Now showing items 77-96 of 217

  • Thumbnail

    บทบาท อำนาจหน้าที่ และที่มาของวุฒิสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทย 

    ศักดา ศรีทิพย์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    ประเทศไทยมีวุฒิสภาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 เรียกว่า “พฤฒสภา” มาจากการ เลือกตั้งโดยทางอ้อม โดยกําหนดให้วุฒิสภามีบทบาทในการยับยั้งร่างกฎหมาย เมื่อรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 ถูกยกเลิก รัฐธรรมนูญฉบับต่อมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2534 ได้กําหนดบทบาทให้วุฒิสภาเป็นผู้ค้ําจุนอํานาจและเสถียรภาพให้แก่รัฐบาล สมาชิก วุฒิสภาจึงมาจากการแต่งตั้งโดยตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมวิทยาการเมืองในขณะนั้น เนื่องจากรัฐบาลไร้เสถียรภาพ การให้นายกรัฐมนตรีเสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา เป็นการผ่อนคลาย ความตึงเครียดทางการเมือง ทําให้รัฐบาลได้ร ...
  • Thumbnail

    บทบาทของประชาสังคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาโดยรัฐ 

    ยศกร วรรณวิจิตร; ณัฐฐา วินิจนัยภาค (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012)

    การศึกษาในครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของประชาสงคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรใน 3 ขั้นได้แก่ขั้นกำหนดปัญหาและวาระนโยบาย (Problem Identification and Agenda Setting) ขั้นก่อรูปนโยบาย (Policy Formulation) และขั้นนกําหนดนโยบาย (Policy Adoption) ช่วงเวลาในการศึกษาเริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นเรียกร้องให้มีการ ประกาศใช้นโยบายการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรนําโดยภาคประชาสังคมในปีพ.ศ. 2542 จนถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ที่มีการประกาศใช้นโยบายการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description) ...
  • Thumbnail

    บทบาทภาครัฐในการส่งเสริมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของบุคคลต่างด้าว 

    กฤษณา บุญแท้; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    ปัจจุบันการค้าการลงทุนจากบุคคลต่างชาติในประเทศไทยเป็นแบบเสรีทางการค้าอย่างมี เงื่อนไข และมีข้อก้าหนดที่เข้มงวด โดยมีการห้ามบุคคลต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ในบางธุรกิจ และธุรกิจบางประเภทคนต่างชาติจะด้าเนินการได้ต้องขออนุญาตก่อนถึงจะดำเนินธุรกิจ ได้ ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจจากคนต่างชาตินั้นอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประกอบ ธุรกิจของบุคคลคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ซึ่งบังคับใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี และในปัจจุบันการค้า การลงทุนระหว่างประเทศหรือการลงทุนจากต่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงไปตาม สภาพเศรษฐกิจและสังคมการเมืองของประเทศ ...
  • Thumbnail

    บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา 

    ชานนท์ ทองสุกมาก; เกียรติพร อำไพ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการกระจายอำนาจกับบทบาทอำนาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านทรัพย์สินทางปัญญาในส่วนของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ ในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่วน ท้องถิ่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศจีน สำหรับเป็นแนวทาง เพื่อกำหนดขอบเขตของอำนาจอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีส่วนช่วยในการ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามกฎหมายได้มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเท ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ 

    พัสตาภรณ์ ชัยปัญหา; ปุ่น วิชชุไตรภพ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหาร จัดการที่ดินของรัฐมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ แนวคิดทฤษฎี การมีส่วนร่วม มาตรการทางกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ ประเทศไทยและ ต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ ปัญหา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมีการส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ และเสนอแนะเกี่ยวกับ การเข้าไปมีส่วนร่วมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ จากกการศึกษาพบว่า 1. ใน ปัจจุบันไม่มีกฎหมายให้อํานาจองค์ ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงมาดัดแปลงโดยวิธีการ Remix  

    ธีรวัชร์ แสงไชย; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงมาดัดแปลงโดยวิธีการ Remix แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการ Remix งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียง มาตรการทางกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการ Remix งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของประเทศไทย ต่างประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการ Remix งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือจะได้รับการยกเว้นตามกฎหมายหรือจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่ เพียงใด ตลอดจนกำหน ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ กรณีการใช้ข้อมูลภายใน 

    ศิริพงศ์ ชัยอำนวยศิลป์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    ในปี พ.ศ. 2558 ที่กำลังจะถึงนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) กำลังจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญของตลาดทุนไทย โดยเศรษฐกิจและตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียนจะมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ดังนั้น กฎหมายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงของตลาดทุน จึงต้องครอบคลุมการดูแลความเป็น ระเบียบเรียบร้อยของตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งต้องมีการพัฒนากฎหมายหลักทรัพย์ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลั ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ กรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล 

    ปิ่นวดี เกสรินทร์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    เจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการบริการสาธารณสุข คือ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอ ภาคกันในการรับบริการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการ รักษาพยาบาลจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐต้องเป็นไปอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มี เจตนารมณ์ให้ทุกคนได้รับสิทธิบริการด้านสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเดียวกันอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ทุกคน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการรั ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจตามร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... 

    นิรมล นพสิทธิ์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินเป็นมาตรการหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการประกอบธุรกิจในการหาเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการประกอบธุรกิจ การประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์จึงเป็นส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมการลงทุนในการประกอบธุรกิจและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นย่อมมีความมั่นใจว่าแม้ลูกหนี้หรือผู้ขอสินเชื่อจะไม่ชำระหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็ยังสามารถที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันได้
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการทำสวนปาล์มน้ำมันเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย 

    ปุณณภา ณ ถลาง; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการทำสวนปาล์มน้ำมัน เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย มีวัตถุประสงค์ในการที่จะปรับปรุงแก้ไขประเภทธุรกิจ ตามบัญชีหนึ่งและบัญชีสองท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542และ เพื่อให้มีกฎหมายเฉพาะอันนำมาใช้ในการควบคุมดูแลธุรกิจปาล์มน้ำมันทั้งระบบ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้มีการศึกษาและวิเคราะห์ถึงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542กรณีที่ กำหนดห้ามมิให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจการทำสวนปาล์มน้ำมันว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจการทำ สวนปาล์มน้ำมันของประเทศไทยอย่างไรและประเทศ ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นพนักงานสอบสวน 

    ปัณฑ์ณัฐ ขันเขต; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวม พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นพนักงานสอบสวน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอํานาจหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนรวมถึงค้นหาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นพนักงาน สอบสวนของประเทศไทยนํามาเปรียบเทียบกับอํานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในต่างประเทศที่ใช้ ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ การวิจัยได้เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศอังกฤษ นอกจากนั้น ยังได้เปรียบเทียบกับอํานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในต่างประเทศ ที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหพัน ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำจากชุมชน ศึกษากรณี: หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นก่อนและขณะใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 

    นรินทร์ภัค เกตุสุรินทร์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้าน จัดสรร เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา แนวคิดและกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางน้ำจาก ชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร เช่น ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 พ.ศ.2515 พระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพื่อหาแนวทางใน การแก้ไขการจัดการมลพิษทางน้ํา ที่เกิดจากชุมชนในหมู่บ้านจัดสรร
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบไทย - สหรัฐอเมริกา 

    ภานุพงศ์ พงษาชัย; ฌานิทธิ์ สันตะพัน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด หรือหลัก Volenti non fit injuria เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากระบบกฎหมายโรมันที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการแสดงเจตนาของบุคคล กล่าวคือ หากบุคคลแสดงเจตนาเช่นใดก็ย่อมต้องยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการแสดงเจตนานั้นไม่ว่าผลนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม โดยประเทศสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับอิทธิพลแนวคิดหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดมาจากระบบกฎหมายโรมันแม้จะได้รับการถ่ายทอดมาจากประเทศอังกฤษอีกทอดหนึ่งก็ตาม แต่ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการตราบทบัญญัติมาตรา 496A แห่ง Restatement of law (Second), of tort กำหนดคำนิยามให้ความหมา ...
  • Thumbnail

    ปัญหากฎหมายในการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม 

    นิติวัชญ์ ยุติธรรมวงษ์; ประพิน นุชเปี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วัตถุประสงค์ในการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยอ้อม เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเข้าจดทะเบีบนกับตลาดหลักทรัพย์ และอีกประเด็นที่ผู้เขียนสนใจศึกษาคือ หลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมของประเทศไทย และ ต่างประเทศเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยศึกษากรณีปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆจากบริษัทที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อ ...
  • Thumbnail

    ปัญหาการกำหนดความผิดและบทลงโทษ การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี 

    จริยาภรณ์ พงษ์รื่น; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิด เจตนารมณ์ของการบัญญัติ กฎหมาย นิยามความหมาย ของคําว่า “ข่มขืนกระทําชําเรา” และ “กระทําชําเรา” สาระสําคัญของ องค์ประกอบความผิด และการกําหนดโทษ ในประเด็นการกระทําชําเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี โดย การศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกฎหมายอาญาไทยกับกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นๆ ของ ต่างประเทศทั้งในระบบ Common Law คือสหรัฐอเมริกา และ Civil Law คือ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐฝรั่งเศส จากการศึกษาตัวบทกฎหมาย องค์ประกอบความผิด ในการกระทําความผิดฐานกระทําชําเรา เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ ...
  • Thumbnail

    ปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศึกษากรณี การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานเอกชน 

    จันทร์ทิพย์ แสงแปง; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานเอกชน ตาม ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ศึกษาแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน ประเทศต่าง ๆ ที่มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานเอกชนที่ชัดเจน เช่น ประเทศแคนาดา ประเทศสวีเดน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น และศึกษาแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน มาตรฐานสากล รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงาน เอกชน
  • Thumbnail

    ปัญหาการจัดประเภทภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 

    คณวัฒน์ เจริญหิรัญ; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการจัดประเภท ภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยเฉพาะกรณีการจัดประเภท ภาพยนตร์ในส่วนของการควบคุมภาพนตร์ (Ban) การจัดเรตติ้งภาพยนตร์ (Film Ratings) และ คณะกรรมการพิจรณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพื่อต้องการที่จะศึกษาว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับการจัด ประเภทภาพยนตร์ของประเทศไทย ในปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวยังคงเหมาะสมกับสภาพสังคมที่ เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยที่มีการตรากฎหมายขึ้นหรือไม่ รวมถึงศึกษาและวิเคราะห์การจัดประเภท ภาพยนตร์ของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ...
  • Thumbnail

    ปัญหาการจำกัดสิทธิของบุคคลหรือคณะบุคคลที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

    สิริกร สายสิน; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาถึงความหมาย ขอบเขตและข้อจำกัดบางประการ ของการจำกัดสิทธิของบุคคลหรือคณะบุคคลที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ 2. ศึกษา เปรียบเทียบการจำกัดสิทธิของบุคคลหรือคณะบุคคลที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญตาม กฎหมายต่างประเทศ 3. วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาของบุคคลหรือคณะ บุคคลที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
  • Thumbnail

    ปัญหาการตรวจสอบการจับกุมเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 

    พิชญ์สินี วงศ์ปราโมทย์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการตรวจสอบการ จับกุมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 โดยศึกษาแนวทางปฏิบัติของกระบวนการจับกุมเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายทั้งของ ประเทศไทยและของต่างประเทศ รวมถึงวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ ตรวจสอบการจับกุมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 เนื่องจากพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติตามพระราชบัญ ...
  • Thumbnail

    ปัญหาการตรวจสอบการใช้อำนาจชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยศาลปกครอง 

    กฤษณี มหาวิรุฬห์; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการชี้มูลความผิดทางวินัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทราบการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตและการดําเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตในต่างประเทศ และ เพื่อให้ทราบปัญหาการตรวจสอบการใช้อํานาจในการชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยศาลปกครองพร้อมข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา โดยมี สมมติฐานในการศึกษาคือ ปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อํานาจในการชี้มู ...