Browsing GSL: Theses by Title
Now showing items 1-20 of 217
-
กฎบัตรอาเซียนกับการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบการค้ามนุษย์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
สถานการณ์การค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลาดับหลาย ภูมิภาคของโลกยังต้องเผชิญกับอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบดังกล่าวอยู่ แม้กระทั่งภูมิภาคอาเซียน ของเรายังต้องเผชิญกับอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบการค้ามนุษย์อยู่ เมื่อ ค.ศ.2000 องค์การ สหประชาชาติก็ได้มีการออกอนุสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติและได้มีพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญา การต่อต้านการค้ามนุษย์ในสตรีและเด็กเพื่อมาบังคับในการต่อต้านอาชญากรรมการค้ามนุษย์โดย ประเทศต่างๆได้มีการลงนามและการให้สัตยาบันแก่อนุสัญญารวมถึงพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาเพื่อ บังเกิดผลประโยชน์ในการมุ่งเน้ ... -
กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ศึกษากรณีความรับผิดของผู้จัดหาเลือดมนุษย์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับผิดของผู้จัดหาเลือด ภายใต้กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยศึกษาความเป็นมา แนวคิดเกี่ยวกับการให้หรือถ่ายเลือด สถานภาพทางกฎหมายของเลือด และพัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการกาหนดขอบเขตความหมายของสินค้า เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ว่าผู้จัดหาเลือดจะต้องรับผิดภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ตลอดจนเสนอ ... -
กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย กรณีศึกษา : ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการที่จำหน่ายรถยนต์ใช้แล้ว
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรถยนต์ใช้แล้วเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีมาตรการ ทางกฎหมายในการกำจัดรถยนต์ใช้แล้วที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป เหมือนต่างประเทศ ในขณะที่ ผู้บริโภคก็ออกรถยนต์ใหม่ทดแทนรถยนต์คันเก่า วิวัฒนาการขายรถยนต์ในยุคแรก รถยนต์คันเก่าก็จะ ถูกขายให้แก่ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้วส่วนหนึ่ง ที่ประเทศไทยเรียกว่า เต้นท์รถยนต์ หรือ ขายเต้นท์ รูปแบบการเสนอขายของเต้นท์ก็จะมีการลงหนังสือรถยนต์ต่าง ๆ รวมถึงต้องอยู่ในทำเลที่ดีที่ ผู้คนสัญจรไปมาเพื่อสร้างโอกาสในการขาย อีกส่วนหนึ่งจะเป็นการขายระหว่างผู้ใช้รถยนต์คนเก่า กับ ผู้บริโภคโดยตรง ... -
กฎหมายแรงงานในส่วนที่ไม่เป็นธรรมต่อนายจ้าง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาและบทบัญญัติของกฎหมาย แรงงานในส่วนที่ไม่เป็นธรรมต่อนายจ้างว่าเป็นเช่นไร และ 2. เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง บทบัญญัติของกฎหมายแรงงานให้เกิดความเป็นธรรมต่อนายจ้างเพิ่มขึ้น โดยศึกษาเปรียบเทียบ กฎหมายประเทศต่างประเทศ -
กระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม (Battered Woman Syndrome: BWS) โดยผู้เขียนได้แบ่งประเด็นกฎหมายเพื่อวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1 การนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญในกระบวนพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ 2 โครงสร้างความรับผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา รวมถึงวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ในการศึกษานี้ได้นำแนวคิดจากทฤษฎีวงจรความรุนแรง (Cycle Theory of Violence) และทฤษฎีความสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ ... -
กลไกในการระงับข้อพิพาทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ศึกษาเฉพาะกรณีละเมิดพันธกรณีด้านการค้าและการลงทุน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนกาลังเดินหน้าเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) แต่กลไกการระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนในปัจจุบัน ยังไม่ ครอบคลุมกรณีที่เกิดข้อพิพาทอันมีสาเหตุมาจากประเทศสมาชิกละเมิดพันธกรณีด้านการค้าและการ ลงทุนตามความตกลงระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งอ าจมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นภายหลังความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้แม้จะมีกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ที่ระบุหลักการระงับข้อพิพาทไว้ใน หมวดที่ 8 แต่ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่กาหนดวิธีการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีไว้อย่างกว้างๆ ไม่มี สภาพบังคับที่ชัดเจนแก่ ... -
การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น : ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการกระจายอานาจการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบการปกครองตนเอง ปัญหาและอุปสรรคของการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์แนวทางในการกระจายอานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นและรูปแบบการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด โดยมีขอบเขตการศึกษา คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เรื่อง การปกครองส่วนท้องถิ่นและร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องโดยวิเคราะห์โครงสร้าง อานาจหน้าที่ การกำกับดูแล การคลังและงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น ... -
การกำกับสื่อที่มีการหลอมรวมของช่องการสื่อสารข้อมูล: กรณีศึกษาการแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต (OTT)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
อินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะการใช้งานผ่านช่องทางอื่นนอกเหนือไปจากระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การรับชมโทรทัศน์ในรูปแบบของ Streaming หรือในรูปแบบการรับชมการแพร่ภาพและเสียงได้ตามเวลาที่ต้องการ (Video On Demand) ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ซึ่งการใช้งานลักษณะดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก จึงทำให้เกิดการให้บริการในลักษณะการแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต โดยที่ผู้ให้บริการไม่ต้องลงทุนโครงข่ายสัญญาณเอง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการให้บริการแบบ Over The Top (OTT) การให้บริการแบบ ... -
การกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทบนอินเทอร์เน็ต
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษาเรื่อง การกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท บนอินเทอร์เน็ต มีความมุ่งหมายและมีวัตถุประสงค์ในการที่จะทำการกำหนดหน้าที่ความรับผิดและ หลักเกณฑ์ข้อยกเว้นความรับผิดฐานหมิ่นประมาทให้แก่ผู้ให้บริการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้มีการศึกษา และวิเคราะห์ถึงลักษณะรูปแบบ วิธีการ รวมไปถึงประเภทของผู้ให้บริการ ซึ่งการวิเคราะห์ได้ทำการ พูดถึงขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมาย อาญาหรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความ ... -
การข่มขืนกระทำชำเราระหว่างคู่ชีวิตเพศเดียวกันศึกษากรณีมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
ในปี 2550 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเราตามมาตรา 276 ซึ่งการแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว ส่งผลให้การข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภรรยาเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา แต่สำหรับการข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภรรยานั้น กฎหมายได้บัญญัติ เหตุลดโทษให้กับผู้กระทำ หากเป็นการกระทำความผิดระหว่างสามีภรรยาไว้โดยเฉพาะ ซึ่งคำว่าสามี ภรรยาตามประมวลกฎหมายอาญา หมายความถึง บุคคลที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสมรสที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยต้องเป็นบุคคลที่มีเพศสภาพตามกำเนิดเป็นชายและหญิง เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันร่างพระร ... -
การควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
ในปัจจุบันประเทศไทยมีการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรอยู่อย่างแพร่หลาย แต่การประกอบวิชาชีพทัศนมาตรในประเทศไทยยังไม่มีบทกฎหมายใดๆเข้ามาควบคุมการประกอบวิชาชีพทัศนมาตรอย่างแท้จริงไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเข้าสู่วิชาชีพในการกำหนดคุณสมบัติความรู้พื้นฐานของผู้ที่จะทำการประกอบวิชาชีพและการพิจารณาอนุญาตให้ทำการประกอบวิชาชีพ การควบคุมการประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ, มาตรการบังคับให้การประกอบวิชาชีพเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด รวมทั้งบทกำหนดโทษแก่ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทัศนมาตรโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งผลให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ความสามารถในวิชาทัศ ... -
การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
ตามหลักการทั่วไปทางด้านการคลังและงบประมาณของการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย การจ่ายเงินแผ่นดินจะต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายนิติบัญญัติก่อน โดยฝ่ายบริหารเป็น ผู้จัดทำงบประมาณในรูปแบบของร่างพระราชบัญญัติ และเอกสารงบประมาณ เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมและตรวจสอบตามกระบวนการพิจารณาอนุมัติกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเมื่อกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประกาศใช้บังคับแล้วฝ้ายบริหารก็จะต้องใช้จ่ายงบประมาณ ตามวัตถุประสงค์ วงเงิน และระยะเวลาตามที่ฝ่ายนิติบัญญัตินุมัติ อย่างไรก็ดี เพื่อให้การใช้จ่าย งบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่า และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ ... -
การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิและสิทธิของผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่น
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็น องค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่มีความสาคัญเป็นอย่างมากเพราะสามารถใช้ เป็นฐานข้อมูล เพื่อนาไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้อย่าง มหาศาลซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นจะมี คุณค่ามาก ขึ้นเมื่อได้ผ่านการ ทดลอง ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาต่อยอดไปจาก องค์ความรู้เดิมซึ่งการ ดาเนินการดังกล่าว ปัจจัยที่สาคัญและมีความ จาเป็น ก็คือต้อง อาศัยทุนจานวนมาก และ ความ เจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และจากสาเหตุนี้เองจึงทาให้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นมักจะ ถูกละเมิดจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีความได้เปรียบในด้าน ทุนและเทคโนโลยี ประกอบกับ แนวความ ... -
การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย : ศึกษาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 1999
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
