• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชัน

by กนกกาญจน์ น้อยนาช

ชื่อเรื่อง:

แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) อย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมบางชัน

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Sustainable development of eco-industrial-town : a case study of Bangchan Industrial Estate

ผู้แต่ง:

กนกกาญจน์ น้อยนาช

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วรางคณา ศรนิล

ชื่อปริญญา:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมบางชันสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และเสนอแนวทางในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นศึกษาการดำเนินงานจากการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลแบบปฐมภูมิ คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่ม ได้แก่ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชน และการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ รวมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการพัฒนาด้วย SWOT Analysis และเสนอกลยุทธ์ในการพัฒนาด้วย TOWS Matrix Analysis และ Sustainable Balance Scorecards (SBSC) รวมทั้งสรุปผลการศึกษาด้วยแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) ผลการศึกษาพบว่า นิคมอุตสาหกรรมบางชันดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศทั้ง 5 มิติการพัฒนาซึ่งปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย การดำเนินงานที่ต่อเนื่อง และการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของการพัฒนาพบว่าจุดแข็งในการพัฒนามีความโดดเด่นในมิติด้านสังคม คือ การมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ส่วนจุดอ่อนพบในมิติการบริหารจัดการ คือ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในสำนักงานการนิคมอุตส าหกรรมบางชันและผู้ประกอบการในการดำเนินงานยังมีค่อนข้างน้อย สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกของการพัฒนา พบว่ามีโอกาสในมิติด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความก้าวหน้าทางการวิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังพบอุปสรรคในด้านการบริหารจัดการค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความชัดเจนในการกำกับดูแลและการดำเนินการในระดับนโยบายของประเทศ จากผลการศึกษาผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางเพื่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมบางชันสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนภายใต้ 4 มุมมอง ตามหลักการ SBSC ประกอบด้วย 1) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของการนิคมฯ สถานประกอบการ และชุมชน 2) ด้านการปรับปรุงกระบวนการภายใน ได้แก่ การวางแผนและกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และกำกับดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามข้อกฎหมาย รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 3) ด้านประสิทธิภาพการดำเนินการได้แก่ การมุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศ (Eco-efficiency) และ 4) ด้านชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกับชุมชนเพื่อความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนิคมอุตสาหกรรมและชุมชน

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การพัฒนาอุตสาหกรรม -- จันทบุรี -- บางชัน
อุตสาหกรรม -- แง่สิ่งแวดล้อม -- จันทบุรี -- บางชัน

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

175 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4442
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b190463.pdf ( 3.14 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [97]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×