Browsing GSL: Theses by Author "วราภรณ์ วนาพิทักษ์"
Now showing items 1-20 of 27
-
การกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทบนอินเทอร์เน็ต
ธนาพร ก้องวโรดม; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การศึกษาเรื่อง การกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท บนอินเทอร์เน็ต มีความมุ่งหมายและมีวัตถุประสงค์ในการที่จะทำการกำหนดหน้าที่ความรับผิดและ หลักเกณฑ์ข้อยกเว้นความรับผิดฐานหมิ่นประมาทให้แก่ผู้ให้บริการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้มีการศึกษา และวิเคราะห์ถึงลักษณะรูปแบบ วิธีการ รวมไปถึงประเภทของผู้ให้บริการ ซึ่งการวิเคราะห์ได้ทำการ พูดถึงขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมาย อาญาหรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความ ... -
การนับอายุความร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้ กรณีผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ
รังสิมา ดาราพงษ์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
วิทยานิพนธ์เล่มนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเรื่องการนับอายุความร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้ กรณีผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดอันยอมความได้ ทั้งในเรื่องการร้องทุกข์ การฟ้องร้องดำเนินคดี อายุความ และการนับอายุความกรณีผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมย ... -
การบังคับใช้กฎหมายควบคุมการพนันออนไลน์ : ศึกษาเฉพาะกรณีเกมสังคมออนไลน์
ชาตบุษย์ ฮายุกต์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการพนันออนไลน์ซึ่งจะได้ศึกษา กรณีเกมสังคมออนไลน์ที่มีรูปแบบการเล่นเสมือนการเล่นการพนัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ขอบเขตในการปรับใช้กฎหมายของพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ทั้งในเรื่องของคํานิยาม การกําหนดฐานความผิดและบทลงโทษ หน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการ พนัน รวมถึงมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเล่นการพนัน พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 มีปัญหาทางกฎหมายหลาย ประการ ได้แก่ ปัญหาในการตีความทางกฎหมาย ... -
การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับฟิชชิ่ง
กุลธิดา อาธิเจริญสุข; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันพัฒนามาจากอาชญากรรมแบบเดิมโดยมีความ ร้ายแรงและสะดวกรวดเร็วทั้งยังแนบเนียนกว่าอาชญากรรมแบบเดิม โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่าง รวดเร็วเป็นเครื่องมือ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีหลากหลายและทวีความรุนแรงก่อให้เกิด ความเสียหายมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบฟิชชิ่ง (Phishing) ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจํานวนมหาศาลรวมไปถึงขัดต่อหลักความสงบ เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สําหรับการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษา แนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และฟิชชิ่ง ... -
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองเขตวังทองหลาง
พรรณิลัย นิติโรจน์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้บริหารและคณะทางานฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สานักงานเขตวัง ทองหลาง และผู้นาชุมชน เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การจัดทาแผนชุมชนพึ่งตนเองของเขตวังทองหลาง ผลที่ได้จากการศึกษาโดยรวมพบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนการวางแผน และ การประเมินผลการดาเนินงานตามชุมชนพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นแผนที่ได้รับการกาหนดมาแล้วจากกรุงเทพมหานคร โดยการจัดทาโครงการโดยสานัก พัฒนาสังคม ... -
การใช้มาตรการ ทางเลือกในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของประเทศไทย
ฐานนันต์ ศรีแสงฉาย; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงหลักเกณฑ์ รูปแบบ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับผู้เข้ารับการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติตามพระราช บัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 และทราบถึงการใช้มาตรการทางเลือกในการ บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 โดยทั้งนี้ต้องสามารถเข้าใจปัญหาและอุปสรรคในการใช้มาตรการทางเลือกในการ บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทั้งระบบบังคับบําบัด และระบบสมัครใจ เพื่อนํามา เสนอแนวทางในการกําหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับกา ... -
ความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศ
สุริศา นิยมรัตน์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของสังคมไทยในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นความผิด เกี่ยวกับเพศที่เกิดขึ้นง่ายที่สุดในสังคม ทั้งยังเพิ่มจํานวนและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความ เข้าใจที่คนทั่วไปในสังคมมีต่อการคุกคามทางเพศยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดบ้างที่สามารถ เรียกได้ว่าเป็นการคุกคามทางเพศ ตลอดจนการที่กฎหมายปัจจุบันที่ยังไม่ตอบสนองต่อการป้องกันและ ปราบปรามการคุกคามทางเพศ ปัญหานี้จึงยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควร ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมาย รูปแบบ ลักษณะของพฤติกรรมในการคุกคามทางเพศ รวมทั้ง ผลกระทบของปัญห ... -
ความรับผิดอาญาในการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยเจตนา
