Browsing GSL: Theses by Subject "วิธีพิจารณาความอาญา"
Now showing items 1-4 of 4
-
กระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม (Battered Woman Syndrome: BWS) โดยผู้เขียนได้แบ่งประเด็นกฎหมายเพื่อวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1 การนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญในกระบวนพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ 2 โครงสร้างความรับผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา รวมถึงวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ในการศึกษานี้ได้นำแนวคิดจากทฤษฎีวงจรความรุนแรง (Cycle Theory of Violence) และทฤษฎีความสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ ... -
ความเป็นธรรมของการเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา คือ กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงก่อนการพิจารณา คดี ซึ่งคู่ความแต่ละฝ่ายจะได้ล่วงรู้ถึงพยานหลักฐานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งประสงค์จะอ้างอิงเป็น พยานหลักฐานของตน การเปิดเผยพยานหลักฐานก่อนการพิจารณาคดีอาญา จึงเป็นกระบวนการหนึ่ง ของวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพัฒนาแนวความคิดพื้นฐานจากหลักการของกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาที่สําคัญ เป็นการยืนยันถึงหลักประกันแก่ผู้ต้องหาหรือจําเลยในการได้รับการพิจารณาคดี อย่างเป็นธรรม (Fair Trial) ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) การดําเนินคดีอาญาเป็นไปตามหลักการ ดําเนินคดีอาญาโดยรัฐ (State ... -
ปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการขอหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามมาตรา 18 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
ปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการขอหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ความผิด ตามมาตรา 18 และ มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการ ขอหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามมาตรา 18 และ มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ของประเทศไทยเปรียบเทียบกฎหมายของ ต่างประเทศ ตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศ และมาตรการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว เพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ย ... -
อำนาจการสอบสวนคดีความผิดที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักร : ศึกษากรณีพนักงานอัยการกับดีเอสไอ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
จากสภาพอาชญากรรมที่มีลักษณะยุ่งยาก สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทำให้การรวบรวม พยานหลักฐานในการกระทำความผิดเป็นไปได้ยากประกอบกับเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดในปัจจุบันไม่สามารถที่จะปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างทันท่วงทีและมี ประสิทธิภาพเท่าที่ควร จนอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติได้ ทั้งการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทยยังคงขาดความเชื่อมโยงและการบูรณาการร่วมกันทำ ให้บาปเคราะห์ยังคงเกิดแก่ประชาชนอยู่เอง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นจากความจำกัดดังกล่าวของหน่วยงานตำรวจอย่ ...