แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชัน
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
175 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190463
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กนกกาญจน์ น้อยนาช (2015). แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชัน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4442.
Title
แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชัน
Alternative Title(s)
Sustainable development of eco-industrial-town : a case study of Bangchan Industrial Estate
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมบางชันสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และเสนอแนวทางในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นศึกษาการดำเนินงานจากการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลแบบปฐมภูมิ คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่ม ได้แก่ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชน และการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ รวมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการพัฒนาด้วย SWOT Analysis และเสนอกลยุทธ์ในการพัฒนาด้วย TOWS Matrix Analysis และ Sustainable Balance Scorecards (SBSC) รวมทั้งสรุปผลการศึกษาด้วยแผนที่กลยุทธ์ (Strategy
Map) ผลการศึกษาพบว่า นิคมอุตสาหกรรมบางชันดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศทั้ง 5 มิติการพัฒนาซึ่งปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง และการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของการพัฒนาพบว่าจุดแข็งในการพัฒนามีความโดดเด่นในมิติด้านสังคม คือ การมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ส่วนจุดอ่อนพบในมิติการบริหารจัดการ คือ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในสำนักงานการนิคมอุตส าหกรรมบางชันและผู้ประกอบการในการดำเนินงานยังมีค่อนข้างน้อย สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกของการพัฒนา พบว่ามีโอกาสในมิติด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความก้าวหน้าทางการวิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังพบอุปสรรคในด้านการบริหารจัดการค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความชัดเจนในการกำกับดูแลและการดำเนินการในระดับนโยบายของประเทศ จากผลการศึกษาผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางเพื่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมบางชันสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนภายใต้ 4 มุมมอง ตามหลักการ SBSC ประกอบด้วย 1) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของการนิคมฯ สถานประกอบการ และชุมชน 2) ด้านการปรับปรุงกระบวนการภายใน ได้แก่ การวางแผนและกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และกำกับดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามข้อกฎหมาย รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 3) ด้านประสิทธิภาพการดำเนินการได้แก่ การมุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco-efficiency) และ 4) ด้านชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกับชุมชนเพื่อความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนิคมอุตสาหกรรมและชุมชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558