ณัฏฐนันท์ อาจวารินทร์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
วิทยานิพนธ์เรื่อง ความรับผิดอาญาในการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยเจตนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวคิดและนำเสนอความสำคัญของการกำหนดความรับผิดอาญาในการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยเจตนา ไม่รวมถึงการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยประมาท และไม่รวมถึงความรับผิดทางแพ่งหรือมาตรการทางกฎหมายอื่น ๆ ในการควบคุมการแพร่เชื้อเอชไอวี โดยศึกษาจากกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อกำหนดความรับผิดอาญาในการแพร่เชื้อเอชไอวีโดยเจตนา เหมือนเช่นในต่างประเทศที่ระบุเป็นความผิดโดยตรงและไม่ได้บัญญัติไว้เป็นฐานความผิดในประมวลกฎหมายอาญา หรือไม่เคย ... -
ความเป็นธรรมของการเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา
ระชานันท์ เฉลิมกิจ; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา คือ กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงก่อนการพิจารณา คดี ซึ่งคู่ความแต่ละฝ่ายจะได้ล่วงรู้ถึงพยานหลักฐานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งประสงค์จะอ้างอิงเป็น พยานหลักฐานของตน การเปิดเผยพยานหลักฐานก่อนการพิจารณาคดีอาญา จึงเป็นกระบวนการหนึ่ง ของวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพัฒนาแนวความคิดพื้นฐานจากหลักการของกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาที่สําคัญ เป็นการยืนยันถึงหลักประกันแก่ผู้ต้องหาหรือจําเลยในการได้รับการพิจารณาคดี อย่างเป็นธรรม (Fair Trial) ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) การดําเนินคดีอาญาเป็นไปตามหลักการ ดําเนินคดีอาญาโดยรัฐ (State ... -
ปัญหาการตรวจสอบการจับกุมเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
พิชญ์สินี วงศ์ปราโมทย์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการตรวจสอบการ จับกุมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 โดยศึกษาแนวทางปฏิบัติของกระบวนการจับกุมเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายทั้งของ ประเทศไทยและของต่างประเทศ รวมถึงวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ ตรวจสอบการจับกุมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 เนื่องจากพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติตามพระราชบัญ ... -
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชน
กิตตาพงษ์ ช่ำชอง; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดี อาญาเด็กและเยาวชน ได้มุ่งเน้นการศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการด้าเนินคดีอาญา การคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพ และกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงศึกษาและ วิเคราะห์การบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการด้าเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชนทั้งในส่วนของประเทศ ไทยและของต่างประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ อังกฤษ จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติทางกฎหมายในส่วนของการบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาเด็กและเยาวชนนั้น ยังมีข้อบกพร่องและปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งในส่วนของ ... -
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกเด็กบนอินเทอร์เน็ต
กรรณิการ์ รอดมา; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกเต็ก บนอินเทอร์เน็ต โดยศึกษาวิเคราะห์แนงทางการบังคับใช้กฎหมายของต่างประเทศและกฎหมาย ประเทศไทยตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศ และมาตรการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาตังกล่าว เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสื่อลามกเต็กบนอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่พัฒนาการทางเทคโนโลยีในปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาสื่อลามกเด็กบน อินเทอร์เน็ดเพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถใช้สื่อตังกล่าวในการเผยแพร่ และเข้าถึงเนื้อหาลา ามกเหล่านี้ ไต้โดยง่าย ทำให้จำนวนของสื่อลามกเ ... -
ปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการขอหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามมาตรา 18 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
แพรวนภา กองทิพย์; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
ปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการขอหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ความผิด ตามมาตรา 18 และ มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการ ขอหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามมาตรา 18 และ มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ของประเทศไทยเปรียบเทียบกฎหมายของ ต่างประเทศ ตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศ และมาตรการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว เพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ย ... -
ปัญหาการให้ความยินยอมในการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของเด็กและเยาวชน
ธีรพันธ์ ก๋ำดารา; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
