การค้นคืนภาพเชิงเนื้อหาโดยใช้ 2-แกรมของรหัสเชิงคำของซุปเปอร์พิกเซลเพื่อนบ้านตามเข็มนาฬิกา
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
27 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190228
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ณฐวร ตันเจริญ (2015). การค้นคืนภาพเชิงเนื้อหาโดยใช้ 2-แกรมของรหัสเชิงคำของซุปเปอร์พิกเซลเพื่อนบ้านตามเข็มนาฬิกา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4431.
Title
การค้นคืนภาพเชิงเนื้อหาโดยใช้ 2-แกรมของรหัสเชิงคำของซุปเปอร์พิกเซลเพื่อนบ้านตามเข็มนาฬิกา
Alternative Title(s)
Content-based imase retrieval sing 2-Grams of visual word IDs of clockwise successive neighbors of superpixels
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การค้นคืนภาพด้วยเนื้อหา (Content Based Image Retrieval) นั้นจะต้องอาศัยการคำนวณหา
ค่าความคล้ายระหว่างภาพสอบถาม (Query Image) และรูปภาพในฐานข้อมูลเพื่อคัดเลือกรูปภาพในฐานข้อมูลที่มีความคล้ายกับภาพสอบถามให้มากที่สุด งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีหาค่าความคล้ายของ
รูปภาพแบบใหม่ที่คำนวณจาก 2-Gram หรือ Bigram ของรหัสเชิงคำ (Visual Word IDs) ของ
ซุปเปอร์พิกเซล (Superpixel) เพื่อนบ้านตามเข็มนาฬิกา วิธีการนี้จะเริ่มจากการแบ่งรูปภาพแต่ละ
ภาพในฐานข้อมูลมาออกเป็นส่วนเล็กๆที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ที่เรียกว่า ซุปเปอร์พิกเซล หลังจาก
นั้นทำการคำนวณหาเวกเตอร์เฉพาะ (Feature Vector) ของแต่ละซุปเปอร์พิกเซลของทุกรูปภาพใน
ฐานข้อมูลจากลักษณะสีและลักษณะพื้นผิวของซุปเปอร์พิกเซล นำเวกเตอร์เฉพาะของซุปเปอร์
พิกเซลทั้งหมดมาจัดกลุ่มด้วยวิธีการแบบ K-Means รหัสกลุ่มของแต่ละซุปเปอร์พิเซล จะใช้เป็น
รหัสเชิงคำ ของซุปเปอร์พิกเซลนั้นๆ จุดศูนย์กลางของกลุ่มจะถูกเก็บไว้เพื่อใช้กำหนดรหัสเชิงคำของซุปเปอร์พิกเซลในภาพสอบถาม หลังจากนั้น 2-Gram ของรหัสเชิงคำ ของซุปเปอร์พิกเซลเพื่อนบ้านตามเข็มนาฬิกา ณ ซุปเปอร์พิกเซลใดๆ ในรูปภาพจะถูกนับเพื่อสร้าง Histogram การคำนวณหาค่าความคล้ายของภาพสองภาพใดๆ จะใช้ค่า Cosine Similarity ระหว่าง Histogram ของภาพทั้งสอง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอนี้ สามารถค้นคืนภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าวิธีการเดิมบางวิธีและเป็นไปได้ว่าอาจนำไปประกอบกับคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ ของภาพเพื่อทำให้การค้นคืนภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ในอนาคต
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558