Browsing GSL: Theses by Title
Now showing items 195-214 of 217
-
องค์กรควบคุมในการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเหตุผล ความจำเป็น และรูปแบบและโครงสร้างเหมาะสมในการจัดตั้งองค์กรควบคุมในการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ เนื่องจากปัจจุบันองค์กรควบคุมในการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์เป็นองค์กรในลักษณะคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 (ยกเลิก) และใช้พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 21 ปีแล้วแล้ว ทำหน้าที่ควบคุมผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ ... -
องค์กรที่เหมาะสมในการดูแลสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ได้กำหนดให้มีองค์กรมากขึ้นมาเพื่อดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรต่อจากผู้จัดสรรที่ดินคือ นิติบุคลลหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร หรือมีองค์กรใดๆ เข้ามาทำหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคฯ เพราะในอดีตปัญหาการปล่อยทิ้งสาธารณูปโภคฯ ภายหลังจากที่ผู้จัดสรรที่ดินไม่ได้ดูแลโครงการจัดสรร ทำให้เกิดปัญหากับผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ที่ต้องการสาธารณูปโภคโดยลำพัง เนื่องจากไม่มีสถานะทางกฎหมายและไม่มีอำนาจทางกฎหมายหรือมาตรการใดๆ บังคับกับบุคคลภายนอก หรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรด้วยกันเอง ... -
อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับคนงานทำงานบ้าน : ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบทางกฎหมาย ในการที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบัน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
ลูกจ้างทำงานบ้านเป็นแรงงานที่พบเห็นได้ทั่วไป เป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดอาชีพหนึ่งในสังคม โดยทั่วไปแล้วแรงงานที่ประกอบอาชีพเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “คนรับใช้” หรือ“คนใช้” ก็จะเป็นที่ เข้าใจกันว่าเป็นคนที่มีหน้าที่คอยรับใช้ ทางานบ้านโดยทาหน้าที่อย่างแม่บ้าน เช่น ทาความสะอาด ทาอาหาร ซักผ้ารีดผ้า ดูแลรับใช้คนในบ้าน กฎหมายแรงงานของประเทศไทยเรียกลูกจ้างเหล่านี้ว่า ลูกจ้างทางานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย แต่ก็มิได้ให้คาจากัดความหรือ คานิยามไว้อย่างชัดแจ้ง แต่โดยการตีความของศาลฎีกา ศาลได้ถือเอาลักษณะในการทางานว่ามีการ ประกอบ ... -
อำนาจการสอบสวนคดีความผิดที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักร : ศึกษากรณีพนักงานอัยการกับดีเอสไอ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
จากสภาพอาชญากรรมที่มีลักษณะยุ่งยาก สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทำให้การรวบรวม พยานหลักฐานในการกระทำความผิดเป็นไปได้ยากประกอบกับเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดในปัจจุบันไม่สามารถที่จะปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างทันท่วงทีและมี ประสิทธิภาพเท่าที่ควร จนอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติได้ ทั้งการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทยยังคงขาดความเชื่อมโยงและการบูรณาการร่วมกันทำ ให้บาปเคราะห์ยังคงเกิดแก่ประชาชนอยู่เอง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นจากความจำกัดดังกล่าวของหน่วยงานตำรวจอย่ ... -
อำนาจของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ในการเพิ่มโทษตามมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ได้ใช้บังคับมานาน บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องพัฒนาการด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อกำหนด ภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสม โดยได้รับบทบาทของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรมและผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการให้เป็นเพียงผู้จัดการงานบุคคลของฝ่ายบริหาร โดยมิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการส่วนบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้เป็นของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่ง ก.พ.ค. ... -
อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงแนวคิดทฤษฎีและข้อความคิดของสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตลอดจนเพื่อให้ทราบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่มีผู้ได้ ใช้ประโยชน์จากสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือได้ใช้ ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้แนวทาง เกี่ยวกับการตรากฎหมาย ... -
อำนาจบังคับบัญชาในการแต่งตั้งโยกย้ายกับการควบคุมตรวจสอบโดยศาลปกครอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในส่วนของศาลปกครองไทยได้วางหลักเกณฑ์ในการ ควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการออกคำสั่งทางปกครองขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ในการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายขององค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายในของ คำสั่ง ทั้งยังมีการศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทาง ปกครองของสหพันธ์สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธรัฐเยอรมันอีกด้วย เพราะเมื่ออำนาจบังคับบัญชา คือหัวใจสำคัญที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นอำนาจในส่วนของฝ่ายปกครองซึ่งเป็นดุลพินิจโดยแท้และสามารถ ควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายได้โดยทั้งฝ่ายปกครองและโดยศาลปกครอง ... -
อำนาจรัฐและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายเซ็กซ์ทอยส์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
วิทยานิพนธ์เรื่อง “อำนาจรัฐกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายเซ็กซ์ทอยส์” ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับข้อความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ หลักทฤษฎี อรรถประโยชน์นิยม ธุรกิจเซ็กซ์ทอยส์ในประเทศไทย บทบาทของรัฐและความสงบเรียบร้อยและ ศีลธรรมอันดีของประชาชนและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำหน่ายเซ็กซ์ทอยส์และร้าน เซ็กซ์ชอปของต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น โดยจากการศึกษาพบว่า ในหลายประเทศมีการอนุษญาตให้มีการจดทะเบียน และออก ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการเซ็กซ์ชอป ซึ่งมีกำหนดรูปแบบชัดเจน รวมถึงข้อกำหนดที่ต้องมิกระทำ ... -
อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ศึกษากรณีองค์กรตุลาการ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ศึกษากรณีองค์กรตุลาการนั้น เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพทางนิติศาสตร์ เน้นการวิจัยเอกสาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการ โดยไม่ให้การตรวจสอบดังกล่าวกระทบกับความเป็นอิสระของตุลาการในการพิจารณาพากษาอรรถดี แต่มุ่งเน้นให้กิดการถ่วงดุลอำนาจ และการควบคุมตรวจสอบการใช้อ่านเป็นไปตามหลักนิติรัฐ ที่รัฐต้องยอมจำกัดอำนาจของตนเองให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่เป็นต้นกำเนิดของผู้ตรว ... -
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 และมาตรา 44/1: ศึกษาเฉพาะกรณีการเรียกค่าสินไหมทดแทนแทนผู้เสียหาย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการใช้สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 โดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา บทความ กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา และจัดทำข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่า ผู้เสียหายในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำนวนมากไม่ทราบว่าตนมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเข้าไปในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 ทำให้ผู้เสียหายที่ต้องการค่าสินไหมทดแทนต้อ ... -
อำนาจหน้าที่และคุณสมบัติของวุฒิสภาตามหลักประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งหมายศึกษาอํานาจหน้าที่และคุณสมบัติของวุฒิสภาในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อทราบถึงปัญหาการกําหนดอํานาจหน้าที่และคุณสมบัติของวุฒิสภาในอดีตที่ไมสอดคล้องกับหลัก ประชาธิปไตยและสังคมการเมืองของไทย ซึ่งส่งผลถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภา ผลการศึกษาพบว่า วุฒิสภาเป็นองค์กรที่ใช้อํานาจนิติบัญญัติและมีความสําคัญต่อการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การกําหนดอํานาจหน้าที่และคุณสมบัติของวุฒิสภาจึงมี ความสําคัญในการเข้าสู่การดํารงตําแหน่งของผู้ใช้อํานาจนิติบัญญัติซึ่งในอดีตนั้น ปัญหาของการ กําหนดอํานาจหน้าที่และคุณสมบัติของวุฒิสภา ... -
อำนาจหน้าที่ในการมีส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหาในการมีส่วนร่วม จัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ศึกษาถึงข้อความคิดในการมีส่วนร่วม จัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมาย ของประเทศไทยและต่างประเทศในการมีส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 4. วิเคราะห์ปัญหาในการมีส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 5. เพื่อค้นหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการมีส่วนร่วมจัด การดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ... -
เปรียบเทียบความยุติธรรมตะวันตกกับพระพุทธศาสนาเถรวาทและกฎหมายไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมา ความหมาย และรูปแบบของความ ยุติธรรม 2) ศึกษาแนวคิดความยุติธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) ศึกษาเปรียบเทียบความ ยุติธรรมของตะวันตกกับพระพุทธศาสนาและกฎหมายไทย ผลการศึกษาพบว่าแนวคิดความยุติธรรมตะวันตกในสมัยโบราณได้ยึดติดอยู่กับพระเจ้าแต่ใน เวลาต่อมาความยุติธรรมก็คือกฎหมายเพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการผดุงความยุติธรรมของสังคมร่วม กันแต่ในปัจจุบันนี้สังคมตะวันตกได้ยึดถือความยุติธรรมตามสำนักกฎหมายบ้านเมือง โดยอยู่ภายใต้ เงื่อนไขของหลักความยุติธรรม (หลักกฎหมายทั่วไป) และความยุติธรรมได้แปรสภาพมาเป็ ... -
เหตุลดโทษให้กับผู้กระทำความผิดที่กระทำต่อผู้ใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพราะกลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทำร้าย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องเหตุลดโทษให้แก่ผู้กระทําความผิดต่อผู้ใช้ความรุนแรงใน ครอบครัวเพราะกลุ่มอาการที่เกิดจากการถูกทําร้าย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษา แนวความคิดเกี่ยวกับการนําอาการกลุ่มอาการในบุคคลที่เกิดจากการถูกทําร้ายไปพิจารณาในชั้น กระบวนการยุติธรรม โดยศึกษาตั้งแต่หลักเกณฑ์การพิจารณาการพิสูจน์อาการกลุ่มอาการในบุคคลที่ เกิดจากการถูกทําร้ายของต่างประเทศเพื่อนํามาบัญญัติให้เข้ากับการปรับใช้ในกระบวนการยุติธรรม ของประเทศไทย ทั้งได้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศในประเด็นความผิดที่กระทําโดย ผู้กระทําความผิดทําอยู่ในกลุ่มอาการ ... -
แนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย: ศึกษากรณีแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษากฎหมายกับนโยบายว่าด้วยแนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย โดยศึกษากรณีปัญหาแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) ที่มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเสรีทั้งสิ่งของและคนในภูมิภาค ส่งผลให้ปัจจุบันมีแรงงานเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในนั้นเป็นแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่เข้าทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทั้งนี้การคุ้มครองสิทธิเด็กและแรงงานเด็กเป็นหนึ่งในเป้าหมายของกา ... -
แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ : ศึกษากรณีการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิด และวิวัฒนำการเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งเสพติดรวมถึงแนวความคิดการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อแก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาให้สามารถนำยารักษาโรคภัยไข้เจ็บที่มีสารต่าง ๆ ของกัญชามาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยได้ โดยศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาในสหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันมี 23 รัฐจากทั้งหมด 50 รัฐแก้ไขให้สามารถนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ได้ และสาธารณรัฐอุรุกวัยที่มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาเสมือนสิ่งถูกกฎหมายที่ประชาชนสามารถรวมตัวปลูกเพื่อจำหน่ายได้ รวมถึงศึกษาอนุสัญญาเดี่ยวว ... -
แนวทางการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับเนื้อหาดิจิทัล
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อค้นหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับเนื้อหาดิจิทัล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคเนื้อหาดิจิทัล ทั้งกฎหมายไทยที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นการศึกษาในประเด็นเรื่อง ความหมายของเนื้อหาดิจิทัลและขอบเขตการคุ้มครองผู้บริโภคเนื้อหาดิจิทัล การคุ้มครองผู้บริโภคก่อนและหลังทำสัญญาจัดส่งเนื้อหาดิจิทัล มาตรฐานของเนื้อหาดิจิทัลและมาตรการเยียวยาผู้บริโภคกรณีเนื้อหาดิจิทัลไม่เป็ ... -
แนวทางในการกระจายอำนาจแบบจังหวัดจัดการตนเอง : ศึกษากรณี "ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ พ.ศ. 2555"
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อความคิดว่าด้วยการกระจายอำนาจและการมี ส่วนร่วมของประชาชน 2) ศึกษาเปรียบเทียบการปกครองส่วนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนใน ต่างประเทศกับประเทศไทย 3) ศึกษาสาเหตุของการจัดทำธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ แนวคิด จังหวัดจัดการตนเองและวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ 4) ศึกษา การปรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินและตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการให้ อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการตนเอง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ผลการศึกษาพบว่า อำนาจเจริญมีปัญหาพื้นฐานในด้านการพัฒนาเศรษ ... -
แนวทางในการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายของคนไร้สัญชาติไทย : ศึกษากรณีการให้สิทธิและสถานภาพทางสัญชาติแก่คนไร้รากเหง้า
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
สัญชาติเป็นเรื่องของความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องผูกมัดบุคคลไว้กับประเทศในทางกฎหมาย บุคคลที่มีสัญชาติของประเทศใดจึงมีฐานะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการจะได้รับสวัสดิการจากรัฐในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ และในทางกลับกันบุคคลนั้นก็มีหน้าที่พลเมืองต่อประเทศที่เป็นเจ้าของสัญชาติของตนเช่นกัน ปัญหาเรื่องการที่บุคคลต้องตกอยู่ในสภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติถือว่าเป็นปัญหาด้านมนุษยชนที่สำคัญ เนื่องจากการที่บุคคลอยู่ในฐานะไร้รัฐไร้สัญชาติมักจะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้โดยง่าย ทั้งยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากรัฐใดเลย ... -
แนวทางในการปรับปรุงกฎหมายและการจัดการโรงแรมบูติคขนาดเล็ก
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษาและวิจัยแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายและการจัดการโรงแรมบูติคขนาดเล็ก เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโรงแรมบูติคควบคู่ไปกับ การวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคของ พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547, พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, กฎกระทรวงกำหนด ประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม ปี พ.ศ. 2551 และกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ อาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559 ที่มีต่อการประกอบธุรกิจโรงแรมบูติคขนาด เล็ก เพื่อให้ได้มาซึ่งการพัฒนาปรับแก้ไขกฎหมายโรงแรม ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจโรงแรม บูติคขนาดเล็ก โดยศึกษารายละเอียดจากกฎหมายโรงแรม, ...