และยังมิได้มีการศึกษาถึงโครงสร้างตลอดจนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมแต่อย่างใด ...
  • Thumbnail

    ความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศ 

    สุริศา นิยมรัตน์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของสังคมไทยในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นความผิด เกี่ยวกับเพศที่เกิดขึ้นง่ายที่สุดในสังคม ทั้งยังเพิ่มจํานวนและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความ เข้าใจที่คนทั่วไปในสังคมมีต่อการคุกคามทางเพศยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดบ้างที่สามารถ เรียกได้ว่าเป็นการคุกคามทางเพศ ตลอดจนการที่กฎหมายปัจจุบันที่ยังไม่ตอบสนองต่อการป้องกันและ ปราบปรามการคุกคามทางเพศ ปัญหานี้จึงยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควร ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมาย รูปแบบ ลักษณะของพฤติกรรมในการคุกคามทางเพศ รวมทั้ง ผลกระทบของปัญห ...
  • Thumbnail

    ความรับผิดของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้ BitTorrent Protocol 

    เสสินา นิ่มสุวรรณ์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงความรับผิดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการ ใช้ BitTorrent Protocol มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขอบเขตการให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศสวีเดน พร้อมทั้ง เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดความรับผิดของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ ผ่านการใช้งาน BitTorrent Protocol จากการศึกษาพบว่า ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 สามารถกำหนดความรับผิด ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้ BitTorrent Protocol ...
  • Thumbnail

    ความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษ 

    พันธรัตน์ ศรีสุวรรณ; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษว่าลักษณะของการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยเป็นพิเศษนั้นมีลักษณะอย่างไร รัฐควรมีหลักเกณฑ์ความรับผิดของรัฐในเรื่องของค่าตอบแทน หรือการเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษเป็นอย่างไร โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทำงในการพัฒนาแนวความคิดว่าด้วยความรับผิดของรัฐต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยพิเศษในระบบกฎหมาย อันมีนัยสำคัญอันจะนำไปสู่การพัฒนาหลักเกณฑ์ความรับผิดของรัฐที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ...
  • Thumbnail

    ความรับผิดชอบของผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ: ศึกษากรณีการล่าช้า 

    ลดารัตน์ โชติรัตน์; เกียรติพร อำไพ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ โดยศึกษาเนื้อหาภายใต้กฎหมายการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ  ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมา แนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ  และวิวัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเกิดจากการล่าช้าในการรับขน เนื่องจากการล่าช้าในการรับขนหรือขนส่งทางอากาศ   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดขอบเขตความหมายหรือคำนิยามของคำว่าการล่าช้า รวมถึงผลดีและผลเสียจากการไม่มีคำนิยามของคำว่าการล่าช้าในการรับขนทางอากาศ ...
  • Thumbnail

    ความรับผิดทางกฎหมายของผู้อำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ 

    นภภัสสร สอนคม; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    งานวิจัยฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาค้นคว้าเฉพาะเรื่องความรับผิดทางกฎหมายของผู้อำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ในความเสียหายอันเกิดจากการปฏิบัติงาน เชื่อมโยงกับการรับรองมาตรฐานและคุณภาพของธุรกิจเพราะเป็นหลักการที่นำมาสู่การกำหนดขอบเขตความรับผิดทางกฎหมายของผู้อำนวยความสะดวกฯ อย่างสมเหตุสมผล ประกอบกับหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการควบคุมและกำกับดูแล โดยศึกษาบทกฎหมายไทยที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันประกอบกับแนวทางการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และประเทศอิสราเอล เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดการคุ้มค ...
  • Thumbnail

    ความรับผิดทางอาญาของเจ้าของพื้นที่ที่อนุญาตให้มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์บนเว็บไซต์กรณีให้เช่าพื้นที่ 

    นัฐฐาย์ รัตนกิจยนต์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    ในปัจจุบันนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างหนึ่ง คือ การละเมิดลิขสิทธิ์ในสินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ต่อระบบเศรษฐกิจ ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์นั้นสูญเสียรายได้และความเชื่อมั่นในการผลิตผลงานต่อไป ซึ่งในสังคมไทยของเรานั้นจะเห็นได้ว่ามีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ในที่ต่างบนเว็บไซต์จนเป็นความเคยชิน ซึ่งทำให้เกิดการศึกษาเรื่อง ความรับผิดทางอาญาของเจ้าของพื้นที่ที่อนุญาตให้มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์บนเว็บไซต์กรณีให้เช่าพื้นที่ ขึ้นโดยมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงความจำเป็นที่จะกำหนดความรับผิดของเจ้า ...
  • Thumbnail

    ความรับผิดทางแพ่งของอีมาร์เก็ตเพลสกรณีการจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า 

    ธีราภา ฉิมวัย; กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    ในปัจจุบันมีการนำสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้ามาจำหน่ายบนอีมาร์เก็ตเพลสอย่างแพร่หลายสร้างความเสียหายแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นอย่างมาก ในพฤติการณ์นี้อีมาร์เก็ตเพลส ไม่ได้เป็นผู้ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้าโดยตรง เป็นแต่เพียงผู้ที่อนุญาตให้ผู้ขายนำสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้ามาจัดแสดงบนพื้นที่ออนไลน์ของตนเท่านั้นหรือที่เรียกว่าเป็นผู้ละเมิดลำดับรอง ผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถเยียวยาความเสียหายได้โดยเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งได้แก่การฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของอีมาร์เก็ตเพลสที่แม้จะไม่ได้ ...
  • Thumbnail

    ความรับผิดอาญาในการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยเจตนา 

    ณัฏฐนันท์ อาจวารินทร์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    วิทยานิพนธ์เรื่อง ความรับผิดอาญาในการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยเจตนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวคิดและนำเสนอความสำคัญของการกำหนดความรับผิดอาญาในการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยเจตนา ไม่รวมถึงการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยประมาท และไม่รวมถึงความรับผิดทางแพ่งหรือมาตรการทางกฎหมายอื่น ๆ ในการควบคุมการแพร่เชื้อเอชไอวี โดยศึกษาจากกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อกำหนดความรับผิดอาญาในการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยเจตนา เหมือนเช่นในต่างประเทศที่ระบุเป็นความผิดโดยตรงและไม่ได้บัญญัติไว้เป็นฐานความผิดในประมวลกฎหมายอาญา หรือไม่เคย ...
  • Thumbnail

    ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาและการตกทอดทรัพย์สินของพระภิกษุ 

    จตุรนต์ ชุ่มชุมภู; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาจะต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับใน ขณะนั้นซึ่งประมวลกฎหมายที่บัญญัติให้บังคับใช้ในปัจจุบันนั้นคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นเมื่อสมรสถูกต้องตามกฎหมายและถ้าหากภายหลังสามีอุปสมบทเป็นพระภิกษุความสัมพันธ์ทาง ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ยังคงมีผลบังคับใช้เนื่องจากว่ากฎหมายมิได้บัญญัติให้การสมรสเป็นอัน สิ้นสุดเพราะสามีอุปสมบทจึงมีประเด็นเรื่องการตกทอดทรัพย์สินของพระภิกษุตามมาตรา 1623 โดย วางหลักไว้ว่าทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างอุปสมบทเมื่อภายหลังท่านมรณภาพให้ทรัพย์สินตก เป็นสมบัติของวัดท ...
  • Thumbnail

    ความหมายและขอบเขตเรื่องความไม่สามารถรู้ผิดชอบและความไม่สามารถบังคับตนเองได้ ตามกฎหมายอาญา ศึกษากรณีของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต 

    กิตติยา ชลอเดช; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    จากการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ควบคู่ไปกับอาชญากรรมที่มีสาเหตุ มาจากความผิดปกติทางจิตของผู้กระทำความผิดที่มีมากขึ้นทุกปีจึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุง บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 65 ในเรื่องการใช้ถ้อยคำที่เรียกผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต เนื่องจาก บาง ถ้อยคำที่ใช้เรียกผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 นั้นมิใช่คำศัพท์ที่ใช้ กันในทางการแพทย์แต่อย่างใดเหล่านักกฎหมาย นักอาชญาวิทยา และนักจิตแพทย์จึงต้องพยายาม ตีความหมายโดยอาศัยความรู้ความชำนา ...
  • Thumbnail

    ความเป็นธรรมของการเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา 

    ระชานันท์ เฉลิมกิจ; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา คือ กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงก่อนการพิจารณา คดี ซึ่งคู่ความแต่ละฝ่ายจะได้ล่วงรู้ถึงพยานหลักฐานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งประสงค์จะอ้างอิงเป็น พยานหลักฐานของตน การเปิดเผยพยานหลักฐานก่อนการพิจารณาคดีอาญา จึงเป็นกระบวนการหนึ่ง ของวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพัฒนาแนวความคิดพื้นฐานจากหลักการของกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาที่สําคัญ เป็นการยืนยันถึงหลักประกันแก่ผู้ต้องหาหรือจําเลยในการได้รับการพิจารณาคดี อย่างเป็นธรรม (Fair Trial) ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) การดําเนินคดีอาญาเป็นไปตามหลักการ ดําเนินคดีอาญาโดยรัฐ (State ...
  • Thumbnail

    ความเหมาะสมของการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางปกครองในศาลปกครอง 

    อมรรัตน์ อำมาตเสนา; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองในศาลปกครอง และศึกษาว่าการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ระงับข้อพิพาทในคดีปกครองนั้นเหมาะสมหรือไม่หากนำมาใช้ควรจะมีขอบเขต หลักเกณฑ์และกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทในคดีปกครองในศาลปกครองอย่างไร ทั้งนี้การกำหนดหลักเกณฑ์หรือกระบวนการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองนั้นดำเนินไปโดยถูกต้อง เหมาะสม รักษาไว้ซึ่งหลักการในทางกฎหมายมหาชน อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในคดีปกครองและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะของประชาชนแ ...
  • Thumbnail

    ความไม่เสมอภาคในการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติ การจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... 