เนื่องจากสถานการณ์ที่ประเทศไทยต้องประสบปัญหาจากบริษัทต่างชาติได้นำภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทย ไปแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาต่อยอดและขอรับสิทธิบัตร แต่ ไม่ได้แบ่งปันผลประโยชน์นั้นให้แก่จ้ำของภูมิปัญญาอย่างเป็นธรรม ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประกาศใช้ กฎหมายดังกล่าวประเทศไทยก็ยังคงประสบปัญหาลักษณะเดิมอยู่ ทำให้ผู้เขียนสนใจศึกษาถึงแนว ทางการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้ ... -
การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
พืชถือเป็นพื้นฐานของปัจจัยสี่ที่มนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยและเป็นสิ่งที่มีความสาคัญกับชีวิตมนุษย์มากที่สุด โดยประชากรส่วนใหญ่บนโลกล้วนอาศัยพืชเป็นปัจจัยในการดารงชีวิตไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยารักษาโรคต่างๆ และยิ่งประชากรบนโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องย่อมส่งผลให้พืชยิ่งทวีความสาคัญมากขึ้นไปด้วย ในขณะที่ปัจจุบันสังคมมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ การนาเอาความเจริญก้าวหน้าในด้านเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับพืช ย่อมเป็นผลดีต่อประชากรโลก ซึ่งการพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใช้แนวความคิด“การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เป็นหลักเพื่อคำนึงถึงก ... -
การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในการมาปรับใช้กับสมุนไพรไทย
(สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจและทางวิทยาศาสตร์ไป อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามกระแสแห่งการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรชีวภาพอย่าง ยั่งยืนและเพื่อการรักษาทรัพยากรชีวภาพอย่างสมดุลกลับมีมากขึ้น ทุกคนต่างคำนึงถึงความสำคัญ ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปรับใช้กับพืชสมุนไพร ที่เป็นองค์ความรู้จากการใช้ทักษะ ความรู้ หรือ ประสบการณ์ของคนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆจากการเรียนรู้ การแก้ปัญหา ตลอดจนทักษะเหล่านั้นได้ ถ่ายทอดจากคนอีกรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยพืชสมุนไพรนั้นมีประโยชน์นานัปการต่อการดำรงชีพ และประเทศที่พัฒนาแล้ ... -
การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน : ศึกษาเฉพาะกรณีคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงหลักการดําเนินคดีอาญาในชั้นสอบสวน โดยเฉพาะคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง ซึ่งโดยหลักแล้วต้องดําเนินคดีด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม แต่ต้องคํานึงถึงการให้ระยะเวลาเตรียมคดีพอสมควร รวมถึงสิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ และความเท่าเทียมกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสิทธิทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิทธิที่ผู้ต้องหาพึงจะต้อง ได้รับความคุ้มครองเพราะเป็นผู้ถูกจํากัดสิทธิโดยตรงจากรัฐ และสิทธิทั้งหลายเหล่านี้เป็นหลักสากลที่ นานาอารยประเทศยอมรับและยึดถือตลอดมา โดยในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง ... -
การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการดักฟังทางโทรศัพท์และการได้มาซึ่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 14 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013);
ในการก่ออาชญากรรมในคดียาเสพติดล้วนแล้วแต่มีผลประโยชน์มหาศาลมาเกี่ยวข้องทำให้การวางแผนการในการกระทำความผิดมีความซับซ้อนมีกิจกรรมในองค์กรหลายลักษณะ ฉะนั้นองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบในการแสวงหาข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานในการที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ มิเช่นนั้นสังคมก็จะดำรงอยู่ไม่ได้ เพราะเหตุนี้เองในพฤติการณ์พิเศษในบางกรณีเจ้าพนักงานของรัฐจำเป็นต้องนำมาตรการสืบสวนวิธีพิเศษสมัยใหม่ให้มีความทันสมัยต่อเทคโนโลยีและการพัฒนารูปแบบของการกระทำความผิด วิธีการสืบสวนสอบสสวนที่เคยใช้อยู่เดิมจึงไม่อาจนำตัวผู้กระทำควา ... -
การคุ้มครองแรงงานจากการหยุดกิจการชั่วคราว กรณีกิจการนายจ้างประสบอุทกภัย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
มหาอุทกภัยปี 2554 นับได้ว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยสร้างความเดือดร้อนเสียหายทั้งทรัพย์สิน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการสูญเสียชีวิตโดยเฉพาะสถานประกอบกิจการที่ได้รับความเสียหายส่งผลให้นายจ้างจำนวนไม่น้อยตัดสินใจหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยครั้งนั้นจนไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ โดยมิได้ประสงค์จะหยุดกิจการเป็นการถาวร เมื่อกิจการนายจ้างประสบอุทกภัยก็ย่อมส่งผลต่อสถานภาพของแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ -
การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาโดยประชาชน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการถอดถอน ผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกรัฐสภาโดยประชาชน การถอดถอนเป็นกระบวนการตรวจสอบการใช้อํานาจ รัฐที่สําคัญที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทางการเมือง โดยการถอดถอนนั้นมี 2 ประเภท คือ การ ถอดถอนแบบการขับออกจากตําแหน่ง (Impeachment) และการปลดออกจากตําแหน่ง (Recall) ในแต่ละประเทศการถอดถอนผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกรัฐสภาในประเทศต่างๆใช้รูปแบบการถอดถอนที่ แตกต่างกันไป โดยในที่นี้ได้ยกถึงประเทศที่ใช้รูปแบบการขับออกจากตําแหน่ง (Impeachment) ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเกาหลีใต้ ...