Browsing GSL: Theses by Title
Now showing items 183-202 of 217
-
สถานบริการตู้รับเด็กทารกและผลทางกฎหมายของอำนาจปกครองของมารดา: กรณีศึกษาเปรียบเทียบสหรัฐอเมริกา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
เนื่องมาจากปัญหาเด็กทารกเสียชีวิตจากการถูกนำมาทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยของประเทศไทย เช่น ในห้องน้ำสาธารณะ ริมถนน หรือถังขยะ เป็นต้น ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขให้ลดจำนวนลงได้ บทความวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่ไทยสมควรจะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการถูกทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย จากการศึกษาเอกสารต่างประเทศพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้บัญญัติกฎหมาย Safe Haven Laws จัดตั้งสถานบริการตู้รับเด็กขึ้นในแต่ละมลรัฐเพื่อใช้แก้ปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการถูกนำไปทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ เป็นผลทำให้สถ ... -
สถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาสถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวมไปถึงการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในสังกัดของรัฐและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยและคุ้มครองทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ตลอดถึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วและกฎหมายที่จะบัญ ... -
สถานะทางกฎหมายของสหภาพข้าราชการ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาสถานะ ทางกฎหมายของสหภาพข้าราชการ โดยศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางกฎหมาย ของสหภาพข้าราชการ ลักษณะ วัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ ตลอดจนการบริหารจัดการ การควบคุม สหภาพข้าราชการ เพื่อวิเคราะห์สถานะทางกฎหมาย การกำหนดอำนาจหน้าที่ให้สอดคล้อง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เนื่องด้วยมีร่างพระราชกฤษฎีกาที่จะกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญสามารถรวมกลุ่ม จัดตั้งขึ้นเป็นสหภาพข้าราชการได้ ซึ่งการรวมกลุ่มเข้าเป็นสหภาพนั้น ทำให้มีปัญหาน่าคิดว่า สหภาพ ข้าราชการที่จะ ... -
สถานะทางกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
ทรัพย์สินของแผ่นดินแบ่งออกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาและสาธารณสมบัติของ แผ่นดิน ความแตกต่างของทรัพย์สินทั้งสองประเภทนี้จะแตกต่างทั้งในด้านลักษณะของการใช้ ประโยชน์ในทรัพย์สิน การให้ความคุ้มครองในทรัพย์สินไม่ให้ตกไปเป็นของเอกชนเพื่อให้ทรัพย์สินนั้น ยังคงอยู่เพื่อประโยชน์มหาชน และการสิ้นสภาพทรัพย์สิน การศึกษาสถานะทางกฎหมายเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยมุ่งศึกษาว่าอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศ ไทยมีสถานะทางกฎหมายอย่างไร และมีลักษณะการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ตรงกับสถานะ ทางกฎหมายหรือไม่ อสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเ ... -
สัญญาประกันภัย : ศึกษากรณีสัญญาประกันภัยอิสรภาพ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 . เพื่อศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย 2. เพื่อศึกษาถึงกฎหมายต่างประเทศและประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับ สัญญาประกันภัยและสัญญาประกันตัวในคดีอาญา 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบสัญญา ประกันภัยอิสรภาพกับสัญญาประกันภัยและสัญญาประกันตัว 4. เพื่อเสนอแนะมาตรการทาง กฎหมายที่เหมาะสมสำหรับระบบประกันอิสรภาพ วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาถึงประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ สัญญาประกันภัย และสัญญาประกันตัว ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ ทั้งในระบบ Civil Law อันได้แก่ สหพันธ์ ... -
สัญญาแสวงประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียม : ศึกษากรณีระบบการคลังปิโตรเลียม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ระบบการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมประเภทต่างๆ ที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในปัจจุบันนี้ และศึกษาว่าระบบการคลังปิโตรเลียมประเภทใดที่มีความเหมาะสมแก่ประเทศไทยมากที่สุดภายใต้กรอบความคิดของกฎหมายปกครองและสภาพทำงสังคมวิทยาของประเทศไทย -
สัดส่วนผู้ถือหุ้นอาเซียนในประเทศไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยนั้นนักลงทุนต่างชาติ ที่เข้า มาลงทุนในประเทศจะมีสถานะเป็นคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยกฎหมายฉบับนี้กําหนดให้คนต่างด้าวถือหุ้นในกิจการได้ไม่เกินร้อยละ 49 ซึ่งสัดส่วน ดังกล่าวนั้น นับเป็นอุปสรรคต่อการเปิดเสรีการลงทุนอาเซียนเป็นอย่างมาก ฉะนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้ค้นคว้าและวิจัยเพื่อหาแนวทางหรือมาตรการในการแก้ไขปัญหา ข้อกฎหมายว่าด้วยสัดส่วนผู้ถือ หุ้นต่างด้าวนี้ ในการกําหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวของไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นมีปัญหา หลักๆ ... -
สิทธิของคนต่างด้าวในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ: ศึกษากรณีสิทธิในการรักษาพยาบาล
