• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทำสวนยางพารา กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

by กาสูหรี สาอีซา

Title:

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทำสวนยางพารา กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

Other title(s):

Greenhouse gas emissions from rubber plantation, Songkhla Province

Author(s):

กาสูหรี สาอีซา

Advisor:

วิสาขา ภู่จินดา

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทาสวนยางพารา กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ปัจจัยนำเข้า เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย ยาปราบวัชพืช เป็นต้น ตั้งแต่กระบวนการปลูกยางพารา กระบวนการดูแลยางพาราก่อนกรีด กระบวนการดูแลยางพาราหลังกรีด กระบวนการกรีดและจำหน่ายผลผลิต (น้ำยาง) จากการศึกษา พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมมากที่สุดตั้งแต่กระบวนการปลูกยางพาราจนกระทั่งกระบวนการจำหน่ายผลผลิต (น้ำยาง) เท่ากับ 1,587.272 kgCO2eq/ไร่ /ปี โดยกระบวนการกรีดยางและจำหน่ายผลผลิต (น้ำยาง) เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด และจากการกำหนดสถานการณ์ทั้งหมด 3 สถานการณ์ ได้แก่ 1) การใช้แรงงานคนในการเตรียมพื้นที่กับการใช้เครื่องจักรในการเตรียมพื้นที่ 2) การใส่ปุ๋ยเคมีในการบำรุงรักษาหลังกรีดกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการบำรุงรักษาหลังกรีด และ 3) การใช้ยาปราบวัชพืชกำจัดวัชพืชหลังกรีดกับการใช้เครื่องตัดหญ้ากำจัดวัชพืชหลังกรีด พบว่าการทำสวนยางพาราที่ใช้แรงงานคนในการเตรียมพื้นที่ ใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงรักษายางพาราหลังกรีด และใช้ยาปราบวัชพืชในการกำจัดวัชพืชหลังกรีด มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด เท่ากับ 158.958 kgCO2eq/ไร่ /ปี และการทำสวนยางพาราที่ใช้แรงงานคนในการเตรียมพื้นที่ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการบำรุงรักษายางพาราหลังกรีดและใช้เครื่องตัดหญ้าในการกำจัดวัชพืชหลังกรีดมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด เท่ากับ 15.900 kgCO2eq/ไร่/ปี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้เพื่อหาแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทำสวนยางพาราและเผยแพร่ข้อมูลแก่เกษตรกรผู้ทาสวนยางพาราเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

ก๊าซเรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ
ยางพารา -- แง่สิ่งแวดล้อม -- สงขลา -- รัตภูมิ -- เขาพระ
การจัดการสิ่งแวดล้อม -- สงขลา -- รัตภูมิ -- เขาพระ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

140 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4441
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
b190478.pdf ( 2,451.02 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [37]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×