• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย

by จุฑามาศ สิทธิชัย

Title:

แนวทางสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย

Other title(s):

Guidelines for the success of green building in Thailand

Author(s):

จุฑามาศ สิทธิชัย

Advisor:

วิสาขา ภู่จินดา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย ศึกษาปัจจัยสำคัญที่นาไปสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย และเสนอแนวทางการดำเนินการพัฒนาอาคารเขียวของประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย ผู้กำหนดเกณฑ์การประเมิน และการลงพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคารเขียวที่ผ่านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวแบบต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 เกณฑ์การประเมิน ซึ่งได้แก่ LEED, BREEAM, CASBEE, TEEAM และ TREES และนำผลการศึกษาที่ได้มาสรุปเชิงพรรณนาความ
จากผลการศึกษาด้านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว พบว่า เกณฑ์การประเมินส่วนใหญ่ต่างมีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอาคาร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบด้านลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงาน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย พบว่า เกณฑ์การประเมินอาคารเขียวที่ใช้ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปขาดความรู้และความเข้าใจในด้านอาคารเขียว ขาดการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้สร้างเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของภาครัฐและภาคเอกชน และในปัจจุบันเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยยังมีไม่ครอบคลุมกับอาคารทุกประเภท จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว สำหรับปัจจัยสาคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย ได้แก่ นโยบายจากภาครัฐต้องมีความชัดเจน มีการสร้างเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้นำองค์กรกับพนักงาน และมีการประชาสัมพันธ์
แนวทางการดำเนินการพัฒนาอาคารเขียวของประเทศไทย ออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะสั้น คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านอาคารเขียว การส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนจัดประชุมพร้อมทั้งจัดให้มีการประกวดอาคารประหยัดพลังงาน และการสนับสนุนด้านสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนระยะกลาง ได้แก่ การสนับสนุนให้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการก่อสร้างอาคารเขียวในภูมิภาคต่าง ๆ ภายในประเทศ และการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์การเกี่ยวกับอาคารเขียวโดยตรง และส่วนระยะยาว ได้แก่ การสนับสนุนนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารเขียว และการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านอาคารเขียวโดยตรง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาอาคารประเภท อื่น ๆ ให้เป็นอาคารเขียวต่อไป

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

การจัดการสิ่งแวดล้อม -- มาตรฐาน
อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน
สิ่งแวดล้อม -- การประเมิน
อาคารชุด -- แง่สิ่งแวดล้อม

Keyword(s):

วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม
อาคารประหยัดพลังงาน
อาคารสีเขียว

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

265 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4433
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190475.pdf ( 1,876.85 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [91]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×