Browsing GSL: Theses by Title
Now showing items 57-76 of 154
-
แนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย: ศึกษากรณีแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษากฎหมายกับนโยบายว่าด้วยแนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย โดยศึกษากรณีปัญหาแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) ที่มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเสรีทั้งสิ่งของและคนในภูมิภาค ส่งผลให้ปัจจุบันมีแรงงานเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในนั้นเป็นแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่เข้าทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทั้งนี้การคุ้มครองสิทธิเด็กและแรงงานเด็กเป็นหนึ่งในเป้าหมายของกา ... -
แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ : ศึกษากรณีการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิด และวิวัฒนำการเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งเสพติดรวมถึงแนวความคิดการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อแก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาให้สามารถนำยารักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีสารต่าง ๆ ของกัญชามาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยได้ โดยศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาในสหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันมี 23 รัฐจากทั้งหมด 50 รัฐแก้ไขให้สามารถนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ได้ และสาธารณรัฐอุรุกวัยที่มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาเสมือนสิ่งถูกกฎหมายที่ประชาชนสามารถรวมตัวปลูกเพื่อจำหน่ายได้ รวมถึงศึกษาอนุสัญญาเดี่ยวว ... -
แนวทางในการกระจายอำนาจแบบจังหวัดจัดการตนเอง : ศึกษากรณี "ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ พ.ศ. 2555"
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อความคิดว่าด้วยการกระจายอำนาจและการมี ส่วนร่วมของประชาชน 2) ศึกษาเปรียบเทียบการปกครองส่วนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนใน ต่างประเทศกับประเทศไทย 3) ศึกษาสาเหตุของการจัดทำธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ แนวคิด จังหวัดจัดการตนเองและวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ 4) ศึกษา การปรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินและตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการให้ อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการตนเอง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ผลการศึกษาพบว่า อำนาจเจริญมีปัญหาพื้นฐานในด้านการพัฒนาเศรษ ... -
แนวทางในการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายของคนไร้สัญชาติไทย : ศึกษากรณีการให้สิทธิและสถานภาพทางสัญชาติแก่คนไร้รากเหง้า
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
สัญชาติเป็นเรื่องของความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องผูกมัดบุคคลไว้กับประเทศในทางกฎหมาย บุคคลที่มีสัญชาติของประเทศใดจึงมีฐานะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการจะได้รับสวัสดิการจากรัฐในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ และในทางกลับกันบุคคลนั้นก็มีหน้าที่พลเมืองต่อประเทศที่เป็นเจ้าของสัญชาติของตนเช่นกัน ปัญหาเรื่องการที่บุคคลต้องตกอยู่ในสภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติถือว่าเป็นปัญหาด้านมนุษยชนที่สำคัญ เนื่องจากการที่บุคคลอยู่ในฐานะไร้รัฐไร้สัญชาติมักจะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้โดยง่าย ทั้งยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากรัฐใดเลย ... -
แนวทางในการปรับปรุงเพิ่มเติมแบบสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด (อ.ช.22) เพื่อการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
ปัจจุบันภาครัฐจะเข้ามากำกับดูแลการซื้อขายห้องชุด โดยกำหนดให้ธุรกิจซื้อขายห้องชุดต้องทำสัญญาตามแบบที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบของผู้บริโภคจากการเข้าทำสัญญากับผู้ประกอบการ ซึ่งมักมีอำนาจต่อรองมากกว่า คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาจึงได้มีประกาศให้ธุรกิจขายห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแบบสัญญามาตรฐาน สำหรับการทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด (อ.ช.22) มาใช้บังคับ ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีแบบสัญญามาตรฐาน หรือ อ.ช.22 ดังกล่าว แต่ผู้บริโภคยั ... -
แนวทางในการหารูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย : ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในการบริหารกิจการท้องถิ่น
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
การกระจายอานาจการปกครอง คือ การปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการท้องถิ่นในพื้นที่ของตนเองสามารถกาหนดทิศทางและดูแลแก้ไขปัญหาของตนเองได้ เพราะฉะนั้นในการจัดตั้งการกาหนดโครงสร้างและอานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการท้องถิ่น จึงต้องคานึงถึงบริบทของสังคมเป็นสาคัญ อาทิ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และประชาชนทั้งในฐานะปัจเจกชนและชุมชน วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นมา การจัดตั้ง โครงสร้าง อานาจหน้าที่ และการมีส่วนร่วมของประชาชนใน ... -
บทบาทของประชาสังคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาโดยรัฐ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012);
การศึกษาในครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของประชาสงคมในการร่วมผลักดันมาตรการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรใน 3 ขั้นได้แก่ขั้นกำหนดปัญหาและวาระนโยบาย (Problem Identification and Agenda Setting) ขั้นก่อรูปนโยบาย (Policy Formulation) และขั้นนกําหนดนโยบาย (Policy Adoption) ช่วงเวลาในการศึกษาเริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นเรียกร้องให้มีการ ประกาศใช้นโยบายการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรนําโดยภาคประชาสังคมในปีพ.ศ. 2542 จนถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ที่มีการประกาศใช้นโยบายการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description) ... -
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจตามร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ....