วิทยานิพนธ์เล่นนี้ได้ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการนำเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา เข้าสู่แผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู อันเป็นการคุ้มครองเด็กที่กระทำความผิด และเพื่อให้เด็กกลับเป็นคนดีคืน สู่สังคม อีกทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่ต้นเหตุ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญาว่า ด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิก โดยวิธีการศึกษาวิจัยกฎหมายของต่างประเทศเพื่อ นำสิ่งที่กฎหมายต่างประเทศมีลักษณะอันไปตามวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมากกว่า ของประเทศไทย อันประกอบไปด้วย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศ แคนาดา และ ... -
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545
ฐาปนี อิ่มวิเศษ; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
ประเทศไทยได้ประสบปัญหายาเสพติดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และได้มีการพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาตรการทางกฎหมายเพื่อขจัดปัญหายาเสพติดอยู่ตลอดเวลา โดยได้มีมาตรการในการ จัดการปัญหายาเสพติดดังนี้ 1. มาตรการป้องกันมิให้ประชาชนยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 2. มาตรการปราบปรามลงโทษผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 3. มาตรการบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งมาตรการบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนับเป็นมาตรการที่สําคัญ โดยมองว่าผู้ติด ยาเสพติดคือผู้ป่วย จําต้องได้รับการบําบัดรักษาเพื่อกลับคืนเป็นคนดีสู่สังคมให้เร็วที่สุด เพราะผู้ที่เสพ สารเสพติดเข้าไป ... -
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยใช้ระบบบิทคอยน์
กษิดิศ ทองวิเศษสุข; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
วิทยานิพนธ์เรื่องปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยใช้ ระบบบิทคอยน์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงประวัติ ความหมาย ความเป็นมาของสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน รวมถึงสถานะทางกฎหมาย และศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย สถานะทางกฎหมายของ บิทคอยน์ และหลักการสําคัญเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อนํามาเปรียบเทียบ กับลักษณะของระบบบิทคอยน์ และสถานะทางกฎหมายของบิทคอยน์ ตลอดจนศึกษาถึงแนวคิดและ ทฤษฏีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย จากการศึกษาพบว่า บิทคอยน์เป ... -
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษ : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
นพวรรณ หล่อปัญญากิจการ; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษของการทาง พิเศษแห่งประเทศไทย เป็นการศึกษาในเชิงสังคมวิทยา โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสารและข้อมูลจาก การสัมภาษณ์จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ และดูแลรักษาพื้นที่ แนวคิด ทฤษฎี ข้อ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง บทความ และงานวิจัยต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษของรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ที่ได้มีทางยกระดับและการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษและประสบความสำเร็จมาแล้ว เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษของการทางพิเศษฯ เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อประชาชน ... -
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ
ธัญธิดา รัตนวิเชียร; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
วิทยานิพนธ์เรื่องการสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะหฺ์ความเหมาะสมและปัญหาการสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทาง จอภาพ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ซึ่งจะนําไปสู่บทสรุป และข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดข้ึน รวมถึงการปรับปรุง พัฒนา ให้การสืบพยานบุคคลคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพมีความเหมาะสมและมีความ น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น -
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาในอาเซียน
พีรพงศ์ เกิดมงคล; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)
สำหรับการศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่าง ประเทศในเรื่องทางอาญาในอาเซียน” ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดทั่วไปที่เกี่ยวข้อง กับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาในอาเซียน เพื่อศึกษารูปแบบและหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาระหว่างประเทศกับประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง ในรูปแบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบและหลักเกณฑ์ความร่วมมือระหว่าง ประเทศดังกล่าวกับสหภาพยุโรป ตลอดจน เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความร่วมมือ ระหว่างประเทศ จากการศึกษาพบสภาพปัญหา ... -
ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาการพนันออนไลน์
อรพิณ ปานเกษม; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาถึงนิยามความหมายตลอดจนรูปแบบต่าง ๆ ของการโฆษณาการพนันออนไลน์และวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการโฆษณาการพนันออนไลน์ที่เกิดขึ้น ในปัจจุบัน 2. ศึกษาและค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดความรับผิดสำหรับการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับการโฆษณาการพนันออนไลน์ และ 3. ศึกษาและค้นหาแนวทางที่เหมาะสมใน การกำหนดบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับการโฆษณาการพนันออนไลน์ โดยวิธีการศึกษานั้นเป็นการศึกษานิยามความหมายตลอดจนถึงรูปแบบและลักษณะต่าง ๆ ของโฆษณาการพนันออนไลน์ในปัจจุบัน ซึ่งรวมไปถึงการศึกษาความหมาย ความเป็นมา รูปแบบ ...