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานะแห่งสิทธิของคนต่างด้าวในการเข้าถึงบริการ รักษาพยาบาล ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการจัดระบบการเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลของ คนต่างด้าว โดยมีขอบเขตของการศึกษาเฉพาะกรณีคนไร้สัญชาติแรงงานต่างด้าว เด็กต่างด้าว ผู้ลี้ภัย และผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ผลการวิจัยพบว่า สิทธิในการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาล เป็นสิทธิที่บุคคลไม่อาจบรรลุความ มุ่งหมายได้หากปราศจากการเข้ามาดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยรัฐ หรือที่เรียกว่า “status positivus” ซึ่งมีสถานะเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐานในการดํารงชีพ” ที่บุคคลไม่ว่าเชื้อชาติหรือสัญชาติใด ... -
สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีการทำเกลือสินเธาว์ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
โดยที่การสูบน้ำเกลือใต้ตินขึ้นทำเกลือสินเธาว์ในพื้นที่จังหวัดสกลนครนั้น ไต้ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อการจัตการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ไม่ว่จะเป็นการแพร่กระจาย ความเคีม การยุบตัวของพื้นดินอย่างกว้างขวาง การปนเปื้อนของแหล่งน้ำบนผิวติน รวมถึงระบบ นิเวศชาดสมดุล เป็นตัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้เกลือ สินเธาว์ในอุตสาหกรรมและความต้องการของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางราย ลักลอบผสิตเกลือสินเราวันอกระยะเวลาที่อนุญาตให้ทำการสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาทำเกลือสินเธาว์ รวมถึงการลักลอบผลิตนอ ... -
สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ประวัติความเป็นมาของสิทธิชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ตลอดจนศึกษาหลักเกณฑ์กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ เช่นกฎหมายประเทศออสเตรเลีย และกฎหมายอินเดีย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับบริบททางกฎหมายไทย นอกจากนี้ยังมีการศึกษา และวิเคราะห์สภาพปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นในทางสังคมไทย รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับสถานการณ์กฎหมายในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยควรมีแนวทาง ... -
หลักการสูญสิ้นซึ่งสิทธิในการดาวน์โหลดเพลงผ่านโปรแกรมประยุกต์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องการนําหลักการสูญสิ้นซึ่งสิทธิไปบังคับใช้กับเพลงที่อยู่ใน รูปแบบข้อมูลดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขอบเขตในการคุ้มครองและความสมดุลแห่งสิทธิ พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการกําหนดหลักเกณฑ์ที่ช่วยรักษาความสมดุลแห่งสิทธิระหว่าง เจ้าของลิขสิทธิ์กับผู้บริโภคของเพลงในรูปแบบดังกล่าวให้ได้รับความเปนธรรมอย่างเท่าเทียมกัน จากการศึกษาพบว่า เพลงที่อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลมีปัญหาในเรื่องของวิธีการได้มาและ การได้กรรมสิทธิ์ในงาน รวมถึงปัญหาเรื่องขั้นตอนของการจําหน่าย จ่าย โอนไปยังอุปกรณ์อื่นจึงทําให้ เกิดความไม่ชัดเจนว ... -
หลักเกณฑ์ของข้อตกลงยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับหลักความสมเหตุสมผล: ศึกษากรณีการผลิตสุกรขุนในระบบเกษตรพันธสัญญาของไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
ตามที่ระบบเกษตรพันธสัญญาเป็นความตกลงเข้าทำสัญญาของเกษตรกรฟาร์มผู้ผลิตสุกรขุน ที่ ไม่มีอำนาจในการต่อรองทางด้านเศรษฐกิจ และถูกบริษัทซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบ โดยใช้สัญญาสำเร็จรูปเป็นเครื่องมือและมีการร่างสัญญาไว้ล่วงหน้ำ รวมทั้งเป็นตลาดผูกขาดทำให้ ฟาร์มผู้ผลิตสุกรขุนขาดทางเลือกและต้องจำยอมเข้าทำสัญญาการผลิต ดังนั้นวิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมี วัตถุประสงค์จำนวน 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญในหลักเกณฑ์ของข้อตกลงยกเว้นหรือ จำกัดความรับผิดกับหลักความสมเหตุสมผล: ศึกษากรณีการผลิตสุกรขุนในระบบเกษตรพันธสัญญาของไทย 2) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ข้อตก ... -
องค์กรควบคุมในการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเหตุผล ความจำเป็น และรูปแบบและโครงสร้างเหมาะสมในการจัดตั้งองค์กรควบคุมในการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ เนื่องจากปัจจุบันองค์กรควบคุมในการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์เป็นองค์กรในลักษณะคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 (ยกเลิก) และใช้พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 21 ปีแล้วแล้ว ทำหน้าที่ควบคุมผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ ... -
องค์กรที่เหมาะสมในการดูแลสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ได้กำหนดให้มีองค์กรมากขึ้นมาเพื่อดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรต่อจากผู้จัดสรรที่ดินคือ นิติบุคลลหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร หรือมีองค์กรใดๆ เข้ามาทำหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคฯ เพราะในอดีตปัญหาการปล่อยทิ้งสาธารณูปโภคฯ ภายหลังจากที่ผู้จัดสรรที่ดินไม่ได้ดูแลโครงการจัดสรร ทำให้เกิดปัญหากับผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ที่ต้องการสาธารณูปโภคโดยลำพัง เนื่องจากไม่มีสถานะทางกฎหมายและไม่มีอำนาจทางกฎหมายหรือมาตรการใดๆ บังคับกับบุคคลภายนอก หรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรด้วยกันเอง ... -
อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับคนงานทำงานบ้าน : ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบทางกฎหมาย ในการที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบัน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
ลูกจ้างทำงานบ้านเป็นแรงงานที่พบเห็นได้ทั่วไป เป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดอาชีพหนึ่งในสังคม โดยทั่วไปแล้วแรงงานที่ประกอบอาชีพเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “คนรับใช้” หรือ“คนใช้” ก็จะเป็นที่ เข้าใจกันว่าเป็นคนที่มีหน้าที่คอยรับใช้ ทางานบ้านโดยทาหน้าที่อย่างแม่บ้าน เช่น ทาความสะอาด ทาอาหาร ซักผ้ารีดผ้า ดูแลรับใช้คนในบ้าน กฎหมายแรงงานของประเทศไทยเรียกลูกจ้างเหล่านี้ว่า ลูกจ้างทางานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย แต่ก็มิได้ให้คาจากัดความหรือ คานิยามไว้อย่างชัดแจ้ง แต่โดยการตีความของศาลฎีกา ศาลได้ถือเอาลักษณะในการทางานว่ามีการ ประกอบ ... -
อำนาจการสอบสวนคดีความผิดที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักร : ศึกษากรณีพนักงานอัยการกับดีเอสไอ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
จากสภาพอาชญากรรมที่มีลักษณะยุ่งยาก สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทำให้การรวบรวม พยานหลักฐานในการกระทำความผิดเป็นไปได้ยากประกอบกับเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดในปัจจุบันไม่สามารถที่จะปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างทันท่วงทีและมี ประสิทธิภาพเท่าที่ควร จนอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติได้ ทั้งการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทยยังคงขาดความเชื่อมโยงและการบูรณาการร่วมกันทำ ให้บาปเคราะห์ยังคงเกิดแก่ประชาชนอยู่เอง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นจากความจำกัดดังกล่าวของหน่วยงานตำรวจอย่ ... -
อำนาจของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ในการเพิ่มโทษตามมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ได้ใช้บังคับมานาน บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องพัฒนาการด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อกำหนด ภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม โดยได้รับบทบาทของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรมและผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการให้เป็นเพียงผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร โดยมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการส่วนบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้เป็นของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่ง ก.พ.ค. ... -
อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงแนวคิดทฤษฎีและข้อความคิดของสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตลอดจนเพื่อให้ทราบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่มีผู้ได้ ใช้ประโยชน์จากสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือได้ใช้ ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้แนวทาง เกี่ยวกับการตรากฎหมาย ... -
อำนาจบังคับบัญชาในการแต่งตั้งโยกย้ายกับการควบคุมตรวจสอบโดยศาลปกครอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในส่วนของศาลปกครองไทยได้วางหลักเกณฑ์ในการ ควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการออกคำสั่งทางปกครองขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ในการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายขององค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายในของ คำสั่ง ทั้งยังมีการศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทาง ปกครองของสหพันธ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธรัฐเยอรมันอีกด้วย เพราะเมื่ออำนาจบังคับบัญชา คือหัวใจสำคัญที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นอำนาจในส่วนของฝ่ายปกครองซึ่งเป็นดุลพินิจโดยแท้และสามารถ ควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายได้โดยทั้งฝ่ายปกครองและโดยศาลปกครอง ... -
อำนาจรัฐและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายเซ็กซ์ทอยส์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
วิทยานิพนธ์เรื่อง “อำนาจรัฐกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายเซ็กซ์ทอยส์” ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับข้อความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ หลักทฤษฎี อรรถประโยชน์นิยม ธุรกิจเซ็กซ์ทอยส์ในประเทศไทย บทบาทของรัฐและความสงบเรียบร้อยและ ศีลธรรมอันดีของประชาชนและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำหน่ายเซ็กซ์ทอยส์และร้าน เซ็กซ์ชอปของต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น โดยจากการศึกษาพบว่า ในหลายประเทศมีการอนุษญาตให้มีการจดทะเบียน และออก ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการเซ็กซ์ชอป ซึ่งมีกำหนดรูปแบบชัดเจน รวมถึงข้อกำหนดที่ต้องมิกระทำ ...