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินเป็นมาตรการหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการประกอบธุรกิจในการหาเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการประกอบธุรกิจ การประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์จึงเป็นส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมการลงทุนในการประกอบธุรกิจและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นย่อมมีความมั่นใจว่าแม้ลูกหนี้หรือผู้ขอสินเชื่อจะไม่ชำระหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็ยังสามารถที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันได้ -
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นพนักงานสอบสวน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวม พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นพนักงานสอบสวน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอํานาจหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนรวมถึงค้นหาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นพนักงาน สอบสวนของประเทศไทยนํามาเปรียบเทียบกับอํานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในต่างประเทศที่ใช้ ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ การวิจัยได้เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศอังกฤษ นอกจากนั้น ยังได้เปรียบเทียบกับอํานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในต่างประเทศ ที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหพัน ... -
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบไทย - สหรัฐอเมริกา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
หลักความยินยอมไม่เป็นละเมิด หรือหลัก Volenti non fit injuria เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากระบบกฎหมายโรมันที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการแสดงเจตนาของบุคคล กล่าวคือ หากบุคคลแสดงเจตนาเช่นใดก็ย่อมต้องยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นจากการแสดงเจตนานั้นไม่ว่าผลนั้นจะดีหรือไม่ดีก็ตาม โดยประเทศสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับอิทธิพลแนวคิดหลักความยินยอมไม่เป็นละเมิดมาจากระบบกฎหมายโรมันแม้จะได้รับการถ่ายทอดมาจากประเทศอังกฤษอีกทอดหนึ่งก็ตาม แต่ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการตราบทบัญญัติมาตรา 496A แห่ง Restatement of law (Second), of tort กำหนดคำนิยามให้ความหมา ... -
ปัญหากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
- -
ปัญหากฎหมายในการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วัตถุประสงค์ในการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยอ้อม เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเข้าจดทะเบีบนกับตลาดหลักทรัพย์ และอีกประเด็นที่ผู้เขียนสนใจศึกษาคือ หลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อมของประเทศไทย และ ต่างประเทศเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยศึกษากรณีปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆจากบริษัทที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อ ... -
ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงมาดัดแปลงโดยวิธีการ Remix
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงมาดัดแปลงโดยวิธีการ Remix แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการ Remix งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียง มาตรการทางกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการ Remix งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงของประเทศไทย ต่างประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการ Remix งานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือจะได้รับการยกเว้นตามกฎหมายหรือจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือไม่ เพียงใด ตลอดจนกำหน ... -
ปัญหากฎหมายว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ กรณีการใช้ข้อมูลภายใน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
ในปี พ.ศ. 2558 ที่กำลังจะถึงนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) กำลังจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญของตลาดทุนไทย โดยเศรษฐกิจและตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียนจะมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ดังนั้น กฎหมายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงของตลาดทุน จึงต้องครอบคลุมการดูแลความเป็น ระเบียบเรียบร้อยของตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งต้องมีการพัฒนากฎหมายหลักทรัพย์ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลั ... -
ปัญหาการกำหนดความผิดและบทลงโทษ การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
- -
ปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศึกษากรณี การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานเอกชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานเอกชน ตาม ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ศึกษาแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน ประเทศต่าง ๆ ที่มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานเอกชนที่ชัดเจน เช่น ประเทศแคนาดา ประเทศสวีเดน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น และศึกษาแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใน มาตรฐานสากล รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงาน เอกชน -
ปัญหาการจัดประเภทภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
- -
ปัญหาการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
- -
ปัญหาการตรวจสอบการจับกุมเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการตรวจสอบการ จับกุมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 โดยศึกษาแนวทางปฏิบัติของกระบวนการจับกุมเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายทั้งของ ประเทศไทยและของต่างประเทศ รวมถึงวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ ตรวจสอบการจับกุมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 เนื่องจากพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติตามพระราชบัญ ...