แนวทางการส่งเสริมการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
161 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190477
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธัญญ์ฐิตา เสถียรนนท์ชัย (2015). แนวทางการส่งเสริมการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4439.
Title
แนวทางการส่งเสริมการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
Alternative Title(s)
Guidelines for encouraging the green meeting in Thailand
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย กรณีศึกษาองค์กรภาคเอกชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรภาคบริการ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดประชุมสีเขียว ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการจัดประชุมสีเขียว ทำการรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์การจัดประชุมสีเขียวและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ประสานงานขององค์กรภาคเอกชน และองค์กรภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการ TBCSD Green Meeting และผ่านการตรวจประเมินเพื่อพิจารณารับรองการจัดประชุมสีเขียว โดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development: TBCSD) ร่วมกับนักวิชาการจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งการรับรองแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Green Meeting และ Green Meeting Plus ทำการเลือกตัวอย่างมา 11 องค์กร ได้แก่ ภาคเอกชน 9 แห่ง และภาครัฐ 2 แห่ง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาพรรณนาความ หาปัจจัยและปัญหาที่มีผลต่อการจัดประชุมสีเขียว แล้วทำการวิเคราะห์โดยใช้ SWOT Analysis เพื่อหาแนวทางการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทในประเทศไทยต่อไป
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการจัดประชุมสีเขียวมากที่สุดคือ นโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร รองลงมาคือ ความร่วมมือของพนักงานในองค์กร ในด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดประชุมสีเขียวพบว่าการขาดความร่วมมือของพนักงานหรือผู้เข้าร่วมประชุมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเพียงพอและความเหมาะสมของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในการรับรองการจัดประชุมสีเขียว สำหรับแนวทางในการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมี 4 แนวทางหลัก คือ 1) การเสริมสร้างความรู้ความตระหนักและประชาสัมพันธ์ด้านการจัดประชุมสีเขียว 2) ประสานความร่วมมือ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามาช่วยดำเนินงานด้านการจัดประชุมสีเขียว 3) การพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้การฝึกอบรมด้านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รองรับการจัดประชุมสีเขียวให้กับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ 4) การจัดทำต้นแบบของผู้บริหารหรือผู้นำ โดยมีแนวปฏิบัติจากผู้บริหาร เช่น การประหยัดพลังงาน และใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการจัดประชุมสีเขียวมากที่สุดคือ นโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร รองลงมาคือ ความร่วมมือของพนักงานในองค์กร ในด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดประชุมสีเขียวพบว่าการขาดความร่วมมือของพนักงานหรือผู้เข้าร่วมประชุมมากที่สุด รองลงมาคือ ความเพียงพอและความเหมาะสมของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในการรับรองการจัดประชุมสีเขียว สำหรับแนวทางในการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมี 4 แนวทางหลัก คือ 1) การเสริมสร้างความรู้ความตระหนักและประชาสัมพันธ์ด้านการจัดประชุมสีเขียว 2) ประสานความร่วมมือ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามาช่วยดำเนินงานด้านการจัดประชุมสีเขียว 3) การพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้การฝึกอบรมด้านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รองรับการจัดประชุมสีเขียวให้กับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ 4) การจัดทำต้นแบบของผู้บริหารหรือผู้นำ โดยมีแนวปฏิบัติจากผู้บริหาร เช่น การประหยัดพลังงาน และใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558