    ฉัตรชัย เอมราช; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... ได้รับการยกร่างขึ้นเพื่อรับรองความเสมอภาคกับครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงให้แก่ครอบครัวของของคนข้ามเพศในรูปแบบของการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิต แต่อย่างไรก็ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังมีข้อบกพร่องบางประการที่อาจก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคขึ้นได้ เป็นเหตุให้ต้องมีการศึกษาถึงความเป็นมาและแนวคิดของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อทราบถึงผลกระทบต่อครอบครัวของคนข้ามเพศในประเด็นความเสมอภาคกับสิทธิหนำที่อันครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตลอดจนเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของร่างพระราชบ ...
  • Thumbnail

    งานแปลงรูป (Transformative Works)  

    ชมพูนุช ศิริสวัสดิ์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    งานแปลงรูป (Transformative Works) เป็นหลักการที่ถูกนำมาใช้ในการตัดสินคดีลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา แยกต่างหากจากงานดัดแปลง (Derivative Works) ซึ่งก่อให้เกิดการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เป็นการสร้างพื้นที่ให้แก่ผู้สร้างสรรค์ในการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ไปดัดแปลงต่อยอดเป็นงานสร้างสรรค์ใหม่ได้ โดยต่อยอดมาจากงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์อยู่เดิม (Copyrighted Works)  โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้หลัก Transformative Works ดังกล่าวในการตัดสินคดีทำให้เห็นถึงมุมมองของกฎหมายลิขสิทธิ์ในแง่มุมของการคุ้มครองงานดัด ...
  • Thumbnail

    บทบาท อำนาจหน้าที่ และที่มาของวุฒิสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทย 

    ศักดา ศรีทิพย์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    ประเทศไทยมีวุฒิสภาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 เรียกว่า “พฤฒสภา” มาจากการ เลือกตั้งโดยทางอ้อม โดยกําหนดให้วุฒิสภามีบทบาทในการยับยั้งร่างกฎหมาย เมื่อรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 ถูกยกเลิก รัฐธรรมนูญฉบับต่อมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2534 ได้กําหนดบทบาทให้วุฒิสภาเป็นผู้ค้ําจุนอํานาจและเสถียรภาพให้แก่รัฐบาล สมาชิก วุฒิสภาจึงมาจากการแต่งตั้งโดยตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมวิทยาการเมืองในขณะนั้น เนื่องจากรัฐบาลไร้เสถียรภาพ การให้นายกรัฐมนตรีเสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา เป็นการผ่อนคลาย ความตึงเครียดทางการเมือง ทําให้รัฐบาลได้ร ...
  • Thumbnail

    บทบาทของประชาสังคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาโดยรัฐ 

    ยศกร วรรณวิจิตร; ณัฐฐา วินิจนัยภาค (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012)

    การศึกษาในครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของประชาสงคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรใน 3 ขั้นได้แก่ขั้นกำหนดปัญหาและวาระนโยบาย (Problem Identification and Agenda Setting) ขั้นก่อรูปนโยบาย (Policy Formulation) และขั้นนกําหนดนโยบาย (Policy Adoption) ช่วงเวลาในการศึกษาเริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นเรียกร้องให้มีการ ประกาศใช้นโยบายการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรนําโดยภาคประชาสังคมในปีพ.ศ. 2542 จนถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ที่มีการประกาศใช้นโยบายการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description) ...
  • Thumbnail

    บทบาทภาครัฐในการส่งเสริมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของบุคคลต่างด้าว 

    กฤษณา บุญแท้; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    ปัจจุบันการค้าการลงทุนจากบุคคลต่างชาติในประเทศไทยเป็นแบบเสรีทางการค้าอย่างมี เงื่อนไข และมีข้อก้าหนดที่เข้มงวด โดยมีการห้ามบุคคลต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ในบางธุรกิจ และธุรกิจบางประเภทคนต่างชาติจะด้าเนินการได้ต้องขออนุญาตก่อนถึงจะดำเนินธุรกิจ ได้ ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจจากคนต่างชาตินั้นอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประกอบ ธุรกิจของบุคคลคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ซึ่งบังคับใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี และในปัจจุบันการค้า การลงทุนระหว่างประเทศหรือการลงทุนจากต่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปตาม สภาพเศรษฐกิจและสังคมการเมืองของประเทศ ...
  • Thumbnail

    บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา 

    ชานนท์ ทองสุกมาก; เกียรติพร อำไพ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการกระจายอำนาจกับบทบาทอำนาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านทรัพย์สินทางปัญญาในส่วนของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ ในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่วน ท้องถิ่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศจีน สำหรับเป็นแนวทาง เพื่อกำหนดขอบเขตของอำนาจอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีส่วนช่วยในการ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามกฎหมายได้มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเท ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ 

    พัสตาภรณ์ ชัยปัญหา; ปุ่น วิชชุไตรภพ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหาร จัดการที่ดินของรัฐมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ แนวคิดทฤษฎี การมีส่วนร่วม มาตรการทางกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ ประเทศไทยและ ต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ ปัญหา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมีการส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ และเสนอแนะเกี่ยวกับ การเข้าไปมีส่วนร่วมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ จากกการศึกษาพบว่า 1. ใน ปัจจุบันไม่มีกฎหมายให้อํานาจองค์ ...