แนวทางสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
265 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190475
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จุฑามาศ สิทธิชัย (2015). แนวทางสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4433.
Title
แนวทางสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย
Alternative Title(s)
Guidelines for the success of green building in Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย ศึกษาปัจจัยสำคัญที่นาไปสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย และเสนอแนวทางการดำเนินการพัฒนาอาคารเขียวของประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย ผู้กำหนดเกณฑ์การประเมิน และการลงพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคารเขียวที่ผ่านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวแบบต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 เกณฑ์การประเมิน ซึ่งได้แก่ LEED, BREEAM, CASBEE, TEEAM และ TREES และนำผลการศึกษาที่ได้มาสรุปเชิงพรรณนาความ
จากผลการศึกษาด้านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว พบว่า เกณฑ์การประเมินส่วนใหญ่ต่างมีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอาคาร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบด้านลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงาน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย พบว่า เกณฑ์การประเมินอาคารเขียวที่ใช้ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปขาดความรู้และความเข้าใจในด้านอาคารเขียว ขาดการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้สร้างเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของภาครัฐและภาคเอกชน และในปัจจุบันเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยยังมีไม่ครอบคลุมกับอาคารทุกประเภท จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว สำหรับปัจจัยสาคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย ได้แก่ นโยบายจากภาครัฐต้องมีความชัดเจน มีการสร้างเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้นำองค์กรกับพนักงาน และมีการประชาสัมพันธ์
แนวทางการดำเนินการพัฒนาอาคารเขียวของประเทศไทย ออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะสั้น คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านอาคารเขียว การส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนจัดประชุมพร้อมทั้งจัดให้มีการประกวดอาคารประหยัดพลังงาน และการสนับสนุนด้านสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนระยะกลาง ได้แก่ การสนับสนุนให้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการก่อสร้างอาคารเขียวในภูมิภาคต่าง ๆ ภายในประเทศ และการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์การเกี่ยวกับอาคารเขียวโดยตรง และส่วนระยะยาว ได้แก่ การสนับสนุนนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารเขียว และการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านอาคารเขียวโดยตรง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาอาคารประเภท อื่น ๆ ให้เป็นอาคารเขียวต่อไป
จากผลการศึกษาด้านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว พบว่า เกณฑ์การประเมินส่วนใหญ่ต่างมีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอาคาร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบด้านลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงาน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย พบว่า เกณฑ์การประเมินอาคารเขียวที่ใช้ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปขาดความรู้และความเข้าใจในด้านอาคารเขียว ขาดการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้สร้างเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของภาครัฐและภาคเอกชน และในปัจจุบันเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยยังมีไม่ครอบคลุมกับอาคารทุกประเภท จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว สำหรับปัจจัยสาคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย ได้แก่ นโยบายจากภาครัฐต้องมีความชัดเจน มีการสร้างเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้นำองค์กรกับพนักงาน และมีการประชาสัมพันธ์
แนวทางการดำเนินการพัฒนาอาคารเขียวของประเทศไทย ออกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะสั้น คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านอาคารเขียว การส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนจัดประชุมพร้อมทั้งจัดให้มีการประกวดอาคารประหยัดพลังงาน และการสนับสนุนด้านสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนระยะกลาง ได้แก่ การสนับสนุนให้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการก่อสร้างอาคารเขียวในภูมิภาคต่าง ๆ ภายในประเทศ และการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์การเกี่ยวกับอาคารเขียวโดยตรง และส่วนระยะยาว ได้แก่ การสนับสนุนนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารเขียว และการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านอาคารเขียวโดยตรง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาอาคารประเภท อื่น ๆ ให้เป็นอาคารเขียวต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558